การบำรุงกล้ามเนื้อนักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ต้องทำอย่างไร?

Muscle and exercise

     ‘กล้ามเนื้อ’ คือส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกายเรา ทำหน้าที่ยืดและหดตัวเพื่อให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ตามต้องการ ถ้าใครกล้ามเนื้อมีปัญหาหรือที่เรียกกันว่า “ภาวะกล้ามเนื้อสลาย” แล้วละก็ ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับการทำงานของกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบไปสู่อวัยวะอื่น ๆ อีกด้วย โดยเฉพาะกับ ‘ไต’ ที่มีหน้าที่กรองของเสียออกจากเลือด ซึ่งพอกล้ามเนื้อสลายจะทำให้บรรดาสารต่าง ๆ ที่เกิดจากการแตกสลายของกล้ามเนื้อนั้นถูกปล่อยเข้าไปในกระแสเลือด ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายทำงานผิดปกติ นำไปสู่ภาวะไตวายฉับพลันได้ ซึ่งภาวะนี้ส่วนใหญ่แล้วเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุหนึ่งที่พบกันมากและเกิดขึ้นเรื่อย ๆ ก็คือ ในกลุ่มนักกีฬา หรือผูที่ออกกำลังกายหนัก ๆ เป็นเวลานานจนร่างกายรับไม่ไหว เช่น การวิ่งมาราธอน เพราะอย่างนี้ กลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่ชอบออกกำลังกายหนัก ๆ มีความจำเป็นต้องบำรุงและดูแลกล้ามเนื้อมากเป็นพิเศษกว่ากลุ่มคนทั่วไป

กล้ามเนื้อ อวัยวะสำคัญที่มักจะถูกมองข้าม

      ก่อนที่จะไปถึงเนื้อหาอื่น ๆ อยากให้รู้กันก่อนว่า ‘กล้ามเนื้อ’ ในร่างกายของเรานั้นมี 4 ประเภทด้วยกัน ซึ่งแต่ละประเภทก็มีหน้าที่สำคัญแตกต่างกันไป แต่หลัก ๆ แล้วล้วนทำงานสัมพันธ์กันทั้งหมด โดยมี

1. กล้ามเนื้อโครงร่าง (Skeleton Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ในส่วนภายนอกของร่างกายเรา เช่น บริเวณแขน, ขา และบริเวณกระดูกทั้งหมด จะทำหน้าที่ช่วยให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ง่ายขึ้น และยังเป็นกล้ามเนื้อที่มีเส้นเอ็นที่แข็งแรงที่เชื่อมต่อไปยังบริเวณข้อต่อ สร้างความสมดุลของอวัยวะต่างๆ ขณะที่ร่างกายกำลังขยับนั่นเอง

2. กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle) เป็นกล้ามเนื้อชนิดพิเศษเพราะมีที่หัวใจเพียงแห่งเดียวเท่านั้น มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของหัวใจและสิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจทั้ง หมด เช่นช่วยในการบีบและคลายหัวใจเพื่อเติมเต็มก๊าซออกซิเจนเข้าสู่กระแสเลือดในการหล่อเลี้ยงอวัยวะภายในร่างกาย

Muscles Arm

3. กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่เป็นองค์ประกอบของอวัยวะภายในของร่างกายเรา เช่น ลำไส้, กระเพาะอาหาร และหลอดเลือด เป็นต้น กล้ามเนื้อชนิดนี้จะอยู่นอกเหนืออำนาจการควบคุมของจิตใจเรา คือเราไม่สามารถควบคุมการทำงานได้ตามใจคิด แต่มันจะทำงานแบบอิสระอย่างอัติโนมัติอยู่ตลอดเวลาตามระบบของร่างกาย ไม่ต้องได้รับคำสั่งจากเซลล์ประสาทเหมือนกล้ามเนื้อโครงร่าง เช่น การเคลื่อนไหวของลำไส้ในการขับกากอาหาร เป็นต้น

4. กล้ามเนื้อลาย (Striated muscle) เป็นกล้ามเนื้อที่ประกอบไปด้วยเส้นใยเรียงกันเป็นเส้น ๆ จำนวนมาก และเป็นกล้ามเนื้อที่ล้อมรอบคลุมกระดูกเอาไว้ ทำให้การเคลื่อนไหวของร่างกายเราเปลี่ยนไปได้หลายรูปแบบ มีความยืดหยุ่น เป็นกล้ามเนื้อที่มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องใช้เครื่องมือแพทย์ตรวจสอบเท่านั้น ซึ่งเมื่อการทำงานของกล้ามเนื้อโดยเฉพาะกล้ามเนื้อลายเกิดปัญหา จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก เช่น ยกของหนักไม่ได้, เคลื่อนไหวไม่สะดวก และมีอาการปวดอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น

เปิด 10 ปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย

            อย่างที่บอกไปในตอนนั้นว่า ถ้าร่างกายเกิด ภาวะกล้ามเนื้อสลาย’ (Rhabdomyolysis) จะส่งผลกระทบตอ่การทำงานส่วนอื่น ๆ ของร่างกายตามไปด้วย โดยเฉพาะ ‘ไต’ และตามสถิติแล้วมักจะเกิดกับกลุ่มนักกีฬาที่ออกกำลังกายหนักและเป็นเวลานานเกินกว่าที่ร่างกายจะรับไหว เช่น การวิ่งมาราธอน, การปั่นจักรยานขึ้นภูเขา เป็นต้น นอกจากนั้นก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย จะมีอะไรบ้างไปเช็คกันด่วน!

Muscles injury

1. ใช้งานกล้ามเนื้อหนักเกินไป เช่น ออกกำลังกายหนักมากเกินไป หรือออกกำลังกายนานเกินไป รวมถึงการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานโดยเฉพาะการไม่ได้เตรียมความพร้อมให้ร่างกายก่อนออกกำลังกายนั่นเอง

2. ได้รับบาดเจ็บที่กล้ามเนื้ออย่างรุนแรง เช่น จากการเกิดอุบัติเหตุ หรือการถูกทำร้ายร่างกาย เป็นต้น

3. ร่างกายระบายความร้อนได้ไม่ทัน หรือร่างกายมีอุณ หภูมิที่สูงจัด หรือต่ำจัด สภาพอากาศที่ร้อนมาก มีการระ บายเหงื่อที่ผิดปกติ หรือการใส่ชุดออกกำลังกายที่ไม่เหมาะสม เหล่านี้จะส่งผลให้กล้ามเนื้อถูกทำลายได้เช่นกัน

4. เกลือแร่และกรดด่างในร่างกายทำงานผิดปกติ เช่น ภาวะเกลือแร่ต่ำ, ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเป็นต้น เหล่านี้ล้วนส่งผลต่อกระบวนการแลกเปลี่ยนน้ำของเซลล์ซึ่งทำให้กล้ามเนื้อเสียหายได้

5. ภาวะขาดน้ำอย่างรุนแรง ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำไม่เพียงพอ หรือการดื่มน้ำน้อยเกินไป ปล่อยให้ร่างกายขาดน้ำ ก็จะทำให้กล้ามเนื้อเสียหายได้เช่นกัน

6. ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาในกลุ่ม Statins, ยาเคมีบำบัด, ยาเสพติด, ยาจิตเวชบางชนิด, ยาลดไขมัน, ยาลดน้ำมัน และยาสลบ ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อเกิดความผิดปกติได้เหมือนกัน

7. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่มากเกินไป หรือแม้กระทั่งการใช้สารเสพติด เช่น แอมเฟตามีน ก็ทำให้กล้ามเนื้อเกิดความเสียหายได้

8. ชักเกร็งเป็นเวลานานๆ หรือถูกไฟฟ้าช็อต ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อเสียหายได้เช่นกัน

9. การอักเสบของปลอกประสาทโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร (Guillain Barre syndrome :GBS) หรือที่มีความผิดปกติทางระบบประสาท จนทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงแบบไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่่ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะลำไส้อักเสบ หรือการติดเชื้อในปอด รวมถึงการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียบางชนิด ก็ทำให้กล้ามเนื้อเสียหายได้

10. กลไกการสร้างและสลายกล้ามเนื้อผิดปกติตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดความผิดปกติทางพันธุกรรม

11. มีโรคประจำตัวบางอย่างและความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ เช่นภาวะเลือดเป็นกรดจากโรคเบาหวาน และภาวะไทรอยด์เป็นพิษ เป็นต้น

7 อาการ ‘ภาวะกล้ามเนื้อสลาย’ เป็นแบบไหน?

       ลองหมั่นสังเกตตัวเองว่า อาการเหล่านี้เกิดขึ้นกับเราหรือไม่ เพราะนั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า “ร่างกายกำลังเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย” แล้ว ไม่ว่าจะเป็น

1. ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ปวดตึงที่กล้ามเนื้อรวมถึงการเป็นตะคริว ซึ่งมักจะเกิดที่กล้ามเนื้อมัดใหญ่ เช่น ต้นขา หรือไหล่ เป็นต้น

2. มีไข้ ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย

3. เวียนศีรษะ หน้ามืด และอาจถึงขั้นเป็นลมหมดสติ

4. คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีอาการปวดท้องร่วมด้วย

5. หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

6. มีอาการซึม สับสน ไปจนกระทั่งมีอาการชัก

7.  ปัสสาวะเปลี่ยนสี โดยจะเป็นสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเข้ม หรือสีเข้มคล้ายสีน้ำอัดลม และปัสสาวะจะออกน้อยลง

4

วิธีป้องกันภาวะกล้ามเนื้อสลาย “หลังออกกำลังกาย”

        การดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง และเข้าใจสภาวะของตัวเองนั้นสำคัญมาก เช่น ถ้าเรารู้ตัวว่าเป็นคนที่ชอบออกกำลังกายหนัก ออกกำลังกายเป็นเวลานาน ๆ หรือมักจะใช้แรงมากกว่าคนทั่วไป เราควรจะดูแลตัวเองอย่างไร เพราะ “การป้องกันมักจะดีกว่าการรักษาเสมอ”

1. ไม่ออกกำลังกายในขณะที่อากาศร้อนมาก
เมื่อพบว่าสภาพอากาศร้อนมาก ร้อนจัด ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในสภาพอากาศลักษะนี้ และควรสวมใส่เสื้อผ้าที่ช่วยระบายความร้อนได้ดีในขณะที่ออกกำลังกาย

2. ออกกำลังกายเมื่อพร้อม คือไม่ออกกำลังกายหนักเกินความพร้อมของสภาพร่างกายในขณะนั้นและไม่ฝืนออกกำลัง กายจนสภาพร่างกายรับไม่ไหวเด็ดขาดและเตรียมตัวให้พร้อมก่อนออกกำลังกาย

3. ดื่มน้ำและเกลือแร่ให้เพียงพอ ข้อนี้สำคัญมาก นักกีฬาและผู้ที่ออกกำลังกายทุกคนควรพกน้ำตื่มติดตัวขณะออกกำลังกาย หรือในที่ ๆ หยิบมาจิบได้สะดวก และในผู้ที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย ควรดื่มน้ำให้มากกว่าปกติ

4. สังเกตอาการผิดปกติหลังออกกำลังกาย หากมีอาการที่สงสัยควรรีบไปพบแพทย์

Did you know?

รู้หรือไม่?
“อาหารที่เรากินเข้าไป
              ช่วยสร้างกล้ามเนื้อได้”

         รู้หรือไม่ ว่าอาหารประภท “โปรตีน” เป็นสารอาหารสำคัญต่อร่างกายที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ เพราะในโปรตีนประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวนมากและหลายชนิดเรียงต่อกัน จึงจำเป็นและสำคัญต่อการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่ออวัยวะของเรา และ ‘สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาแห่งชาติ’ ยังให้ข้อมูลไว้อีกว่า “นอกจากโปรตีนแล้วอาหารที่ช่วยสร้างกล้ามเนื้อที่ดีจะต้องมีคาร์โบไฮเดรต วิตามิน และแร่ธาตุ” อย่างครบถ้วนอีกด้วย ตอนนี้เรามาดูกันว่า จะมีอาหารอะไรบ้างที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ

1. อกไก่ มีปริมาณโปรตีนสูง ไขมันต่ำ และมีสารแอนคาร์โนซีน (Carnosine) และสารแอนเซอรีน (Anserine) สูง ช่วยลดความเหนื่อยล้าของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น

2. ไข่ อุดมไปด้วยโปรตีนและไขมันชั้นดี มีวิตามินบี 12 และบี 6 และกรดอะมิโนลิวซีนในปริมาณมาก จึงมีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อได้

High-Protein-Food

3. นม แหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีแคลเซียม ฟอสฟอรัส และไรโบฟลาวินในปริมาณสูง และนอกจากจะช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อแล้ว ยังมีสารอาหารที่ช่วยบำรุงผิวไม่ให้เหี่ยวย่น เกิดริ้วรอย และหย่อนคล้อยก่อนวัยอีกด้วย

4. ปลา ปลาเป็นหนึ่งในอาหารที่มีโปรตีนสูง และอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก ที่สำคัญมีโอเมก้า 3 ที่ช่วยป้องกันการสูญเสียมวลกล้ามเนื้ออีกด้วย โดยเฉพาะในปลาแซลมอนและปลาทูน่า ที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้ดีมาก ซึ่งช่วยให้ออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

5. เนื้อไร้ไขมัน เช่น ในเนื้อวัวจะมีโปรตีน วิตามินบี แร่ธาตุต่าง ๆ และครีเอทีน ที่ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ และถ้าใครที่ชอบกินกุ้งก็จะได้รับโปรตีนล้วน ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ในกุ้ง 85 กรัม จะประกอบด้วยโปรตีน 18 กรัม ไขมัน 1 กรัม และไม่มีคาร์บนั่นเอง

6. ถั่ว ถั่วเป็นอาหารว่างที่ดีมากในการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ เพราะมีส่วนผสมของโปรตีน ไขมัน และไฟเบอร์ นักโภชนาการแนะนำว่า การกินอัลมอนด์หรือวอลนัท จะช่วยให้เกิดพลังงานระหว่างออกกำลังกาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ควรจะกินเยอะเกินไป เพราะถั่วหลายชนิดมักจะมีแคลอรีสูงนั่นเอง และใครที่กำลังพยายามสร้างกล้ามเนื้อด้วยอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์ นักโภชนาการแนะนำให้กิน ‘ถั่วเหลือง’ เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 9 ชนิด และล้วนมีส่วนช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ

7. กรีกโยเกิร์ต เป็นแหล่งโปรตีนที่เป็นผลิตภัณฑ์จากนม มีการผสมผสานระหว่างเวย์โปรตีนที่ย่อยเร็ว และโปรตีนเคซีนที่ย่อยช้า ซึ่งเมื่อกินร่วมกัน โปรตีน 2 ชนิดนี้จะไปช่วยเพิ่มและยืดอายุกระบวนการสังเคราะห์โปรตีนที่กล้ามเนื้อของเราในการสร้างใหม่ ช่วยให้ร่างกายสร้างมวลกล้ามเนื้อที่ลีนได้ หรือจะกินเป็น คอทเทจชีส’ แทนก็ได้เช่นกัน เพราะเป็นชีสที่มีไขมันและแคลอรี่ต่ำ แต่อุดมไปด้วยแคลเซียม ฟอสฟอรัส ซีลีเนียม วิตามินบี 12 วิตามินบี 2 และสารอาหารอื่น ๆ อีกมาก โดยในคอทเทจชีสจะมีโปรตีนจำนวน 59% ของแคลอรี่ทั้งหมด คนที่ชอบกินชีสไม่รู้สึกผิดเลยล่ะ

8. น้ำมันมะกอก น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวที่ดีต่อสุขภาพ ช่วยในการสร้างกล้ามเนื้อ และยังช่วยลดการอักเสบและการสลายตัวของกล้ามเนื้อให้ช้าลงอีกด้วย

9. ควินัว เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุจำนวนมาก นับเป็นสุดยอดอาหารที่เหมาะสำหรับการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ แถมยังช่วยเสริมประสิทธิภาพในการออกกำลังกายให้ดีขึ้นอีกด้วย ปริมาณน้ำตาลต่ำ พร้อมลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรัง เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ดีต่อสุขภาพหัวใจนั่นเอง

Spirulina

10. สาหร่ายเกลียวทอง เพราะมีโปรตีนสูงถึงประ มาณ 70% และมีมากกว่าโปรตีนจากแหล่งอาหารอื่น ๆ แถมยังเป็นโปรตีนที่ปราศจากคอเรสเตอรอล และมีวิตามินอื่น ๆ ที่จำเป็นและสำคัญต่อร่างกายจำนวนมาก เช่น วิตามินบี1, บี2, บี5, บี6, บี12, วิตามินซี, เบต้าแคโรทีน, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แคลเซียม, แมกนีเซียม และไขมันจำเป็นแกมม่าไลโนเลนิก และมีสารอาหารคุณภาพสูงครบทั้ง 5 หมู่ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายถึง 18 ชนิด ในสัดส่วนที่พอเหมาะ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่สำคัญและจำเป็นต่อนักกีฬาและผู้ที่ชอบออกกำลังกายหนัก ๆ เช่น ไอโซลิวซีน (Isoleucine), ลิวซีน (Leucine), ไลซีน (Lysine), เมทไทโอนีน (Methionine) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine), เทรีโอนีน (Threonoine), ทริปโตเฟน (Tryptophan), วาลีน (Valine) และยังมี สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) และ โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว จึงมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกายนั่นเอง

Warning

ระวังอาหารร้ายทำลาย ‘กล้ามเนื้อ’

       เราได้รู้จักอาหารที่ช่วยเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อไปแล้ว ในส่วน “อาหารร้ายที่ทำลายกล้ามเนื้อ” ก็ควรต้องทำความรู้จักด้วยเช่นกัน ในการลด ละ เลี่ยง และเลิก เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงและกล้ามเนื้อที่แข็งแกร่งนั่นเอง

1. อาหารแปรรูป เช่น เส้นพาสต้า มันฝรั่งทอด คุ้กกี้ต่าง ๆ ที่เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วย ‘คาร์โบไฮเดรตขัดสี’ ส่งผลให้ระดับอินซูลินและน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูง และมีส่วนทำลายเซลล์กล้ามเนื้อลายและยับยั้งการฟื้นตัวของมวลกล้ามเนื้อ ทำให้ร่างกายไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อที่สวยงามจากการออกกำลังกายได้ด้วย

2. ไขมันทรานส์ อาหารที่มีแนวโน้มว่าจะมีไขมันทรานส์สูงก็เช่น ลูกชิ้นทอด โดนัท และมาการีนในเบเกอรี่ ซึ่งถ้าเราบริโภคอาหารที่มีไขมันทรานส์ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ๆ จะไม่ได้แค่ทำลายกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่ยังเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอ้วนอีกด้วย

3. เบคอน การรับประทานเบคอนหลังการออกกำลังกายเสร็จนั้น จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้อัตราการเผาผลาญในร่างกายเราชะลอลง ทำลายกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายทั้งหมดที่ผ่านมาเป็นชั่วโมงนั้นแทบไม่มีประโยชน์เลย

4. น้ำอัดลม น้ำผลไม้ เป็นเครื่องดื่มที่จะไปเพิ่มแคลอรี่ให้แก่ร่างกายสูงขึ้นและอย่างมาก โดยเฉพาะการดื่มหลังออกกำลังกายเสร็จ เพราะมันจะเข้าไปเพิ่มแคลอรี่และทำให้ระบบเผาผลาญช้าลง นักกีฬาที่อยากเพิ่มกล้ามไม่ควรดื่ม

5. แอลกอฮอล์ เป็นอันตรายต่อกล้ามเนื้ออย่างมาก และยังไปทำลายกล้ามสวย ๆ ให้เป็นกล้ามย้วย ๆ อีกด้วย เพราะทุกครั้งที่เราดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปและเป็นจำนวนมาก ร่างกายจะเริ่มหลั่งสารต่อต้านอนุมูลอิสระออกมาเพื่อช่วยกำจัดแอลกอฮอล์เหล่านี้ จึงทำให้ไม่สามารถสร้างกล้ามเนื้อได้นั่นเอง

‘สาหร่ายเกลียวทอง’ ดีต่อกล้ามเนื้ออย่างไร?

      เพราะใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ มีโปรตีนสูงถึง 70% อย่างที่เรารู้กันดีว่า ‘โปรตีน’ นั้นเป็นสารอาหารที่สำคัญมาก “ในการสร้างกล้ามเนื้อสำหรับทุกเพศทุกวัย” ในวัยเด็กโปรตีนจะช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต เสริมสร้างเนื้อเยื่อและฮอร์โมน ในวัยผู้ใหญ่หรือวัยทำงาน ร่างกายจะต้องการโปรตีนในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อนำไปสร้างพลังงาน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างกล้ามเนื้อ และโปรตีนยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยเสริมสร้างและคงสภาพของมวลกล้ามเนื้ออีกด้วย รวมถึงจะถูกนำไปใช้เพื่อชดเชยการสลายตัวของกล้ามเนื้อจากความเสื่อมของวัยที่มากขึ้น เพราะฉะนั้น ร่างกายเราจะขาดโปรตีนไม่ได้เลย เพราะถ้าขาดโปรตีนไปจะทำให้เกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้อลีบเล็กฝ่อลง และบางรายอาจถึงขั้นกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ นั่นเพราะเวลาที่ร่างกายเราได้รับโปรตีนไม่เพียงพอ ร่างกายจะดึงโปรตีนที่สะสมไว้ในกล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscles) ออกมาใช้แทน การขาดโปรตีนเป็นเวลานาน ๆ จึงส่งผลให้กล้ามเนื้อมีขนาดเล็กลงเรื่อย ๆ ได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ นอกจากนั้น ใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ ยังมี ‘กรดอะมิโน’ ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับนักกีฬาและผู้ที่ชอบออกกำลังกายหนัก ๆ มากเป็นพิเศษ คือร่างกายคนเราประกอบไปด้วยโปรตีนถึง 20% ซึ่งก็คือ ‘ผิวหนัง’ และ ‘กล้ามเนื้อ’ ในระหว่างที่เราเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย โปรตีนในกล้ามเนื้อก็จะสลายตามไปด้วย “และกรดอะมิโนที่สำคัญต่าง ๆ ในร่างกายก็จะถูกนำออกมาใช้เพื่อช่วยในการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ” นอกจากนี้ กรดอะมิโนสายโซ่กิ่ง (BCAAs) ซึ่งมี วาลีน (Valine), ลิวซีน (Leucine) และ ไอโซลิวซีน (Isoleucine) ยังเป็นตัวช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพในการออกกำลังกายของเราให้ดีขึ้นอีกด้วย และช่วยส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีนจากกล้ามเนื้อ, ลดความเสียหายของกล้ามเนื้อ, ลดกล้ามเนื้อล้าและลดอาการปวดกล้ามเนื้อ และยังยับยั้งการสลายตัวของกล้ามเนื้อได้ด้วยนั่นเอง

Tips

วิธีเพิ่มกล้ามเนื้อ

1.  กินอาหารที่มีสารอาหารโปรตีนให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยเพียงพอต่อวันและกิจกรรมที่ทำ

2. ออกกำลังกายประเภทเผาผลาญ (Cardio) ให้เปลี่ยน Routine การออกกำลังกาย โดยออกกำลังกายในเเบบที่มีการใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกายด้วย

3.  ควรยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำ ด้วยท่าที่ปลอดภัย

You may also like to read

Best-food-for-kids

สารอาหารจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัย 1-3 ปี

         ทำไมเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี จึงเป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะวัย 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงวัยของการเคลื่อนไหว

Read More »
Improve your sleep

ปรับสมดุลแห่งการนอนด้วย ‘นาฬิกาชีวภาพ’ และ ‘เมลาโทนิน’ สำหรับวัยทำงาน

        ‘วัยทำงาน’ เป็นช่วงวัยที่มีพลังเยอะ ทั้งยังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน วัยทำงานจึงทุ่มเทพลังกายใจให้กับการทำงานอย่างเต็มที่แม้จะอยู่นอกเวลางานแล้วก็ตาม

Read More »
Sleep-late-Wakeup-Early

‘นอนดึก-ตื่นเช้า’ แต่ยังสดชื่นอยู่เสมอ

        หลายคนต้องนอนดึกเพราะความจำเป็นจากหน้าที่การงาน หลายคนนอนดึกเพราะเกิดจากโรคนอนไม่หลับและโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้หลับๆ ตื่นๆ และอีกหลายคนต้องนอนดึกเพราะเกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่รอบ ๆ

Read More »
Spirulina-Help-Hangover

ตัวช่วยฟื้นฟูตับและลดอาการแฮงค์ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     คงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะบอกให้นักดื่มหรือคนที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั้งหลายให้ “เลิกดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ” เพราะความจริงทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าลด ละ เลิกได้ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่บรรยากาศของการดื่มสังสรรค์กับเพื่อน

Read More »
Take care Anemia with spirurila

เลือดจาง (Anemia) ดูแลได้ด้วย ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแลเอง” ประโยคนี้ตอบโจทย์ได้ครบครันเรื่องการดูแลสุขภาพ นั่นเพราะ “การมีสุขภาพดี” ไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลงมือทำ ยกเว้นเด็กๆ

Read More »

Leave a Reply