“โรคเบาหวาน” เป็นโรคที่เราคุ้นหูและคุ้นชื่อกันมายาวนาน เหมือนเป็นเพื่อนข้างบ้านเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นหนึ่งในโรคอันดับต้น ๆ ที่มีผู้ป่วยมากที่สุด ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก และโรคเบาหวานก็ไม่ได้เลือกเพศเลือกวัยด้วยนะ แต่จะเลือกคนที่ละเลยไม่ใส่ใจการรับประทานอาหารในชีวิตประจำวัน จนทำให้ “ร่างกายมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ” และ “ขาดฮอร์โมน ‘อินซูลิน’ หรือการทำงานของ ‘อินซูลิน’ เสื่อมลง” ทำให้ร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ในเลือดไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
แต่ทีนี้ การที่ร่างกายมีอินซูลินในปริมาณมากเกินไปก็ทำให้เกิดอันตรายได้เช่นกัน เพราะจะทำให้ปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลง ซึ่งหากปริมาณน้ำตาลในเลือดลดลงแม้เพียงเล็กน้อย จะเกิดปฏิกริยาต่าง ๆ ต่อร่างกายเราทันที เช่น หายใจติดขัด เหงื่อออกเต็มตัว เวียนศีรษะ หน้ามืด หรือแม้กระทั่งหมดสติ ทางการแพทย์จึงแบ่ง ‘โรคเบาหวาน’ ออกเป็น 2 ชนิดด้วยกันคือ ‘โรคเบาหวานชนิดที่ 1’ ที่เกิดจากร่างกายเราผลิตอินซูลินได้น้อยมากจนถึงผลิตไม่ได้เลย ชนิดนี้ในเด็ก ๆ ก็เป็นกันได้ ส่วน ‘โรคเบาหวานชนิดที่ 2’ หรือชนิด “ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน” เป็นชนิดที่มีผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากที่สุด โดยในประเทศไทยเรามีมากถึงร้อยละ 95 เลยทีเดียว คือตับอ่อนยังผลิตอินซูลินได้อยู่ แต่ไม่มากพอที่ร่างกายจะนำไปใช้ได้อย่างเพียงพอนั่นเอง และที่น่ากังวลสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวานก็คือ รักษาให้หายขาดยากต้องใช้ความอดทนในระหว่างทำการรักษา ส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคนี้จึงมีอาการเรื้อรัง สาเหตุสำคัญก็มาจากการที่คิดว่าตัวเองหายจากโรคแล้ว จึงละเลยการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัด ไม่นาน…โรคเบาหวานก็กลับเข้ามาทักทายอีกครั้ง และถ้าปล่อยเอาไว้ไม่ดูแลตัวเองและรักษาให้หายขาด ในระยะยาวจะทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ รวมถึงโรคเบาหวานขึ้นตา, เบาหวานลงไต, โรคหัวใจและหลอดเลือดตีบแข็ง และโรคอื่น ๆ อีกมากมาย
โรคเบาหวานเกิดจากอะไร?
สาเหตุหลักของการเกิด ‘โรคเบาหวาน’ ก็คือ การรับประทานอาหารตามใจปากอย่างไม่ถูกสุขลักษณะอยู่เป็นประจำ เช่น ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารหวานจัด มันจัด เค็มจัด และปล่อยให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป แถมยังไม่ออกกำลังกายอีกด้วย ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานทั้งนั้น ซึ่งสมัยก่อนจะเข้าใจกันว่า ‘โรคเบาหวาน’ เกิดจากการมีน้ำตาลในร่างกายมากเกินไปและมีอินซูลินน้อยเกินไป แต่ความจริงแล้วไม่ใช่แค่การขาดสมดุลระหว่างน้ำตาลกับอินซูลินเท่านั้นนะ เพราะอาหารแต่ละอย่างที่เรารับประทานเข้าไปในแต่ละวันนั้น ล้วนมีผลต่อน้ำตาลในเลือดทั้งสิ้น ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานได้ ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน, ไขมัน ที่สามารถแปรเป็นกลูโคสได้ด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานจะไม่ต้องการสารอาหารประเภทไขมันเลย เพราะฉะนั้น ใครไม่อยากเป็นโรคเบาหวาน หรือกำลังป่วยเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว “การรับประทานอาหารและการควบคุมปริมาณที่รับประทานจึงสำคัญมาก”
เช็คกันหน่อยไหม..ใครมีอาการโรคเบาหวานบ้าง?
อาการที่สังเกตได้ง่ายที่สุดเมื่อกำลังป่วยเป็นโรคเบาหวาน คือ ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง, มีน้ำตาลในปัสสาวะ ซึ่งนอกจากจะสังเกตตัวเองแล้ว อย่าลืมสังเกตและสอบถามคนใกล้ชิด คนในครอบครัว คนที่เรารักด้วยว่า ใครกำลังมีอาการเหล่านี้? นั่นเพราะเป็นอาการที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานทั้งสิ้น และถ้ารู้ว่ากำลังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานแล้ว ก็ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและวางแผนการรักษา รวมถึงแนวทางดูแลตัวเองให้ถูกต้องต่อไป ทีนี้มาดูกันสิว่า อาการต่าง ๆ เหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง
- ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ จำนวนปัสสาวะออกมามาก และเวลากลางคืนมักจะตื่นมาปัสสาวะบ่อยครั้ง
- รู้สึกหิวบ่อย แต่น้ำหนักลดลงแม้จะกินเยอะกว่าเดิม
- รู้สึกอ่อนเพลียแม้จะนอนหลับพักผ่อนเพียงพอ และไม่ได้ทำงานหนักออกแรงอะไร
- รู้สึกคอแห้ง ปากแห้ง กระหายน้ำมากคล้ายเพิ่งออกกำลังกายมา และมักจะดื่มน้ำคราวละมาก ๆ
- ถ้าเป็นแผล ๆ จะหายยาก หายช้า มีการติดเชื้อตามผิวหนังบ่อย ๆ และติดได้ง่ายขึ้น รวมถึงคันตามผิวหนัง
- มีอาการชาหรือรู้สึกเสียว ๆ บริเวณปลายมือ ปลายเท้าบ่อย ๆ
- สายตาเริ่มพร่ามัว มองไม่ค่อยชัด
- ในผู้หญิงจะมีการติดเชื้อราบริเวณช่องคลอด มีอาการคันผิดปกติ และเกิดตกขาวในปริมาณมาก
- ในผู้ชายจะมีปัญหาเรื่องหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
โรคเบาหวาน ควบคุมได้แค่หมั่นใส่ใจดูแลตัวเอง
การดูแลตัวเองให้ดีที่สุดในทุกด้าน เป็นปัจจัยพื้นฐานที่จะเป็นเกราะช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ให้กับเรา ซึ่งไม่ใช่แค่ โรคเบาหวาน เท่านั้น แต่ยังหมายถึงโรคอื่น ๆ อีกด้วย ทั้งด้านอาหารการกิน การพักผ่อนที่เพียงพอ การออกกำลังกาย การรักษาสมดุลของสุขภาพใจให้แจ่มใสอยู่เสมอ แต่การดูแลผู้ป่วยแต่ละโรคนั้นก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน มาดูกันสิว่า ถ้า โรคเบาหวาน เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเราหรือคนที่เรารักแล้ว นอกจากการพบแพทย์ตามนัด เราจะดูแลสุขภาพด้วยตัวเองที่บ้านอย่างไรบ้าง
- งดของหวาน, ขนมหวาน และผลไม้รสหวานจัดทุกชนิด เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ขนมใส่กะทิ ไอศกรีม เค้ก คุ้กกี้ เบเกอรี่ต่าง ๆ น้ำหวาน น้ำผลไม้ผสมน้ำตาล น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผลไม้รสหวานจัด เช่น ทุเรียน ละมุด น้อยหน่า ลำไย อ้อย ลิ้นจี่ รวมถึงพวกผลไม้เชื่อม แช่อิ่ม ดอง กวน อบน้ำผึ้ง ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
- งดอาหารทอด, อาหารมัน, อาหารรสเค็มจัด, อาหารหมักดอง, อาหารตากแห้งทุกชนิด เช่น อาหารชุบแป้งทอดทั้งหลาย ถั่วลิสงทอด ข้าวเกรียบและมันฝรั่งทอด เมล็ดมะม่วงหิมพานต์อบ กล้วยแขกทอด ปาท่องโก๋ แกงกะทิ อาหารบรรจุกระป๋องหรือบรรจุถุง เช่น เต้าเจี้ยว เต้าหู้ยี้ ผักดอง ปลาร้า เป็นต้น
- นมรสหวาน, นมเปรี้ยว, นมข้นหวาน รวมถึงนมปรุงแต่งรสต่าง ๆ นมถั่วเหลือง ยาคูลย์ ไมโลและโอวัลตินชนิด UHT เป็นต้น
กลุ่มอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้เป็น โรคเบาหวาน
- กลุ่มพืชผักผลไม้ เช่น ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักตระกูลถั่ว ผักกาด มะระ มะละกอ ฝรั่ง ส้มเขียวหวาน ส้มโอ ชมพู่ แอปเปิ้ล และผลไม้หวานน้อยที่มีกากใยมาก โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 3–4 ส่วนของอาหารที่รับประทาน
- กลุ่มนม แนะนำให้ดื่มนมสูตรที่ไม่ใส่น้ำตาลเลยแม้แต่น้อย เช่น นมรสจืด นมขาดมันเนย นมพร่องมันเนย นมถั่วเหลือง เป็นต้น โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 1–2 แก้วต่อวัน หรือไม่เกิน 250 ซีซี
- กลุ่มเนื้อสัตว์และไข่ เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลาที่ไม่ติดมันและไม่ติดหนังเลย โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันคือ 12 ช้อนโต๊ะ ส่วนไข่นั้น ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดไม่สูงสามารถรับประทานได้ทั้งฟอง และสูงสุดได้ 2–3 ฟองต่อวัน
- กลุ่มไขมัน แนะนำให้รับประทานอาหารที่ปรุงจากน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันข้าวโพด โดยปริมาณที่แนะนำคือ ไม่เกิน 6-7 ช้อนชาต่อวัน
- กลุ่มข้าว แป้ง และธัญพืช เช่น ข้าวกล้อง โดยปริมาณที่แนะนำคือ 8-9 ทัพพีต่อวัน นอกนั้นก็จะเป็นพวกขนมปังโฮลวีต ธัญพืชไม่ขัดสี และสาหร่ายเกลียวทอง หรือสาหร่ายสไปรูลิน่า เป็นต้น
ผู้ป่วยเบาหวานรับประทาน สาหร่ายเกลียวทอง “ได้” และ “ดีด้วย”
จุดประสงค์หลักในการรักษาโรคเบาหวานคือ การทำให้น้ำตาลในปัสสาวะหมดไป และค่าน้ำตาลในเลือดกลับมาเป็นปกติ รวมถึงผู้ป่วยยังมีพละกำลังในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ เหมือนผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรงทั่วไป ส่วนอาหารที่ผู้เป็นโรคเบาหวานควรรับประทานเป็นประจำก็คือ ธัญญาหารที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งและอาหารที่ปราศจากสารเคมี เช่น ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีท ลูกเดือย และผักผลไม้ปลอดสารพิษ เป็นต้น เพราะฉะนั้น การรับประทาน สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สาหร่ายสไปรูลิน่า พืชธรรมชาติที่มีสารอาหารคุณภาพที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วน มีเส้นใยสูง ช่วยขัดขวางการดูดซึมของน้ำตาลและไขมันได้ดี ซึ่งการรับประทานอาหารจากธรรมชาตินั้น มักจะให้ผลดีกว่าการรับประทานกลูโคสชนิดเม็ด เพราะนอกจากจะช่วยควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพโดยทั่วไปให้แข็งแรงอีกด้วย ดังนั้น สาหร่ายสไปรูลิน่า จึง เป็นอาหารที่มีคุณสมบัติที่ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานได้ และช่วยให้ร่างกายแข็งแรงด้วย เพราะอุดมไปด้วย …
- มีกรดไขมันแกรมมาไลโนเลนิก (GLA) กรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย ช่วยลดปริมาณคอเรสเตอรอลและตรีกลีเซอไรด์ในเลือดได้ดีมาก
- มีปริมาณน้ำตาลน้อยมาก ประมาณ 10% และส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำตาลแรมโนส จึงไม่รบกวนอินซูลินในการย่อย รวมถึงไม่มีคลอเรสเตอรอล และช่วยควบคุมระดับกลูโคสในเลือดให้ลดลงได้ และมีคลอโรฟิลล์สูงมาก
- มีสารอาหารที่ผู้ป่วยเบาหวานต้องการ เช่น เบต้าแคโรทีน, วิตามินเอ, บี1, บี2, บี3, บี5, บี6, บี12, วิตามินซี, วิตามินอี, วิตามินเอช, คลอไรด์, อินโนซิทอล, โครเมี่ยม, แมงกานีส, โปตัสเซียม, สังกะสี, โฟลิกแอซิดและนิโคตินิคแอซิด และมีโปรวิตามินเอ, เบต้าแคโรทีนถึง 20-25 เท่าที่มีในแครอท
- มีเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการหลายสิบชนิด เช่น เหล็ก, แคลเซียม, แมกนีเซียม และโพแทสเซียม มีกรดอะมิโนที่เรียงตัวกันอย่างสมดุลได้สัดส่วนมากถึง 18 ชนิด ช่วยให้ระบบการทำงานภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยรักษาสมดุลภายในร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนัก
- มีคุณสมบัติสร้างภูมิต้านทานและหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค ด้วยมีเอนไซม์ไม่ต่ำกว่า 2,000 ชนิด ซึ่งเป็นเอนไซม์สำคัญที่เข้าไปตัดวงจรไม่ให้เกิดโรค และเอนไซม์บางชนิดทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายได้ด้วย
- มีน้ำตาลเชิงซ้อนที่ช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่และสร้างสารเคมีที่ช่วยกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวทุกชนิดทำลายจุลินทรีย์และไวรัสได้เป็นอย่างดีและช่วยกระตุ้นเซลล์ตั้งต้นของกระดูกไขสันหลังให้ผลิตเม็ดเลือดขาวและเม็ดเลือดแดงได้มากขึ้น
- มีโปรตีนเข้มข้นคุณภาพสูงถึง 70 เปอร์เซนต์
- มีเอ็มไซม์ที่ดีที่ช่วยย่อยอาหารถึง 3 ชนิด คือเอ็มไซม์ย่อยแป้ง (Amylase) เอ็มไซม์ย่อยไขมัน (Lipase) และเอ็มไซม์ย่อยโปรตีน (Protease) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้ตับอ่อนไม่ทำงานหนักจนเกินไป
- ช่วยให้ร่างกายผลิตอินซูลินในการเผาผลาญน้ำตาลให้กลายเป็นพลังงานได้อย่างปกติและมีประสิทธิภาพและช่วยลดกรดแซน์โทโรนิคที่เป็นตัวทำลายตับอ่อน และมีโครเมียมที่ช่วยให้อินซูลินทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลกลูโคส จึงช่วยให้น้ำตาลในเลือดลดลง
เพราะฉะนั้นจึงมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยเบาหวานสามารถรับประทานสาหร่ายสไปรูลิน่าได้อย่างไร้ข้อกังวลใจ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกรับประทานสาหร่ายสไปรูลิน่าจากแหล่งเพาะเลี้ยงที่มีคุณภาพสูง มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัย และผ่านการรับรองระดับมาตรฐานสากล ทั้ง GMP, HACCP, ISO 22000 Version 2018, Kosher และ Halal และจาก “สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของประเทศไทย” จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่จะทำให้เราเชื่อมั่นได้ในคุณภาพที่ปลอดภัยต่อร่างกายเรา
การดูแลตนเองให้ดีที่สุดและถูกต้องตั้งแต่ต้นทางเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยลด ชะลอ และป้องกันการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ ซึ่งต้นทางที่ว่านั้นก็คือ การเลือก “การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย” นั่นเอง
(อ้างอิงข้อมูลบางส่วนเรื่องประโยชน์ของสาหร่ายเกลียวทองจากหนังสือ : ความลับของสาหร่ายเกลียวทอง ผลการรักษาโรคที่แพทย์ญี่ปุ่นค้นพบ และหนังสือ FOOD OF THE FUTURE (สาหร่ายอาหารอนาคต) เขียนโดย ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน)