บำรุงร่างกายที่เพลียง่ายด้วยสาหร่ายเกลียวทอง

Fatigue

       ใครกำลังมีอาการนี้บ้าง? ไม่ว่าจะนอนเต็มอิ่มครบ 7-8 ชั่วโมง แถมยังเข้านอนแต่หัววัน กินอาหารก็ครบ 3 มื้อและ (คิดว่า) ครบทั้ง 5 หมู่แล้ว ดื่มน้ำเปล่าสะอาดวันละ 8-10 แก้ว ออกกำลังกายอีกเล็กน้อย แต่ทำไมยังรู้สึกอ่อนเพลียไม่ค่อยมีเรี่ยวแรงอยู่เหมือนเดิม ร่างกายเหมือนต้องการพักผ่อนอยู่ตลอดเวลา ขาดพลังงานและแรงจูงใจในการทำงานและทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน บางรายมีอาการหาวนอนตลอดวันอีกด้วย เกิดอะไรขึ้นกับร่างกายของเรากันนะ!!?? นี่คือสัญญาณของ “อาการอ่อนเพลีย” ที่อาจจะเกิดจากร่างกายขาดสารอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่ ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้มันจะไม่ใช่แค่รู้สึกอ่อนเพลียให้รำคาญใจเท่านั้น แต่มันอาจจะนำไปสู่โรคร้ายอย่าง “โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง” ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมในระยะยาวอีกด้วย 

อาการอ่อนเพลียเกิดจากอะไร?

   ‘อาการอ่อนเพลีย’ (Fatigue) จะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า เมื่อย รู้สึกขาดพลังงานและขาดแรงจูงใจในการทำงานและกิจ กรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และเราก็มักจะสงสัยว่าอาการอ่อนเพลียนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ทั้ง ๆ ที่พยายามเข้านอนให้เร็วและนอนหลับอย่างเพียงพอตามเวลาที่เหมาะสมแล้ว พยายามรับประทานอาหารให้ตรงเวลาและครบทั้ง 5 หมู่แล้ว กำลังกายก็หมั่นออกอยู่เป็นประจำแต่ทำไมร่างกายถึงยังรู้สึกอ่อนเพลียอยู่เหมือนเดิม ส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักๆ ก็มักจะมาจากพฤติ กรรมที่เราทำในชีวิตประจำวัน โดยมีหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารที่ไม่มีสารอาหารเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือไม่ครบ 5 หมู่ และเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย, ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย, นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือใช้สมาร์ทโฟนเป็นเวลานานและติด ต่อกันหลายชั่วโมงโดยไม่ลุกยืดเส้นยืดสาย, การพักผ่อนไม่เพียงพอ รวมถึงการมีโรคประจำตัวต่าง ๆ เป็นต้น

Sleepy-during-the-day

ปล่อยให้ ‘อ่อนเพลีย’ ต่อไปอาจนำไปสู่โรค ‘อ่อนเพลียเรื้อรัง’

        ‘ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง’ นั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย แต่ตามสถิติแล้วมักจะพบในวัยผู้ใหญ่ที่มีอายุระหว่าง 40-50 ปี มากที่สุดโดยเฉพาะผู้หญิง และอย่างที่บอกกันไปในตอนต้นว่า ‘อาการร่างกายอ่อนเพลีย’ ไม่ได้เป็นเรื่องที่ควรเบาใจ ปล่อยวาง รอให้มันหายเองเท่านั้น เพราะถ้าปล่อยให้เกิดอาการอ่อนเพลียต่อไปเป็นเวลานาน ๆ แล้วละก็ อาจจะนำไปสู่ ‘โรคอ่อนเพลียเรื้อรัง’ ได้เลย ซึ่งอาการอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome: CFS) หรืออ่อนเพลียเรื้อรัง หรือเรียกว่า ‘โรคไฮโปไกลซีเมีย’ (Hypoglycemia) ซึ่งเกิดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ไร้เรี่ยวแรงตลอดทั้งวัน และไม่ได้เกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอหรือได้รับสารอาหารไม่ครบเท่านั้น เพราะยังเป็นอาการที่เกิดได้จากปัจจัยต่าง ๆ ของระบบร่างกายอีกด้วย เช่น ฮอร์โมนในร่างกายขาดความสมดุล, การติดเชื้อ, ระบบภูมิคุ้มกันผิดปกติ หรืออาจจะมีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เป็นต้น จึงทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไร้เรี่ยวแรง หลับไม่สนิท ความจำไม่ดี ไม่ค่อยมีสมาธิ รู้สึกไม่สบายตัว ไปจนถึงปวดเมื่อยตามร่างกาย ปวดศรีษะ ปวดข้อ และเจ็บคอ เป็นต้น บางรายไม่สามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ซึ่งเหล่านี้เป็นสัญญาณเตือนให้ร่างกายต้องทำการฟื้นฟูตัวเองอย่างเร่งด่วน และถ้าอาการอ่อนเพลียนี้เกิดขึ้นฉับพลัน เหมือนทำอะไรต่อไม่ได้แล้ว รู้สึกหมดเรี่ยวหมดแรง ต้องหยุดจากกิจกรรมที่ทำอยู่ทันที เพราะร่างกายส่งสัญญาณเตือนให้พักแล้วนั่นเอง และไม่ควรปล่อยให้อาการอ่อนเพลียสะสมต่อไป เพราะมันไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอย่างแน่นอน

เช็คด่วน!!
คุณกำลังอยู่ใน 3 กลุ่มความผิดปกติของอาการอ่อนเพลียนี้หรือไม่!!

      แพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้จำแนกอาการอ่อนเพลียออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับสุขภาพที่เราควรรู้ เพื่อจะได้ตรวจเช็คตัวเองได้เบื้องต้นว่าเราเข้าข่ายกลุ่มความผิดปกติไหน จะได้หาวิธีดูแลรักษาตัวเองได้อย่างถูกต้อง และมีร่างกายกลับมาสดชื่น สดใส และแข็งแรงยิ่งขึ้นกว่าเดิมนั่นเอง

      กลุ่มที่ 1  เกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย โดยอาการที่เกิดขึ้นก็เช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง/ ปวดหัว-เวียนศีรษะ/ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง/ มือสั่น/ เป็นตะคริวบ่อย/ ชักกระตุก/ เนื้อตัวชาบางครั้ง/ เหงื่อแตกบ่อย/ หน้าร้อนผ่าวบ่อย/ มือเท้าเย็น/ คันตามผิวหนัง/ มีอาการภูมิแพ้/ นอนไม่หลับ/ ทรงตัวได้ไม่ค่อยดี 

       กลุ่มที่ 2 เกิดจากความผิดปกติของระบบต่าง ๆ โดยอาการที่เกิดขึ้นก็เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ/ หิวรุนแรงก่อนถึงเวลาอาหาร/ อยากกินของหวาน/ เบื่ออาหาร/ ปากแห้งคอแห้ง/ ปากและลมหายใจมีกลิ่นแปลก ๆ/ อ้วน-น้ำหนักเกิน/ หายใจไม่ค่อยออก/ หัวใจเต้นผิดปกติ/ เป็นลมบ่อย ๆ/ ถ่ายปัสสาวะผิดปกติ/ ถ่ายอุจจาระผิดปกติ/ และอาจเป็นกามตายด้าน 

Depression

       กลุ่มที่ 3  เกิดจากความผิดปกติทางจิตใจและระบบประสาท โดยอาการที่เกิดขึ้นก็เช่น รู้สึกเบื่อหน่าย/ วิตกกังวลง่าย/ รู้สึกสับสนปั่นป่วน/ รู้สึกฟุ้งซ่านขาดสมาธิ/ ลังเลตัดสินใจไม่ได้/ โมโหง่าย/ ทนเสียงอึกทึกและแสงจ้า ไม่ค่อยได้/ เบื่อการพบปะผู้คน เพื่อนฝูง ไม่อยากเข้าสังคมอีกแล้ว/ ฝันร้ายบ่อย/ ความจำเสื่อม/ การประสานงานส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเลวลง/ มีอาการทางประสาท/ และรุนแรงถึงอยากฆ่าตัวตาย 

5 วิตามินที่ร่างกายขาดไปส่งผลให้เกิดอาการ ‘อ่อนเพลีย’

            ‘สารอาหาร’ เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญต่อร่างกายคนเรา ที่จะทำให้แข็งแรงหรืออ่อนแอ และหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการ “อ่อนเพลีย” นั้นก็เพราะร่างกายอาจจะขาดสารอาหารกลุ่ม “วิตามินและเกลือแร่” อยู่ก็เป็นได้ เพราะวิตามินมีส่วนสำคัญในการช่วยให้ระบบการทำงานของร่างกายเราทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ และร่างกายเราก็ไม่สามารถสร้างวิตามินขึ้นมาได้ด้วยตัวเอง ต้องได้รับจากอาหารที่กินเข้าไปเพียงอย่างเดียว เพราะอย่างนี้ ถ้าปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามินจึงส่งกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกาย นำมาซึ่งอาการอ่อนเพลีย และอาจจะนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ ได้อีกด้วย เราลองมาเช็คกันดีกว่าว่า ร่างกายเรากำลังมีอาการเหล่านี้อยู่หรือเปล่า และกำลังเข้าข่ายขาดวิตามินชนิดไหนอยู่ จะได้หามาเสริมให้ร่างกายได้รับวิตามินอย่างเพียงพอและครบถ้วนในทุกวันกัน

ถ้าร่างกายขาดวิตามินเอ  จะทำให้ระบบภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลง อ่อนเพลียง่าย เป็นหวัด ง่าย ติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้ง่าย และทำให้เกิดการอักเสบในโพรงจมูก ช่องปาก คอ และที่ต่อมน้ำลาย นอกจากนั้นดวงตายังมองเห็นได้ไม่ค่อยปกติอีกด้วย มีอาการตาฟาง มองไม่เห็นในที่แสงน้อย ๆ หรือมองที่มืดได้น้อยลง และอาจจะนำไปสู่ภาวะตาบอดกลางคืนได้ ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วสายตาคนเราจะสามารถปรับให้เข้ากับความมืดได้

ถ้าร่างกายขาดวิตามินบี  วิตามินบีมีส่วนช่วยในการบำรุงปลายประสาท ถ้าปล่อยให้ร่างกายขาดวิตามินนอกจากจะทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียแล้วยังชาตามแขนตามขา เป็นเหน็บชาบ่อย ผิวหนังอักเสบและแสบคันตามผิวหนัง ร่างกายเผาผลาญไขมันได้ไม่ดี จึงขับไขมันออกมาตามส่วนต่าง ๆ ของผิวหนัง ทำให้เกิดการอุดตัน อักเสบ และเป็นสิว ได้ นอกจากวันก็จะยังมีภาวะโลหิตจางร่วมด้วย เพราะวิตามินบีมีส่วนเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ช่วยให้เม็ดเลือดแดงลำเลียงออกซิเจนไปตามอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามความต้องการของร่างกาย ถ้าได้รับวิตามินบีไม่เพียงพอ จะส่งผลให้เม็ดเลือดแดงทำงานผิดปกติ และส่งผลไปถึงอวัยวะต่าง ๆ และกล้ามเนื้อทำงานได้ผิดปกติอีกด้วย และในยังมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย นั่นเพราะวิตามินบีมีส่วนสำคัญในการช่วยย่อยอาหาร และกระตุ้นการดูดซึมของไขมันและโปรตีนในร่างกายเรา พอระบบย่อยอาหารทำงานผิดปกติ จึงทำให้เบื่ออาหารไปด้วยนั่นเอง และอาการอื่น ๆ ที่เกิดจากการขาดวิตามินบีก็เช่น เครียดง่าย ปวดหัวไมเกรนบ่อย เกิดความวิตกกังวล จนอาจทำให้เป็นโรคเครียดได้เลย

ถ้าร่างกายขาดวิตามินซี แน่นอนว่าจะเกิดอาการอ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่กระกระปรี้กระเปร่า รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนล้าเหมือนผ่านการออกกำลังกายมาอย่างหนัก หรือเหมือนคนที่ออกแรงยกของหนัก และวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย ถ้าปล่อยให้ร่าบกายขาดไปจึงทำให้ร่างกายต่อสู้กับพวกเชื้อโรค เชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่เข้าสู่ร่างกายได้ จึงทำให้ไม่สบายบ่อย ๆ ได้ นอกจากนั้น ยังทำให้ผิวไม่สวย หยาบกร้าน หมองคล้ำ เพราะวิตามินซีมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างคอลลาเจน และต่อต้านอนุมูลอิสระนั่นเอง และเมื่อขาดวิตามินซียังทำให้กเกิดโรคจากช่องปากอีกด้วย เช่น เลือดออกตามไรฟัน เพราะวิตามินซีมีส่วนช่วยในการบำรุงผนังหลอดเลือดฝอยให้แข็งแรง ถ้าขาดไปจะทำให้หลอดเลือดเประบางและแตกง่าย เลือดออกตามไรฟัน อักเสบตามร่องเหงือก และอาจจะทำให้เกิดปัญหาโรคทางช่องปากอื่น ๆ ตามมาอีกเพียบ

ถ้าร่างกายขาดวิตามินดี  วิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส ถ้าร่างกายขาดวิตามินดีไปนอกจากจะทำให้ร่างกายอ่อนล้า หมดเรี่ยวแรงแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนอีกด้วย และโรคนี้ก็จะมาแบบเงียบ ๆ โดยที่ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้า จะรู้ตัวก็ต่อเมื่อกระดูกได้พรุนและแตกหักไปแล้ว นอกจากนั้นยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงอีกด้วย ซึ่งวิตามินดีนี้ นอกจากจะรับได้จากอาหารแล้วยังได้รับจากแสงแดดธรรมชาติอีกด้วย ช่วงเวลารับแดดก็คือช่วงเช้า ๆ ก่อน 10 โมงเช้า ส่วนช่วงเย็นก็หลัง 4 โมงเย็นไปจะดีที่สุด ห้ามรับแดดในช่วงกลางวัน เที่ยง บ่าย หรือช่วงที่แดดจัด ๆ แรง ๆ เด็ดขาด เพราะถ้ารับแสงในช่วงแดดแรงบ่อย ๆ และเป็นประจำ อาจจะนำไปสู่โรคมะเร็งผิวหนังได้เช่นกัน

ถ้าร่างกายขาดวิตามินอี  วิตามินอีนั้นทำงานกับระบบประสาทโดยตรง แต่ก็ใช้เวลานานกว่าจะรู้ว่าร่างกายขาดวิตามินชนิดนี้ ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นก็เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตอบสนองต่อสิ่งเร้าได้ช้าลง และทรงตัวได้ยาก เป็นต้น ส่วนใหญ่ผู้ที่ขาดวิตามินอีมักจะเกิดจากสาเหตุความผิดปกติของการดูดซึมไขมันของตับ ตับอ่อน และลำไส้ หรือผู้ที่มีโรคทางพันธุกรรม และวิตามินอีจะได้รับจากการร่างกายได้รับสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และเป็นวิตามินที่สามารถสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อได้นั่นเอง

4 พฤติกรรมปรับสมดุลร่างกาย “ลดอาการอ่อนเพลีย” 

        พฤติกรรมที่เราทำเป็นประจำในชีวิตแต่ละวันนั้น ก็ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลียได้เช่นกัน การปรับสมดุลในทุก ๆ ด้านของชีวิต ตั้งแต่เรื่องอาหาร การนอนหลับพักผ่อน การออกกำลังกาย และดูแลอารมณ์ เป็นเรื่องที่สำคัญและสัมพันธ์กันมาก เราลองมาดูกันว่าจะดูแลแต่ละด้านให้สมดุลได้อย่างไร

1. สมดุลทางอาหาร หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่มีน้ำตาลมาก รวมถึงอาหารฟาสต์ฟู้ด และงดเติมน้ำตาลในอาหาร รวมถึงไม่ควรกินอาหารมื้อหนักก่อนเข้านอน และไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาเฟอีน เพราะนอกจากจะทำให้หลับยากแล้ว ตื่นขึ้นมายังทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลียอีกด้วย

2. สมดุลทางการนอนหลับพักผ่อน  ไม่ควรใช้ยานอนหลับ หรือยากล่อมประสาท หรือยาคลายเครียด แต่ควรพยายามฝึกเข้านอนแต่หัวค่ำและในเวลาเดิมทุก ๆ วันแทน และเวลานอนไม่ควรเปิดไฟนอน เพราะแสงจะไปกวนการพักผ่อนทำให้หลับยากและเมื่อร่างกายไม่ได้พักผ่อนเต็มที่แล้ว ตื่นมาตอนเช้าก็จะรู้สึกงัวเงียและอ่อนเพลียทั้งวัน

3. สมดุลทางการออกกำลังกาย  ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเลือกชนิดกีฬาและระยะเวลาในการออกกำลังกายที่เหมาะกับสภาพร่างกายของตนเอง ไม่ออกกำลังกายที่หักโหมมากเกินไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการอ่อน เพลียเรื้อรังอยู่แล้ว ถ้าออกกำลังกายหักโหมมากเกินไปจะไปกระตุ้นให้ร่างกายอ่อนเพลียและทรุดโทรมยิ่งกว่าเดิม

4. สมดุลทางอารมณ์  ความเครียดนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ มากมาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง ส่งผลให้ร่างกายเกิดการอ่อนเพลีย อ่อนล้า ควรปรับอารมณ์ไม่ให้เครียด เพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนที่จะไปกระตุ้นให้ผนังลำไส้ขับกรดออกมามากจนเกินไป ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร การฝึกสมาธิ ฝึกการหายใจวันละประมาณ 5-10 นาทีก่อนเข้านอนและหลังตื่นนอนช่วยลดความเครียดได้ ถ้ารู้สึกว่าลองทำหลาย ๆ วิธีแล้วยังรู้สึกเครียดอยู่แนะนำให้ปรึกษาแพทย์จะดีที่สุด

Body-Balance

5 อาหารใกล้ตัวช่วยลดอาการ ‘อ่อนเพลีย’

 1. กล้วย  มีโพแทสเซียมสูง วิตามิน คาร์โบไฮเดรต และไฟเบอร์ ซึ่งเป็นตัวช่วยเพิ่มพลังงานให้แก่ร่างกาย น้ำตาลจากธรรมชาติในกล้วยยังช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น กระปรี้กระเปร่า และมีเรี่ยวแรงขึ้นอีกด้วย

2. ข้าวโอ๊ต  มีน้ำตาลน้อย และเป็นแหล่งของโปรตีน วิตามินและแร่ธาตุ และยังมีสารฟีนอลิก (Phenolic) ที่ช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายอีกด้วย จึงทำให้รู้สึกสดชื่น ช่วยลดอาการอ่อนเพลีย ช่วยเพิ่มพลังงาน และยังอุดมไปด้วยไฟเบอร์ ช่วยให้อิ่มท้องนาน ไม่หิวบ่อยระหว่างวัน

3. เมล็ดเจีย  อุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมันดี และไฟเบอร์ และยังมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่มีส่วนช่วยลดอาการอักเสบ ดีต่อสุขภาพหัวใจและสมอง และไฟเบอร์ในเมล็ดเจียยังมีส่วนช่วยป้องกันน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของระดับน้ำตาลในเลือด เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้ร่างกายอ่อนเพลียอ่อนล้านั่นเอง

4. ดาร์กช็อกโกแลต  เป็นตัวช่วยในการเติมพลังงานให้กับร่างกาย เพราะมีสารต้านอนุมูลอิสระที่เป็นตัวช่วยปล่อย ‘ไนตริกออกไซด์’ (Nitric oxide) ที่เป็นสาร ประกอบในการช่วยขยายหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้สะดวกขึ้นและดีขึ้นทำ ให้เราเรารู้สึกตื่นตัว สดชื่น กระปรี้กระเปร่าขึ้น     

6. อัลมอนด์  เป็นตัวช่วยในการเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย เพราะอุดมไปด้วยไขมัน โปรตีน และไฟเบอร์สูง ทำให้อิ่มท้องนาน และในอัลมอนด์ยังเป็นแหล่งรวมของวิตามินอีและแมกนีเซียม ซึ่งนอกจากจะช่วยให้ร่างกายสดชื่น กระปรี้กระเปร่า ไม่อ่อนเพลียแล้ว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่มีในอัลมอนด์ยังเป็นตัวช่วยสำคัญของสุข ภาพหัวใจอีกด้วย

Food-for-boost-your-energy

‘สาหร่ายเกลียวทอง’
อาหารที่ดีที่สุดแห่งโลกอนาคตกับการบำรุงร่างกาย

Spirulina

        ทำไม ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ หรือ ‘สาหร่ายสไปรูลิน่า’ จึงช่วยบำรุงร่างกาย และช่วยลดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าของร่างกายได้ นั่นเพราะในสาหร่ายเกลียวทองมี

>> สารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะต่อความต้องการของร่างกาย

>> มีโปรตีนคุณภาพสูงถึง 70 เปอร์เซนต์ และมีมากกว่าแหล่งโปรตีนชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นจากเนื้อสัตว์ เนื้อปลา นม ไข่ และพืชชนิดต่าง ๆ และยังเป็นโปรตีนที่ไม่ปราศจากคอเรส เตอรอล ย่อยง่าย ดูดซึมง่ายอีกด้วย

>>มีโปรวิตามินที่สามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ รวมถึงวิตา มินอื่น ๆ ที่ดีต่อร่างกายเป็นจำนวนมากไม่ว่าจะเป็น วิตามิน บี1, บี2, บี5, บี6, บี12, วิตามินC, เบต้าแคโรทีน, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ไขมันจำเป็น‘แกมม่าไลโนเลนิก’ เป็นต้น 

 

>> มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย 18 ชนิด จึงช่วยทำให้ระบบดูดซึมอาหารทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น จึงช่วยลดโรคท้องผูกเรื้อรังได้ดี อาทิเช่น กรดกลูตามิก (Glutamic acid) กรดที่มีความสำคัญต่อกระบวนการเผาผลาญอาหารให้สมอง ช่วยให้ระบบประสาทและร่างกายเกิดความสมดุล สุขภาพสมองดีขึ้น รู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง มีชีวิตชีวา รู้สึกเป็นหนุ่มสาว และมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้น, ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ช่วยป้องกันความเสื่อมของระบบประสาทและเซลล์สมอง ช่วยให้สมองและร่างกายแข็งแรงขึ้น, ลิวซีน (Leucine) ช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองส่วนบน ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัวและกระฉับกระเฉงมากขึ้น สดชื่นขึ้น ช่วยเพิ่มพลังงานให้กล้ามเนื้อ และช่วยให้ร่างกายรู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้น, กลูตาเมต (Glutamate) ช่วยให้มีสมาธิ ระบบการเรียนรู้และจดจำสิ่งต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น, ฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) เป็นตัวช่วยในการส่งผ่านความรู้สึกและช่วยรักษาความสมดุลของระบบประสาท เพิ่มความสามารถในการทำงานของสมอง ทำให้สมองเกิดการตื่นตัวตลอดเวลา รู้สึกอารมณ์ดี กระปรี้กระเปร่า เกิดความสมดุล และใจเย็นมากขึ้น และ ทริปโตเฟน (Tryptophan) จะเข้าไปช่วยกระตุ้นให้สมองหลั่งสาร ‘ซีโรโทนิน’ (serotonin) ออกมา ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณประสาทที่มีคุณสมบัติทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น

        หนึ่งในสิ่งที่มีค่ามากที่สุดในชีวิตเราก็คือความอุดมสมบูรณ์ของชีวิตและสุขภาพ เพราะถ้า สุขภาพดีร่างกายแข็งแรงจะทำให้เราสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ที่อยากทำได้ ทั้งงานที่รัก กิจกรรมในชีวิตประจำวัน เดินทางท่องเที่ยว และใช้ชีวิตอยู่ดูแลคนที่เรารักได้อีกยาวนาน เพราะฉะนั้น หันมาใส่ใจดูแลสุขภาพกันตั้งแต่วันนี้เถอะ

You may also like to read

Best-food-for-kids

สารอาหารจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัย 1-3 ปี

         ทำไมเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี จึงเป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะวัย 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงวัยของการเคลื่อนไหว

Read More »
Improve your sleep

ปรับสมดุลแห่งการนอนด้วย ‘นาฬิกาชีวภาพ’ และ ‘เมลาโทนิน’ สำหรับวัยทำงาน

        ‘วัยทำงาน’ เป็นช่วงวัยที่มีพลังเยอะ ทั้งยังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน วัยทำงานจึงทุ่มเทพลังกายใจให้กับการทำงานอย่างเต็มที่แม้จะอยู่นอกเวลางานแล้วก็ตาม

Read More »
Sleep-late-Wakeup-Early

‘นอนดึก-ตื่นเช้า’ แต่ยังสดชื่นอยู่เสมอ

        หลายคนต้องนอนดึกเพราะความจำเป็นจากหน้าที่การงาน หลายคนนอนดึกเพราะเกิดจากโรคนอนไม่หลับและโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้หลับๆ ตื่นๆ และอีกหลายคนต้องนอนดึกเพราะเกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่รอบ ๆ

Read More »
Spirulina-Help-Hangover

ตัวช่วยฟื้นฟูตับและลดอาการแฮงค์ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     คงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะบอกให้นักดื่มหรือคนที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั้งหลายให้ “เลิกดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ” เพราะความจริงทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าลด ละ เลิกได้ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่บรรยากาศของการดื่มสังสรรค์กับเพื่อน

Read More »
Take care Anemia with spirurila

เลือดจาง (Anemia) ดูแลได้ด้วย ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแลเอง” ประโยคนี้ตอบโจทย์ได้ครบครันเรื่องการดูแลสุขภาพ นั่นเพราะ “การมีสุขภาพดี” ไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลงมือทำ ยกเว้นเด็กๆ

Read More »

Leave a Reply