บำรุงตับกับสาหร่ายเกลียวทอง

Take care of your liver

         ทุกอวัยวะในร่างกายเราทั้ง “สำคัญ” และทำงาน “สัมพันธ์” กันเสมอ ถ้าอวัยวะใดขาดการใส่ใจดูแล แน่นอนว่าจะมีสุขภาพที่ย่ำแย่ ขาดประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งผลกระทบต่อระบบสุขภาพร่างกายโดยรวม และที่สำคัญ ยังทำให้เกิดโรคร้ายต่าง ๆ อีกด้วย ซึ่งถ้าเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ก็ยังไม่น่ากังวลใจเท่ากับโรคที่รักษาหายยากหรือรักษาไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ใครที่กำลัง ดูแลบางอย่างแต่ปล่อยวางบางส่วน นั้นกำลังทำผิดต่อร่างกายอย่างมหันต์ โดยเฉพาะกับ “ตับ” ซึ่งเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่สำคัญในการ “กำจัดสารพิษให้แก่ร่างกาย โลหะหนัก ของเสีย และยา” และยังเป็็นอวัยวะที่ “ใช้ในการสร้างโปรตีน เผาผลาญสารอาหาร ควบคุมการใช้สารอาหารต่าง ๆ ตามความต้องการของร่างกาย เช่น ควบคุมน้ำตาลกลูโคสและโปรตีน ควบคุมและสร้างน้ำดีเพื่อใช้ในการย่อยไขมัน ควบคุมสารอาหารประเภทไขมัน เช่น คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และไลโปโปรตีน เก็บกักวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ให้กับร่างกาย” ถ้าตับถูกทำร้ายก็จะนำไปสู่โรคภัยต่าง ๆ ได้ เช่น โรคตับอักเสบ โรคตับแข็ง โรคมะเร็งตับ ซึ่งเป็นโรคที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นอันดับต้น ๆ ของประเทศไทยเลยก็ว่าได้ ส่วนตับจะต้องการการดูแลแบบไหนบ้างนั้น เรามาดูกัน  

3

 โรคร้ายทำลาย ‘ตับ’

          ก่อนอื่นเรามารู้กันก่อนว่า โรคที่เกิดจากการที่ ‘ตับ’ ทำงานผิดปกตินั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งก็มีอยู่ 3 โรคหลัก ๆ คือ

1. โรคมะเร็งตับ เป็นภาวะตับแข็งที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำและในปริมาณมาก หรือเกิดจากไวรัสตับอักเสบ โดยโรคมะเร็งตับนี้จะไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น แต่จะแสดงอาการเมื่อเป็นหนักแล้ว โดยอาการที่แสดงออกก็เช่น ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณฝั่งขวาส่วนบน บางคนอาจจะมีอาการปวดร้าวที่หลังหรือไหล่ร่วมด้วย ท้องบวมขึ้น อ่อนเพลีย ตัวเหลืองตาเหลือง เบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่มีสาเหตุ

2. โรคตับแข็ง สาเหตุหลักมาจากไวรัสตับอักเสบบี, ไวรัสตับอักเสบซี, การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประ จำและในปริมาณมาก และไขมันพอกตับเรื้อรัง ซึ่งเมื่อเกิดภาวะตับแข็งแล้ว ก็จะเกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งตับอีกด้วย

3. โรคไขมันพอกตับ สาเหตุของโรคนี้เกิดจากการที่เราบริโภคอาหารประเภทไขมัน, ของหวาน, น้ำตาล หรือแป้งในปริมาณที่มากเกินไป พอร่างกายใช้ไม่หมดก็จะสะ สมเป็นไตรกลีเซอไลน์ในเซลล์ตับ กลายเป็นไขมันในเนื้อตับจนเกิดการอักเสบ ถ้าปล่อยเอาไว้ไม่รักษาก็จะส่งผลให้เซลล์ตับค่อยๆถูกทำลายลง จนตับไม่สามารถทำงานได้อีกต่อไป

Liver illness

อาหารดูแล ‘ตับ’

        การบำรุงให้ตับมีสุขภาพดี แข็งแรง และช่วยลดปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคร้ายเกี่ยวกับตับนั้นก็คือ การใส่ใจเรื่องอาหารการกินที่ถูกต้อง เหมาะสม มีคุณภาพ สะอาด ไม่มีสารพิษเจือปน และมีสารอาหารที่ดีต่อร่างกายครบถ้วน เรามาดูกันว่าจะมีอาหารประเภทไหนบ้างที่ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง

1. เนื้อสัตว์ ในเนื้อสัตว์ทุกชนิดจะโปรตีนและกรดอะมิโนที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อตับ โดยเฉพาะปลา เช่นปลาแซลมอน ที่มีโอเมก้า 3 ซึ่งเป็นสารอาหารที่ช่วยบำรุงการทำงานของตับ มีส่วนสำคัญในการช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อของตับที่เสียหายให้ฟื้นฟูและกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้ง และห้ามกินเนื้อสัตว์ที่ยังดิบหรือกึ่งสุขกึ่งดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เพราะมีความเสี่ยงต่อการเจือปนสารตะกั่ว และสารพิษต่าง ๆ ที่มาจากทะเล เพราะจะส่งผลเสียโดยตรงต่อตับนั่นเอง  

2. ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง  ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูงนั้นมีหลายชนริดและหาได้ง่ายในท้องตลาด เช่น มะขามป้อม ส้ม เกรปฟรุต มะละกอ กีวี เป็นต้น ซึ่งนอกจากจะมีวิตามินซีสูงแล้วยังมีสารต้านอนุมูลอิสระอีกด้วย จึงมีประสิทธิภาพในการช่วยลดการอักเสบของตับ และส่งเสริมการทำงานของตับให้ดีขึ้น ช่วยล้างพิษในตับ ช่วยรักษาอาการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ป้องกันการเกิดพิษโลหะหนักในตับ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งตับได้

Food-for-Liver

3. อะโวคาโด เป็นผลไม้ที่มีกลูตาไธโอนสูง ช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ และช่วยลดโอกาสเกิดโลหะหนักสะสมในตับได้

4. แครอท เป็นพืชที่มีคุณสมบัติบำรุงตับ เพราะในแครอทมีวิตามินหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิตามินเอ, วิตามินบี1, วิตามินบี2, วิตามินซี และวิตามินเค และยังมีกรดโฟลิกฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, โซเดียม, ธาตุเหล็ก, สังกะสี และทองแดง ที่ล้วนมีคุณสมบัติช่วยบำรุงตับ และยังช่วยบำรุงเลือด ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อยได้อีกด้วย

5. บล็อกโคลี่ เป็นผักที่มีสารดีท็อกซิฟิเคชั่นเอนไซม์ที่มีคุณสมบัติช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย ช่วยลดเซลล์ตับไม่ให้ถูกทำลาย โดยในงานวิจัยหนึ่งที่ศึกษาการทำ งานของตับในกลุ่มคนที่กินอาหารเสริมต้นอ่อนบล็อกโค

ลี่พบว่า ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับนั้นมีค่าเอนไซม์ตับลดลงหลังได้รับอาหารเสริมดังกล่าวติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้กิน โดยค่าเอนไซม์ตับที่ลดลงนั้นแสดงให้เห็นว่า ผักตระกูลกะหล่ำมีส่วนช่วยการทำงานของตับให้ดีขึ้นได้

6. กะหล่ำปลี สารในผักตระกูลกะหล่ำปลี ไม่ว่าจะเป็น กะหล่ำดอก, บล็อกโคลี่ และมันเทศ จะช่วยเพิ่มกลูต้าไธโอนให้แก่ร่างกาย จึงช่วยเพิ่มเอนไซม์ล้างพิษในตับได้ ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย ช่วยบำรุงตับ ช่วยให้ตับทำงานอย่างเป็นปกติ และป้องกันตับพัง

7. ผักใบเขียว ผักใบเขียวหาได้ง่ายมากในท้องตลาด เช่น ผักกาดหอม, ผักโขม และผักใบเขียวชนิดอื่น ๆ โดยผักใบเขียวจะมีคุณสมบัติช่วยชะล้างสารเคมีที่สะสมในตับ โดยเฉพาะสารเคมีประเภทยาฆ่าแมลงที่ตกค้างอยู่ในพืชผักผลไม้ที่เรากินเข้าไป และยังช่วยป้องกันการเกิดโลหะหนักในตับได้อีกด้วย

8. องุ่น & เมล็ดองุ่น  องุ่นเป็นผลไม้ที่รสชาติอร่อย และยังมีคุณสมบัติช่วยให้ตับทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย อีกทั้งยังเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารแอนตี้ออกซิแดนท์ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งตับอีกด้วย ช่วยให้ไขมันพอกตับลดลง อาการตับอักเสบทุเลาลง และช่วยป้องกันการเสื่อมสลายของเซลล์ตับได้อีกด้วย แต่ข้อควรระวังก็คือ องุ่นเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง ถ้ากินแบบผลไม้สดไม่ควรกินในปริมาณที่มากเกินไป แต่ถ้ากินชนิดสกัดเป็นยาหรือน้ำ ควรตรวจสอบปริมาณการกินที่เหมาะสมต่อร่างกายก่อนทุกครั้ง

9. บีทรูท ในบีทรูทจะมีสารสีแดงที่เป็นกรดอะมิโนชื่อว่า ‘บีทานิน’ ซึ่งเป็นตัวช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งและช่วยลดการเติบโตของเนื้องอกได้ และยังมีสารสีม่วงที่ชื่อ ‘แอนโทไซยานิน’ ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดสารก่อมะเร็ง และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ รวมถึงมีสารฟลาโวนอยด์ ซึ่งเป็นสารที่ตับต้องการในการนำไปบำรุงและฟื้นฟูตัวเองอีกด้วย

10. ลิ้นจี่  ลิ้นจี่เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยโปรตีน, ไขมัน, กลูโคส, ซูโครส, กรดซิตริก, วิตามินเอ, วิตามินบี และวิตามินซี ที่ช่วยบำรุงตับและบรรเทาอาการตับอักเสบได้เป็นอย่างดี

11. ข้าวกล้อง / ข้าวไรซ์เบอรรี่ ในข้าวกล้องและข้าวไรซ์เบอร์รี่มีคาร์โบไฮเดรตสูง ไฟเบอร์สูง และยังมีวิตามินบีรวมอีกด้วย ถ้าร่างกายได้รับในปริมาณที่เพียงพอก็จะช่วยสร้างไกลโคเจนในตับได้ ช่วยให้ตับลดการดูดซึมไขมัน ช่วยในการฟื้นฟูตับให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

12. บีถั่วและธัญญพืช ถั่วและกลุ่มอาหารธัญพืช เช่น ถั่วแดง, ถั่วเขียว, อัลมอนด์, วอลนัท, เมล็ดทานตะวัน และเมล็ดพืชต่าง ๆ นั้นนับว่ามีโปรตีนที่มีคุณภาพและมีไขมันดี มีกากใยสูง จึงช่วยปกป้องตับให้ถูกทำลายได้น้อยลง ลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยเฉพาะในวอลนัทนั้นมีสารสำคัญที่ช่วยบำรุงตับอยู่ 2 ชนิดคือ ‘กรดไขมันโอเมก้า 3’ และ ‘กลูต้าไธโอน’ ซึ่งเป็นตัวช่วยในการกำจัดสารพิษออกจากตับได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง

13. เก๋ากี้ ในเก๋ากี๋จะมีสารเบต้าแคโรทีน, แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, วิตามินอี, วิตามินบี2 และกรดกำมะถัน ซึ่งเป็นตัวช่วยในการเพิ่มเม็ดเลือดขาว และลดไขมันในเลือด จึงช่วยบำรุงตับให้แข็งแรงขึ้น ทำงานได้ดีขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้ไขมันพอกตับมากกว่าเดิมได้อีกด้วย

14. เห็ด ใครชอบกินเห็ดก็คงยิ้มออก ส่วนใครที่ไม่ชอบก็ควรต้องหันมาลองกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพตับกันบ้างแล้วล่ะ ไม่ว่าจะเป็น เห็ดหอม, เห็ดฟาง, เห็ดนางฟ้า, เห็ดหูหนู และเห็ดหลินจือ เพราะเป็นตัวช่วยลดไขมันที่สะสมในตับและในกระแสเลือดได้ ช่วยเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดขาว และที่สำคัญ ต่อต้านการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย

15. น้ำมันชนิด MUFA สูง หลายคนอาจจะไม่เคยรู้มาก่อนว่า น้ำมันชนิดนี้มีประโยชน์ต่อตับมากแค่ไหน น้ำมันชนิดที่มี MUFA สูงนั้นมีส่วนช่วยในการลดไขมันตัวร้าย (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ได้ ซึ่งไขมันดี HDL นั้นเป็นไขมันชนิดดีที่จะช่วยกำจัดไขมันชนิดร้ายออกจากร่างกายได้ จึงช่วยลดการเกิดภาวะไขมันพอกตับได้นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นน้ำมันรำข้าว, น้ำมันมะกอก และน้ำมันคาโนล่า เป็นต้น

16. อาหารจากพืชธรรมชาติ เช่น สาหร่ายเกลียวทอง เพราะสาหร่ายเกลียวทองมีโปรตีนสูงกว่าแหล่งโปรตีนอื่น ๆ และเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพ จึงมีคุณสมบัติช่วยปกป้องตับจากสารพิษต่าง ๆ ได้ เช่น จากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น และสารอาหารที่ดีในสาหร่ายเกลียวทองยังเป็นตัวช่วยให้เลือดแข็งแรงอีกด้วย โดยนำพาออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไปสู่เซลล์ จึงทำหน้าที่ช่วยบำรุงตับให้แข็งแรง สร้างภูมิต้านทานโรคและขจัดสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายที่ได้รับมาจากอาหาร น้ำดื่ม และจากอากาศที่เราหายใจเข้าออกทุกวัน และยังมีเอ็มไซม์ที่ดีที่ช่วยย่อยอาหารจำนวน 3 ชนิดด้วยกันคือ เอ็มไซม์ย่อยแป้ง (Amylase) เอ็มไซม์ย่อยไขมัน (Lipase) และเอ็มไซม์ย่อยโปรตีน (Protease) จึงเป็นตัวช่วยไม่ให้ตับอ่อนทำงานหนักจนเกินไปนั่นเอง

6

อาหารช่วยปกป้อง ‘ตับ’

         นอกจากเมนูอาหารที่ดูแลและบำรุง ‘ตับ’ ให้แข็งแรงแล้ว ‘ตับ’ ก็ยังต้องการอาหารที่เป็นเหมือนบอดี้การ์ดที่คอยปกป้องจากการเป็นโรคตับอีกด้วยนะ ซึ่งอาหารแต่ละประเภทก็หาได้ง่าย อยู่ใกล้ตัวและใกล้ครัวเรานั่นเอง

1. ถั่วเหลือง (Soybeans) : มีคุณสมบัติช่วยชะลอโรคตับที่เกิดจากโรคไขมันสะสมในตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ เพราะ ‘จีนิสทีน’
(Genistein) ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยลดการอักเสบนั้นจะเป็นตัวช่วยในการปรับสมดุลของไขมันที่สะสมในตับได้ จึงมีส่วนช่วยลดโอกาสในการการเกิดภาวะตับคั่งไขมันได้ด้วยนั่นเอง

2. กระเทียม (Garlic) : มีสารสำคัญมากมายโดยเฉพาะสาร ‘อัลลิซิน’ (Allicin) ที่ช่วยในการเผาผลาญไขมันในร่างกาย ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยลดการเกิดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อตับ และยังช่วยกระตุ้นให้ตับผลิตเอนไซม์ที่ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกายได้อีกด้วย และยังมี ‘ซีลีเนียม’
(Selenium)ที่เป็นตัวช่วยที่ดีในการดีท็อกซ์สารพิษที่สะสมในตับได้

Food-for-healthy-Liver

3. เบอร์รี่ (Berries) ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่นั้นอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสาร ‘แอนโทไซยานิน’ (Anthocyanin) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดการสะสมไขมันที่ตับ และช่วยลดการอักเสบของตับได้ และยังช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่าง กายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

4. กาแฟ (Coffee)  สารสำคัญที่พบในกาแฟก็คือ ‘คาเฟอีน’ (Caffeine) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยชะลอการสะสมของพังผืดในตับในผู้ที่มีภาวะตับอักเสบเรื้อรัง ที่จะนำไปสู่ภาวะโรคตับแข็งได้

5. ชาเขียว (Green tea) อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีต่อตับอย่าง ‘แคทีชิน’ (Catechin) ซึ่งเป็นตัวช่วยในการลดการสะสมไขมันที่ตับ ช่วยยับยั้งการดูดซึมไขมันและลดการสะสมไขมันของตับและของร่างกายได้ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่จะนำไปสู่โรคตับอักเสบและตับแข็งได้ รวมทั้งมีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็งบางชนิดได้ด้วย อย่างไรก็ตาม ไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป และถ้าดื่มเพื่อดูแลสุขภาพและเพื่อรักษาโรค ควรปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด

6. ขมิ้น ขมิ้นประกอบด้วยสาร ‘เคอร์คูมิน’ (Curcumin) ที่มีคุณสมบัติในการต้านการอักเสบ มีส่วนช่วยป้องกันไม่ให้ตับได้รับความเสียหาย และยังช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคตับได้อีกด้วย

13

อาหารและพฤติกรรมเสี่ยงทำ ‘ตับ’ พังได้

         ในชีวิตประจำวันเราต้องเจอกับอาหารและเครื่องดื่มหลากหลายชนิดที่อาจจะเป็นตัวทำร้ายสุขภาพตับ การรู้ว่ามีอะไรบ้างนั้นจะช่วยให้เราเลี่ยง ลด หรือจำกัดปริมาณการนำเข้าสู่ร่างกายให้น้อยลงได้ มาดูกันว่าจะมีอะไรบ้าง

1. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เพราะมีสารที่ไปทำร้ายทำลายตับโดยตรง การดื่มในปริมาณที่มากเกินไปและในระยะยาวจะทำให้ตับถูกทำลาย เกิดพังผืดในตับ ทำให้ตับอักเสบ เมื่อตับอักเสบเป็นเวลานาน ๆ ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับแข็งได้ หรือแม้แต่การดื่มวันละนิดแต่ดื่มติดต่อกันเป็นระยะเวลานานก็เสี่ยงเกิดโรคตับแข็งได้เช่นกัน

2. อาหารแปรรูป/ อาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูปต่าง ๆ นั้นจะใส่พวกสารปรุงแต่งเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารและถนอมอาหาร เช่น สารไนเตรท, สารกันบูด, สารไนไตร และสารกันเชื้อรา ซึ่งสารเหล่านี้จะถูกกรองที่ตับ ทำให้ตับทำงานหนัก ยิ่งถ้าร่างกายได้รับในปริมาณมากเกินไปก็จะยิ่งทำร้ายตับมากเท่านั้น

3. น้ำอัดลม แม้การวิจัยจะไม่ได้บ่งชัดว่าน้ำอัดลมเป็นสาเหตุของการเกิดโรคตับอักเสบ แต่ในการศึกษาก็พบว่าผู้ที่ดื่มน้ำอัดลมเป็นจำนวนมากและเป็นประจำมีแนวโน้มของการเกิดภาวะไขมันพอกตับมากขึ้น

4. อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณมาก  โดยเฉพาะน้ำตาลฟรุกโตสที่พบในเครื่องดื่มที่มีรสหวานจะเปลี่ยนเป็นไขมันสะสมในตับผลของการศึกษาเรื่องอาหารและเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลในปริมาณมากบอกว่า การกินอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมากเกินไปจะส่งผลอันตรายต่อตับไม่ต่างจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เลยทีเดียว เพราะการมีระดับน้ำตาลที่สูงในร่างกายจะทำให้เกิดการสะสมไขมันในตับ และมีความเสี่ยงในการเป็นโรคไขมันพอกตับได้       

5. อาหารที่มีโซเดียมสูง/ อาหารที่มีเกลือมาก  กลุ่มอาหารประเภทนี้ก็เช่น ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ทั้งหลาย, อาหารกระป๋อง, ขนมขบเคี้ยว และซอสปรุงรส เป็นต้น เป็นอาหารที่ไปทำร้ายตับโดยตรง และทำให้ตับอ่อนแอลง

6. อาหารประเภทแป้งขัดสีหรือข้าวขัดสี  เช่น ข้าวขาว, ขนมปังขาว และเส้นพาสต้า เป็นอาหารที่ไม่ค่อยดีต่อการทำงานของตับ ทำให้ตับทำงานลดประสิทธิภาพลง

7. อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat) พบได้ง่ายมากในท้องตลาดและในชีวิตประจำวัน มีมากในอาหารจำพวกของทอดทั้งหลาย, เนื้อสัตว์ติดมัน, ครีมเปรี้ยว, เนย และผลิตภัณฑ์จากนมที่มีไขมันสูง ทำให้ตับทำงานได้แย่ลง

8. วิตามิน A  วิตามิน A มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายอย่าง แต่เป็นวิตามินที่ควรควบคุมในปริมาณที่พอดีต่อความต้องการของร่างกาย เพราะถ้าร่างกายได้รับมากเกินไป ก็จะกลายเป็นพิษต่อตับตับได้ รวมถึงการรับประทานยาหรือสมุนไพรที่มากเกินไปหรือเกินความจำเป็นต่อร่างกาย หรือติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็จะทำให้ตับทำงานหนัก ตับไม่สามารถขจัดได้ทัน จึงเหลือเป็นส่วนเกินที่จะมีฤทธิ์ทำลายเนื้อตับ ทำให้ตับอักเสบได้ หรือเกิดภาวะตับวายได้ เพราะฉะนั้น ควรปรึกษาแพทย์ให้แน่ใจว่าปลอดภัยและส่งผลดีต่อสุขภาพตับจะดีที่สุด

9. กินอาหารปิ้งย่าง อาหารที่มีไขมันสูงอยู่เสมอ อาหารประเภทปิ้งย่าง, ของทอด, ของมัน และอาหารที่มีไขมันสูง เช่น กะทิ, นม, เนย, ชีส, กุ้ง, ปูไข่ และไข่แดง ถ้ากินบ่อยครั้งและเป็นประจำจะทำให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินมากเกินไป และส่งผลทำให้มีไขมันในเลือดสูง ทำให้เกิดการสะสมที่ตับจนนำไปสู่โรคไขมันพอกตับได้ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรัง จนนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้ในที่สุด

10. ร่างกายมีไขมันส่วนเกิน/ มีภาวะอ้วนลงพุ ถ้าปล่อยให้ร่างกายมีไขมันส่วนเกินมากเกินไป จะเกิดการสะสมที่ตับและนำไปสู่โรคไขมันพอกตับ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังมากขึ้นและนำไปสู่ภาวะตับแข็งในที่สุด ซึ่งมักจะเกิดกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป หรือเป็นโรคอ้วน, โรคเบาหวาน รวมถึงการมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเกินไป มีภาวะอ้วนลงพุง จนทำให้เกิดการสะสมของไขมันที่ตับ ซึ่งนำไปสู่ภาวะไขมันพอกตับที่ไม่ได้เกิดจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอ ฮอล์ ก็ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นโรคตับแข็งได้เช่นกัน

11. สูบบุหรี่เป็นประจำหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีควันบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำหรือผู้ที่ไม่ได้สูบบุหรี่แต่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีควันบุหรี่เป็นประจำ นอกจากจะส่งผลต่อปอดแล้วยังส่งผลตับได้อีกด้วย โดยสารนิโคตินที่มีสารอนุมูลอิสระปะปนอยู่จะทำให้ตับทำงานหนักขึ้นนั่นเอง รวมถึงการใช้สารเคมีในการฉีดพ่นต่าง ๆ ก็ส่งผลทำร้ายตับได้เช่นกัน เพราะฉะนั้น การฉีดพ่นสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงต่าง ๆ ควรสวมถุงมือและหน้ากากให้มิดชิดทุกครั้ง และทำความสะอาดร่างกายหลังฉีดพ่นเสมอ

12. การใช้เข็มฉีดยาซ้ำหรือร่วมกับผู้อื่น การใช้เข็มฉีดยาซ้ำหรือเข็มร่วมกับผู้อื่นทุกกรณี ส่งผลให้เกิดการติดต่อของโรคไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสตับอักเสบซี รวมถึงการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อไวรัสทั้ง 2 ชนิดนี้ ก็สามารถติดเชื้อได้เช่นกัน ซึ่ง นอกจากการใช้เข็มร่วมกันแล้ว การใช้อุปกรณ์ส่วนตัวร่วมกัน เช่น กรรไกรตัดเล็บ, แปรงสีฟัน หรือมีดโกน ก็อาจจะเกิดการติดเชื้อตับอักเสบเรื้อรัง, ตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด เพราะฉะนั้น ไม่ควรใช้เข็มฉีดยาหรือเข็มสักร่างกายร่วมกับผู้อื่น เพราะเชื้อไวรัสตับอักเสบสามารถติดต่อกันผ่านเลือดหรือของเหลวจากผู้ที่ติดเชื้อได้ และการมีเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อลดความเสี่ยงในการได้ติดเชื้อไวรัสต่าง ๆ ที่เป็นอันตรายต่อตับได้

13. ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันตับอักเสบ การได้รับวัคซีนป้องกันตับอักเสบ จะช่วยป้องกันไม่ให้ตับอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสได้ โดยเฉพาะเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นชนิดที่มีความรุนแรงมาก เพราะฉะนั้น ควรฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบตามคำแนะนำของแพทย์จะดีที่สุด

สารอาหารคุณภาพใน สาหร่ายเกลียวทอง ช่วยบำรุง ตับ

Spirulina

         สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สาหร่ายสไปรูลิน่า มีคุณสมบัติช่วย บำรุงตับ เพราะอุดมไปด้วยโปรตีน แร่ธาตุและวิตามินที่ดีต่อร่างกายมากมายหลายชนิดจึงช่วยให้ตับแข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เพราะในสาหร่ายเกลียวทองนั้นมีสารอาหารต่าง ๆ เช่น

1. มีโปรตีนคุณภาพสูง ในสาหร่ายเกลียวทองมีโปรตีนคุณภาพสูงถึง 70% และมีมากกว่าแหล่งโปรตีนจากเนื้อสัตว์และแหล่งโปรตีนอื่น ๆ และยังเป็นโปรตีนที่ปราศจากคอเรสเตอรอล และร่างกายย่อยง่าย โดยมีอัตราการย่อยถึง 95% ซึ่งมากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถึง 2 เท่า และยังมีโปรวิตามินที่เปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติหนึ่งเดียวของสาหร่ายเกลียวทองเท่านั้น จึงมีส่วนช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น

2. มีเอนไซม์มากกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งเอนไซม์เหล่านี้จะเป็นตัวช่วยย่อยอาหาร ทดแทนการขาดเอนไซม์จากเนื้อสัตว์ และยังมีเอนไซม์ซุปเปอร์ออกไซค์ดิสมิวเทส ซึ่งเป็นเอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง จึงทดแทนเอนไซม์จากเนื้อสัตว์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ โดยมีคุณสมบัติสร้างภูมิต้านทานและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค รวมถึงเอนไซม์บางชนิดที่มีในสาหร่ายเกลียวทองยังทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายได้อีกด้วย ช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยปกป้องตับไม่ให้ถูกทำลายได้

3. มีกรดอะมิโนที่จำเป็นและดีต่อร่างกาย 18 ชนิด กรดอะมิโนที่จำเป็นที่มีในสาหร่ายเกลียวทองมีครบถ้วนถึง 18 ชนิด และยังเป็นกรดอะมิโนที่เรียงตัวกันอย่างสมดุลและได้สัดส่วนอีกด้วย จึงช่วยให้ระบบการทำงานภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้ตับทำงานได้ดีขึ้น ช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกาย และช่วยควบคุมน้ำหนักได้ นอกจากนั้น ยังมีกรดแกมม่าไลโนเลนิก (GLA) ที่จำเป็นต่อร่างกายและเป็นตัวช่วยลดคอลเลสเตอรอลได้ถึง 170 เท่าของกรดไขมันที่มีในน้ำมันพืช จึงช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลและตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดี และยังมีเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการอีกหลายชนิด เช่น เหล็ก, แคลเซียม, แมกนีเซียม และโพแทสเซียม เป็นต้น

4. อุดมไปด้วยวิตามินที่ดีจำนวนมาก เช่น วิตามินบี1, วิตามินบี2, วิตามินบี3, วิตามินบี5, วิตามินบี6, วิตามินบี12 และโครเมียมที่เป็นตัวสร้างวิตามินบี12, วิตามินC, วิตามินH, เบต้าแคโรทีน, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แคลเซียม, แมกนีเซียม, โฟเลต, วิตามินดี และแคโรทีนอยด์ ที่ย่อยง่ายและดูดซึมง่าย จึงช่วยให้ตับไม่ทำงานหนักเกินไป

5. มีกลูตาไธโอนที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์และ DNA ที่สึกหรอให้แข็งแรงยิ่งขึ้น สารอาหารที่ดีในสาหร่ายเกลียวทองมีกลูตาไธโอนที่ช่วยให้ร่างกายเสื่อมสภาพได้ช้าลง โดยเอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ที่ถูกทำลายให้กลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยังมีเบต้าแคโรทีนและสารต้านอนุมูลอิสระระดับสูง จึงช่วยให้สุขภาพผิวพรรณแข็งแรง เปล่งปลั่ง สดใสอยู่เสมอ และช่วยให้ตับแข็งแรงขึ้น ทำงานได้ดีขึ้นด้วย

Did you know?

ข้อควรรู้ โรคตับ’ กับ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

       จากรายงานการศึกษาพบว่า 40% ของความพิการของตับนั้น มีสาเหตุมาจากยารักษาโรคที่ใช้อยู่เป็นประจำ เช่น ในรายงานผู้ป่วยด้านโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ที่ต้องใช้ยาความดันโลหิตเพื่อช่วยไม่ให้เกิดการอัมพาตของหัวใจ และช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตอยู่ได้นานขึ้น ซึ่งผู้ป่วยก็ต้องใช้ยาตลอดไป เพราะหยุดยาเมื่อไหร่ความดันก็ขึ้นเมื่อนั้นนั่นเอง การรักษา โรคตับอักเสบ ในปัจจุบัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงนิยมแนะนำให้ผู้ป่วยใช้วิธีพักผ่อนให้มากและเข้มงวดเรื่องอาหารการกินที่ให้ร่างกายได้สารอาหารครบถ้วน เช่น มีการเพิ่มอาหารที่มีโปรตีนและวิตามินสูง โดยสารอาหารโปรตีนที่ร่างกายต้องการก็คือ เมทไทโอนีน (Methionine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของโปรตีน กรดอะมิโนนอกจากจะเป็นสารอาหารสำคัญของโครงสร้างเซลล์ตับแล้ว ยังเป็นตัวป้องกันเซลล์ตับจากพิษของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อีกด้วย และเพราะในตับมีปฏิกิริยาทางเคมีที่ซับซ้อนมากมาย ดังนั้นตับจึงต้อง การวิตามินหลากหลายชนิดและปริมาณ เช่น วิตามินซี ซึ่งมีหน้าที่สำคัญในกระบวนการออกซิเดชั่นและรีดักชั่น และเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้าง ‘กลัยโคเจน’ อีกทั้งยังมีความสำคัญในการแข็งตัวของเลือดอีกด้วย

            สาหร่ายเกลียวทอง มีสารอาหารที่ช่วยดูแลได้ทั้ง โรคตับอักเสบเรื้อรัง และ โรคตับอักเสบรุนแรง นั่นเพราะในสาหร่ายเกลียวทองมีปริมาณโปรตีนที่มากถึง 70% โดยน้ำหนัก ยิ่งไปกว่านั้นอาหารทุกชนิดที่เรากินเข้าไปในแต่ละวันนั้นจะถูกดูดซึมโดยเซลล์ของทางเดินอาหาร ซึ่งสาหร่ายเกลียวทองก็มีอัตราการดูดซึมที่ดีเยี่ยมถึง 95% เลยทีเดียว ทั้งนี้เพราะสาหร่ายเกลียวทองเป็นสาหร่ายหลายเซลล์ที่มีผนังเซลล์บางและถูกดูดซึมได้ง่ายนั่นเอง ดังนั้น โรคตับอักเสบ จึงสามารถป้องกันได้โดยการป้องกันเซลล์ตับไม่ให้ถูกทำลายลง และ สาหร่ายเกลียวทอง มีทั้งโปรตีนคุณภาพสูงและวิตามินต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย จึงเหมาะที่จะเป็นอาหารเสริมเพื่อบำรุงรักษาตับให้แข็งแรง

         จากรายงานทางการแพทย์ ได้มีการให้สาหร่ายเกลียวทองให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบชนิด A จำนวน 4 คน โดยมี 2 คนเป็นโรคตับอักเสบชนิดรุนแรง อีก 2 คนเป็นโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรัง และยังมีผู้ป่วยโรคตับอักเสบ B อีกจำนวน 2 คน เป็นโรคตับอักเสบชนิดรุนแรง คนไข้รวมทั้งหมดจำนวน 6 คน และทุกคนได้รับสาหร่ายเกลียวทองชนิด 500 มิลลิกรัม มื้อละ 3 เม็ด วันละ 3 มื้อ รวมบริโภค 9 เม็ด/วัน หรือคิดเป็นวันละ 4,500 มิลลิกรัม นอกเหนือจากอาหารการกินที่ดีมีประโยชน์เพื่อให้ได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการ ควบคู่ไปกับการบร โภคสาหร่ายเกลียวทองตามสั่ง โดยที่ผู้ป่วยเหล่านี้ไม่ได้รับยาใด ๆ เลย ซึ่งผลการทดลองดังกล่าวปรากฏว่า การบำบัดผู้ป่วยด้วยสาหร่ายเกลียวทองนั้นทำให้ตับอักเสบฟื้นคืนอย่างรวดเร็ว โดยบางรายโรคตับอักเสบหายขาด และตับสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเดิม หรืออย่างน้อยก็สามารถกลับมาอยู่ในระดับปกติได้ ส่วนผู้ป้วยบางรายได้รับน้ำผักสดร่วมด้วยพร้อมกับได้รับสาหร่ายเกลียวทองวันละ 3,000-4,000 มิลลิกรัม ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้รับก็คือ สุขภาพดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดทั้งภายนอกและภายใน นั่นแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของ สาหร่ายเกลียวทอง ที่สามารถให้สารอาหารโปรตีนคุณภาพสูง และวิตามินที่มีคุณภาพสูงกับผู้ป่วยโรคตับได้

Tips

รู้ไว้ห่างไกลตับพัง

ไม่อ้วนไม่ใช่จะห่างไกลตับพัง เพราะถ้าร่างกายมีระดับน้ำตาลสูงก็มีโอกาสเกิดการสะสมไขมันในตับจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับได้ เพราะฉะนั้น ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และควบคุมอาหาร เพื่อควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์

รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายครบ 5 หมู่ โดยเลือกอาหารไขมันต่ำ มีกากใยสูง และให้พลังงานต่ำ

หลีกเลี่ยงการรับประทานยาที่ไม่จำเป็น และผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มากเกินไป เพราะอาจมีผลข้างเคียงต่อตับ ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด รวมถึงหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่

ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อหาภาวะตับอักเสบ, พังผืดในตับ, ไขมันพอกตับ และควรฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบด้วย

You may also like to read

Best-food-for-kids

สารอาหารจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัย 1-3 ปี

         ทำไมเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี จึงเป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะวัย 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงวัยของการเคลื่อนไหว

Read More »
Improve your sleep

ปรับสมดุลแห่งการนอนด้วย ‘นาฬิกาชีวภาพ’ และ ‘เมลาโทนิน’ สำหรับวัยทำงาน

        ‘วัยทำงาน’ เป็นช่วงวัยที่มีพลังเยอะ ทั้งยังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน วัยทำงานจึงทุ่มเทพลังกายใจให้กับการทำงานอย่างเต็มที่แม้จะอยู่นอกเวลางานแล้วก็ตาม

Read More »
Sleep-late-Wakeup-Early

‘นอนดึก-ตื่นเช้า’ แต่ยังสดชื่นอยู่เสมอ

        หลายคนต้องนอนดึกเพราะความจำเป็นจากหน้าที่การงาน หลายคนนอนดึกเพราะเกิดจากโรคนอนไม่หลับและโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้หลับๆ ตื่นๆ และอีกหลายคนต้องนอนดึกเพราะเกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่รอบ ๆ

Read More »
Spirulina-Help-Hangover

ตัวช่วยฟื้นฟูตับและลดอาการแฮงค์ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     คงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะบอกให้นักดื่มหรือคนที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั้งหลายให้ “เลิกดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ” เพราะความจริงทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าลด ละ เลิกได้ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่บรรยากาศของการดื่มสังสรรค์กับเพื่อน

Read More »
Take care Anemia with spirurila

เลือดจาง (Anemia) ดูแลได้ด้วย ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     “สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแลเอง” ประโยคนี้ตอบโจทย์ได้ครบครันเรื่องการดูแลสุขภาพ นั่นเพราะ “การมีสุขภาพดี” ไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลงมือทำ ยกเว้นเด็กๆ

Read More »

Leave a Reply