สาหร่ายเกลียวทอง กับการดูแลตัวเองหลังป่วยด้วย ‘โรคมะเร็ง’

Spirulina for Cancer patient

         หลังการรักษาตัวจาก ‘โรคมะเร็ง’ ผู้ป่วยจะมีร่างกายที่ทรุดโทรมเสียหายไม่เหมือนเดิมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งจากตัวโรคและจากกระบวนการรักษาโรค การเยียวยา ฟื้นฟู ดูแลร่างกายและจิตใจหลังการรักษาโรคมะเร็งจึงสำคัญและจำเป็นมาก เพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงให้มากที่สุดและฟื้นเร็วที่สุด ทั้งเพื่อป้องกันโรคเดิมและเพื่อป้องกันโรคอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง ‘โรคมะเร็ง’ นี้นับเป็นหนึ่งในโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้น ๆ ของคนทั่วโลก โดยมีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้ปีละกว่าสิบล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้มีคนอายุระหว่าง 30-69 ปีจำนวนมาก นั่นแสดงให้เห็นว่า แนวโน้มในคนที่อายุยังน้อยและกลุ่มวัยทำงานจะเป็นโรคนี้กันมากขึ้น ซึ่งในประเทศไทยเรา มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งเป็นอันดับ 1 ติดต่อกันมาหลายสิบปีแล้ว โดยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขล่าสุดพบว่า มีผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งกว่าปีละ 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และยังพบผู้ป่วยรายใหม่อีกประมาณ 120,000 คนต่อปีอีกด้วย เพราะฉะนั้น การทำความรู้จักกับโรคมะเร็งให้มากขึ้น จะทำให้เรารู้จักป้องกันตัวเองจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ รวมถึงรักษาและฟื้นฟูสุขภาพหลังการรักษาโรคมะเร็งได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมนั่นเอง

5 มะเร็ง  ที่พบบ่อยในคนไทย

อันดับ 1. มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี

‘โรคมะเร็งตับ’ พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 โดยเฉพาะในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า และอยู่ในช่วงอายุ 30-70 ปี ในระยะแรกจะไม่ค่อยแสดงอาการ กว่าจะรู้ว่าเป็นก็มักจะในระยะสุด ท้ายแล้วรักษาไม่ทัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในบรรดาโรคมะเร็งทั้งหมด มะเร็งตับเกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ, การดื่มแอลกอฮอล์, รับสารพิษอะฟลาท็อก ซิน (Aflatoxin), การได้รับยาบางชนิด และเกิดจากพันธุ กรรม เป็นต้น ส่วน ‘โรคมะเร็งท่อน้ำดี’ จะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงเช่นกัน และในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งปัจจัยเสี่ยงมาจากการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ โดยเฉพาะปลาน้ำจืด ที่มีตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ตับรวมถึงปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ เช่น มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งท่อน้ำดี, มีภาวะท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรังและการสูบบุหรี่เป็นต้น

Cancer-Cells

อันดับ 2. มะเร็งปอด พบมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยและพบมากในผู้ชาย สาเหตุหลักของโรคมาจากการสูบบุหรี่ หรือได้รับควันบุหรี่เป็นประจำ โดยอาการเริ่มแรกผู้ป่วยมักจะไอเสมหะหรือไอมีเลือด, เจ็บหน้าอก, หายใจดังและถี่ และมีความอยากอาหารลดลง เป็นต้น

อันดับ 3. มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เป็นโรคที่เกิดได้กับคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในวัยทำงานจะเป็นกันมาก โดยอาการที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนก็คือ อุจจาระมีเลือดปน, อาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง และน้ำหนักลด

อันดับ 4. มะเร็งเต้านม จะพบมากในผู้หญิงตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไปได้เลย โดยสาเหตุหลักมักจะเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ด้วย เช่น กรรมพันธุ์, การมีประจำเดือนตั้งแต่อายุยังน้อย, ประจำเดือนหมดช้ากว่าปกติ เป็นต้น

อันดับ 5. มะเร็งปากมดลูก พบในผู้หญิงและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่ายมากด้วย โดยมักจะพบในผู้หญิงที่อายุระหว่าง 30-70 ปี ซึ่งพฤติกรรมที่ทำให้ก่อโรคมะเร็งปากมดลูกหลัก ๆ ก็คือ การเปลี่ยนคู่นอนบ่อย, การติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

‘โรคมะเร็ง’ เกิดจากสาเหตุอะไร?

     ถ้าจะบอกว่า ‘โรคมะเร็งเป็นภัยเงียบ’ ก็คงไม่ผิดนัก เพราะลักษณะของโรคนี้จะไม่แสดงออกให้เห็นแบบปุ๊บปั๊บ แต่จะค่อย ๆ เริ่มสร้างความปกติให้แก่ร่างกายอย่างช้า ๆ ซึ่งกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวว่าเป็นโรคมะเร็งแล้ว เจ้าเชื้อร้ายก็ลุกลามทำความเสียหายให้กับอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายไปมากแล้ว เพราะ ‘โรคมะเร็ง’ เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของ “สารพันธุกรรม” หรือที่เรียกว่า “ดีเอ็นเอ” (DNA) ที่อยู่ในเซลล์ในร่างกายเรานั่นเอง ซึ่งความผิดปกตินี้จะทำให้เกิดการแบ่งตัว การเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วจนระบบในร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติขึ้น ซึ่งก้อนเนื้อผิดปกตินี้จะสามารถลุกลามไปยังบริเวณใกล้เคียงหรือแพร่กระจาย (Metastasis) ไปยังอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายได้อย่างรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกัน “มะเร็งบางชนิดก็ไม่ได้ทำให้เกิดก้อนเนื้อ” เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว ซึ่งชื่อมะเร็งจะเรียกตามอวัยวะนั้น ๆ เช่น มะเร็วเต้านม, มะเร็งปากมดลูก, มะเร็งปอด,  มะเร็งสมอง, มะเร็งเม็ดเลือดขาว, มะเร็งต่อมน้ำเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น เพราะฉะนั้น การดูแลสุขภาพและหมั่นสังเกตสัญญาณเตือนจากภัยเงียบนี้อยู่เสมอ จึงน่าจะเป็นเกราะป้องกันได้ดีที่สุด และอาจทำให้มีโอกาสรักษาได้ทันเวลา แต่อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาโรคมะเร็งจะแตกต่างกันไปตามอวัยวะ ตามระยะของมะเร็ง และตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย และอย่างที่บอกไปบอกว่า “มะเร็งบางชนิดไม่แสดงอาการ” เพราะฉะนั้น วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เราต้องหมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายอยู่เสมอ หมั่นตรวจสุขภาพประจำปี และตรวจคัดกรอง (Screening for cancer) ซึ่งเป็นการตรวจโรคในระยะต้น ก็จะสามารถรักษาโรคมะเร็งได้ทัน

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิด ‘โรคมะเร็ง’

   แม้ ‘โรคมะเร็ง’ จะเกิดจากความผิดปกติของ “สารพันธุกรรม” หรือ “ดีเอ็นเอ” (DNA) แต่ปัจจัยที่ส่งผลกระตุ้นให้เกิดความผิดปกติของสารพันธุกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ข้อ คือ

1. ความผิดพลาดของขั้นตอนการสร้างสารพันธุกรรมของเซลล์ ปกติร่างกายเราจะมีระบบตรวจสอบความผิดพลาดเหล่านี้ แต่เมื่ออายุมากขึ้นก็จะด้อยประสิทธิภาพลง เราจึงมักพบมะเร็งในคนที่อายุเยอะมากกว่าผู้ที่อายุน้อย

2. ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสียหายของสารพันธุกรรม และกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยน แปลงสารพันธุกรรมที่เป็นต้นเหตุของมะเร็ง เช่น การสูบบุหรี่, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์, การรับประทานอาหารที่มีสาร อัลฟาทอกซิน เช่น ในถั่วลิสงและเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่เก็บไว้นานและการเก็บรักษาไม่เหมาะสม, การกินเนื้อสัตว์ประเภทปิ้งย่าง อาหารทอด อาหารไขมันสูง หรือรับประทานอาหารซ้ำๆ, ความเครียด, การไม่ออกกำลังกาย, การไม่รับประทานผักและผลไม้สด และการได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดด เป็นต้น

3. ปัจจัยจากภายในที่ป่วยโดยโรคบางโรค เช่น การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี, ตับอักเสบซี, เอชพีวี (HPV), เอชไอวี หรือโรคพยาธิใบไม้ในตับ, การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย พยาธิ, ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน,  ก็เพิ่มโอกาสในการเกิดมะเร็งในบางอวัยวะได้ หรือแม้แต่โรคอ้วนก็พบว่าเป็นหนึ่งในความเสี่ยงของมะเร็งหลายชนิดเช่นกัน และมะเร็งบางชนิดยังสามารถถ่าย ทอดส่งต่อกันในครอบครัวได้อีกด้วย

7

สัญญาณเตือนโรคมะเร็ง

แม้ ‘โรคมะเร็ง’ จะเป็นภัยเงียบ แต่ถ้าเราหมั่นสังเกตความปกติแม้เพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ก็จะสามารถเห็นสัญญาณเตือนที่ผิดปกตินั้นได้ และทำการรักษาได้ทันท่วงที ไม่ว่าจะเป็น

 1. หูดหรือไฝมีขนาดโตขึ้น
2. เกิดก้อนหรือตุ่มโตขึ้นอย่างรวดเร็วตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
3. เวลามีแผลเกิดขึ้นทำการรักษาแล้วแต่ไม่หายสักที
4. มีเลือดออกอย่างผิดปกติจากทวารต่าง ๆ
5. ไอเรื้อรัง ไอมีเสมหะ และเสียงแหบ
6. กลืนอาหารลำบาก เบื่ออาหาร นำ้หนักลด หรือมีอาการเสียดแน่นท้องเป็นเวลานาน
7. ระบบขับถ่ายทั้งปัสสาวะและอุจจาระมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำหรือปัสสาวะเป็นเลือด

ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นเพียงสัญญาณที่น่าสงสัยว่าจะเกิด ‘โรคมะเร็ง’ เท่านั้น แต่ถ้าจะให้รู้แน่ชัดว่าพบเชื้อมะเร็งจริง ๆ ต้องได้รับการตรวจและวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นเพราะบ่อยครั้งที่หลายคนรู้สึกกังวลใจจนทำให้เกิดภาวะเครียด ส่งผลให้สภาพร่างกายและจิตใจย่ำแย่จากความวิตกกังวล จนพาลป่วยเป็นโรคอื่นไปด้วย

การฟื้นฟูร่างกาย ด้วยอาหาร สำหรับผู้ป่วยหลังโรคมะเร็ง

      หลังการรักษาจาก ‘โรคมะเร็ง’ “การฟื้นฟู เยียวยา และการใส่ใจดูแลสุขภาพที่ถูกต้องนั้นสำคัญและจำเป็นมาก” เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นและไม่ทรุดโทรมเสียหายมากกว่าที่ควรจะเป็น เพราะผลจากงานวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งหลายคนเสียชีวิตเพราะเรื่องโภชนาการ โดยผู้ป่วยจำนวนถึง 50% เสียชีวิตเพราะกินอาหารไม่ได้ และผู้ป่วยประมาณ 20% เสียชีวิตเพราะขาดสารอาหารมากกว่าจากโรคมะเร็ง และกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยมะเร็งจะมีน้ำหนักตัวที่ลดลง สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อการรักษาและการรอดชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็งทั้งนั้น เพราะฉะนั้น การรับประทานอาหารที่ดี มีคุณภาพ มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนตามหลักโภชนาการอาหาร 5 หมู่อย่างเพียงพอและเหมาะสม และสะอาด ทั้งก่อนการรักษา ระหว่างการรักษา และหลังการรักษา จะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นได้ ซึ่งเมื่อร่างกายแข็งแรงแล้วก็จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคมากขึ้น รวมถึงมีกำลังใจที่จะใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองหลังป่วย โดยปกติผู้ป่วยโรคมะเร็งจะไม่สามารถรับประทานอาหารได้เหมือนคนทั่วไป จึงต้องใส่ใจเรื่องการปรับอาหารให้เหมาะสม ซึ่งสารอาหารอาหารที่ร่างกายผู้ป่วยหลังการรักษาโรคมะเร็งต้องการในสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้ง โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, วิตามิน, แร่ธาตุ, ไขมันและน้ำ ซึ่งโภชนาการที่ถูกต้องกับผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีผลวิจัยทางการแพทย์ยืนยันและนำไปใช้จริงในโรงพยาบาลแล้วนั้น จะทำให้ผู้ป่วยในระยะดูแลรักษาสุขภาพปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจกระบวนการทางการรักษาหลัก ๆ ที่มี 3 วิธีด้วยกันคือ
1. ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้นจากกระบวนการรักษา
2. วิธีดูแลอาหารเพื่อลดผลข้างเคียงต่าง ๆ และ
3. อาหารเสริมที่ส่งผลดีต่อการรักษาโรคมะเร็ง ที่รับรองโดยแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ โดยในส่วนของโภชนาการผู้เชี่ยวชาญได้แนะนำแนวทางการรับประทานอาหารไว้ดังนี้ 

1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่วต่าง ๆ และสาหร่ายเกลียวทอง เพราะระหว่างที่ป่วยด้วยโรคนี้ร่างกายจะมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น และเมื่อหายป่วยในระยะฟื้นฟูร่างกายจึงควรได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอและในสัดส่วนที่เหมาะสม จึงจะทำให้ผู้ป่วยมะเร็งมีภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นได้

High-Protein-Food

2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เพราะผู้ที่หายป่วยจากโรคมะเร็งมักจะกินอาหารได้ในปริมาณน้อย ทำให้ร่างกายไม่มีแรง จึงควรเลือกอาหารที่ให้พลังงานสูง เช่น ประเภทข้าวกล้อง+ข้าวไรท์เบอรี่+ข้าวแดง ที่มีคุณค่าทางอาหารและมีกากใยมากกว่าข้าวขาว และกินสลับกับอาหารประเภทแป้ง

3. ผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี เพราะจะทำให้ร่างกายมีสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ เช่น มะเขือเทศ, คะน้า, ดอกกะหล่ำ, กะหล่ำปลีสีม่วง, แขนงผัก, ผักโขม, บล็อคโคลี, ถั่ว, ส้ม, แก้วมังกรสีชมพู, มะม่วงทั้งสุกและดิบ เป็นต้น

4. ไขมันจากปลา เพราะในน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ที่จะช่วยลดการอักเสบของอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้ และไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมากเกินไป เช่น น้ำมันหมู, หนังติดมัน เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้ และควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง แต่ควรเลือกอาหารประเภทต้ม นึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด เป็นต้น

5. ช่วงเช้าให้กินมื้อใหญ่ ส่วนมื้ออื่น ๆ ให้แบ่งอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อ จะช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น

ทำไม? อาหาร จึงช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งมีสุขภาพดีขึ้นได้

     ไม่ใช่เรื่องที่พูดกันเล่น ๆ อีกต่อไป ถึงเรื่องอาหารที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้ หรือกระทั่งหายขาดจากโรคร้ายนี้ เพราะผลจากการวิจัยพบว่า ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่เข้ารับการรักษาและได้รับอาหารที่ดีอย่างครบถ้วนตามสูตรเฉพาะนั้น จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพดีขึ้นได้ แต่จะมีเหตุผลอะไรบ้างนั้น เรามาดูกัน 

1. ลดการอักเสบของร่างกาย ในผู้ป่วยมะเร็งร่างกายจะเกิดการอักเสบ ส่งผลให้การเผาผลาญพลังงานและการเผาผลาญโปรตีนสูงกว่าคนปกติการได้รับสารอาหารรวมถึงอาหารเสริมที่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวันจะช่วยลดการอักเสบของร่าง กายได้

2. ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น รวมถึงจำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดก็เพิ่มขึ้นด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษา cycle ในรอบถัดไปได้ เมื่อผู้ป่วยไม่ต้องรอเวลาในการรักษา ก็จะทำให้เกิดความเครียดน้อยลง เพราะเมื่อไหร่ที่เครียดเซลล์มะเร็งก็อาจจะพัฒนาขยายเติบโตตามไปด้วยเช่นกัน

3. ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก (mucositis) ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดร่วมกับฉายแสง จะเจ็บปวดและรับประทานอาหารลำบากมาก ทำให้สุขภาพทรุดลง การได้รับอาหารเสริมที่ดีและเฉพาะทางจะช่วยป้องกันความรุนแรงจากการอักเสบได้

‘สาหร่ายเกลียวทอง’ อาหารที่ดีต่อสุขภาพผู้ป่วยโรคมะเร็ง

    หนึ่งในอาหารที่มีคุณภาพสูง ที่จะช่วยให้ร่างกายของผู้ป่วยหลังการรักษาโรคมะเร็งฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว แข็งแรงได้อย่างมีประสิทธิภาพก็คือ สาหร่ายเกลียวทองหรือ ‘สาหร่ายสไปรูลิน่า นั่นเอง เพราะมีคุณค่าทางอาหารตามโภชนาครบถ้วน, มีโปรตีนสูงกว่าโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ ถึง 70 เปอร์เซนต์, มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก เช่น วิตามินบี1, บี2, บี3, บี5, บี6, บี12, วิตามินC, วิตามินH, วิตามินดี, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แคลเซียม, แมกนีเซียม, โฟเลต และแคโรทีนอยด์ ที่ย่อยง่ายและดูดซึมง่ายมาก และมี ‘เบต้าแคโรทีนคุณภาพสูง ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเป็นโรคมะเร็งได้ นอกจากนั้นยังมี ไฟโคไซยานิน ที่ช่วยยับยั้งการเกิดและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้อีกด้วย โดยในงานวิจัยของประเทศญี่ปุ่นที่ได้สกัดสารไฟโคไซยานินแล้วนำไปทดลองในหนูที่เป็นโรคมะเร็งตับ พบว่า หนูกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายเกลียวทองมีอัตรารอดสูงกว่าหนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสาหร่ายเกลียวทอง (จากการทดลองเป็นเวลา 5 สัปดาห์) โดยหนูกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายเกลียวทองมีอัตรารอดชีวิตสูงถึง 90% ในขณะที่หนูกลุ่มไม่ได้รับสาหร่ายเกลียวทองรอดชีวิตเพียง 25% เท่านั้น และหลังจาก 8 อาทิตย์ไปแล้ว หนูกลุ่มที่ได้รับสาหร่ายเกลียวทองยังคงเหลือรอดชีวิตจำนวน 25% ในขณะที่หนูกลุ่มที่ไม่ได้รับสาหร่ายเกลียวทองนั้นเสียชีวิตทั้งหมด นั่นจึงสันนิษฐานได้ว่า ‘ไฟโคไซยานิน’ น่าจะช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของหนูทดลองที่เป็นโรคมะเร็งได้

Cancer-Survior

นอกจากนี้ คุณสมบัติสุดพิเศษของ ‘ไฟโคไซยานิน’ ที่มีอยู่ใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ ไม่ใช่แค่ไปทำลายเซลล์มะเร็งเท่านั้น แต่ยังช่วยทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น ช่วยป้องกันโรคเสื่อมโทรมของอวัยวะต่าง ๆ เพราะไปช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบภูมิคุ้มกันทั่วไป โดยทำ งานผ่านระบบท่อน้ำเหลืองที่มีหน้าที่บำรุงรักษาอวัยวะในร่างกาย ป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันโรคแผลเปื่อย การตกเลือด รวมถึงโรคอื่นๆโดยจากเอกสารการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ของประเทศญี่ปุ่นบันทึกไว้ว่า “การรับประทานไฟโคไซยานินวันละนิดจะช่วยรักษาหรือกระตุ้นการควบคุมการทำงานของเซลล์ได้ดี และยังช่วยป้องกันการแพร่กระจายตัวของก้อนเนื้องอก เช่น มะเร็ง รวมถึงยับยั้งการเจริญเติบโตหรือการกลับมาเป็นใหม่ได้ด้วย” 

โดยจากบันทึกดังกล่าวแนะนำให้รับประทานไฟโคไซยานินวันละ 0.25-2.5 กรัม หรือรับประทานสาหร่ายเกลียวทองวันละ 8 เม็ด ที่จะทำให้ร่างกายได้รับสาร ‘ไฟโคไซยานิน’ อย่างเพียงพอ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แม้สาหร่ายเกลียวทองจากบุญสมฟาร์ม จะเป็นอาหารที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการว่ามีสารอาหารครบ 5 หมู่ แต่ สาหร่ายเกลียวทองเป็นอาหารไม่ใช่ยา จึงไม่มีผลในการรักษาโรค และไม่มีผลในการกำจัดเซลล์มะเร็ง แต่สารอาหารที่ดีในสาหร่ายเกลียวทอง จะเป็นตัวช่วยในการดูแลส่งเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งในระหว่างเข้ารับการรักษาและหลังกระบวนการรักษา ผู้ป่วยจริงควรอยู่ในความดูแลของแพทย์แผนปัจจุบันที่เชี่ยวชาญเฉพาะโรคอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

       นอกจากการใส่ใจเรื่องอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยหลังการรักษา ‘โรคมะเร็ง’ แล้ว การดูแลตัวเองในด้านอื่น ๆ ก็สำคัญไม่น้อยไปกว่ากัน เช่น การออกกำลังกาย การนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ และการรักษาสมดุลชีวิตและอารมณ์ เพราะจะทำให้ร่างกายแข็งแรง จิตใจแข็งแรง ต่อสู้กับโรคภัยต่าง ๆ ได้

You may also like to read

Best-food-for-kids

สารอาหารจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัย 1-3 ปี

         ทำไมเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี จึงเป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะวัย 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงวัยของการเคลื่อนไหว

Read More »
Improve your sleep

ปรับสมดุลแห่งการนอนด้วย ‘นาฬิกาชีวภาพ’ และ ‘เมลาโทนิน’ สำหรับวัยทำงาน

        ‘วัยทำงาน’ เป็นช่วงวัยที่มีพลังเยอะ ทั้งยังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน วัยทำงานจึงทุ่มเทพลังกายใจให้กับการทำงานอย่างเต็มที่แม้จะอยู่นอกเวลางานแล้วก็ตาม

Read More »
Sleep-late-Wakeup-Early

‘นอนดึก-ตื่นเช้า’ แต่ยังสดชื่นอยู่เสมอ

        หลายคนต้องนอนดึกเพราะความจำเป็นจากหน้าที่การงาน หลายคนนอนดึกเพราะเกิดจากโรคนอนไม่หลับและโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้หลับๆ ตื่นๆ และอีกหลายคนต้องนอนดึกเพราะเกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่รอบ ๆ

Read More »
Spirulina-Help-Hangover

ตัวช่วยฟื้นฟูตับและลดอาการแฮงค์ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     คงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะบอกให้นักดื่มหรือคนที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั้งหลายให้ “เลิกดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ” เพราะความจริงทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าลด ละ เลิกได้ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่บรรยากาศของการดื่มสังสรรค์กับเพื่อน

Read More »
Take care Anemia with spirurila

เลือดจาง (Anemia) ดูแลได้ด้วย ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแลเอง” ประโยคนี้ตอบโจทย์ได้ครบครันเรื่องการดูแลสุขภาพ นั่นเพราะ “การมีสุขภาพดี” ไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลงมือทำ ยกเว้นเด็กๆ

Read More »

Leave a Reply