เลือดจาง (Anemia) ดูแลได้ด้วย ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

Take care Anemia with spirurila

     สุขภาพดีไม่มีขาย ถ้าอยากได้ต้องดูแลเอง ประโยคนี้ตอบโจทย์ได้ครบครันเรื่องการดูแลสุขภาพ นั่นเพราะ การมีสุขภาพดี ไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ ตัวเราเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลงมือทำ ยกเว้นเด็กๆ และผู้สูงอายุในครอบครัวที่ต้องมีคนคอยดูแลใส่ใจ และ การดูแลสุขภาพนั้นสำคัญแค่ไหน ก็ต้องตอบว่า สำคัญมาก เพราะเมื่อร่างกายแข็งแรงแล้ว ก็จะทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข โรคภัยร้าย ๆ ก็จะเกิดขึ้นได้ยาก แต่ถ้าสุขภาพอ่อนแอเมื่อไหร่ สารพัดปัญหาสุขภาพมาเยือนทันที ซึ่งครั้งนี้เราก็จะพูดกันถึงโรคภาวะเลือดจาง หรือ ภาวะโลหิตจาง ซึ่งสาเหตุหลักก็มาจากสุขภาพที่ไม่แข็งแรงนั่นเอง ส่วนสาเหตุโดยละเอียด แนวทางการป้องกัน, การดูแลตัวเองถ้าเกิดภาวะเลือดจาง และเมนูอาหารที่จะช่วยบำรุงเลือดนั้นเป็นอย่างไรบ้างเรามาดูกัน

ภาวะเลือดจาง หรือ ภาวะโลหิตจาง คืออะไร?

      เลือดจาง หรือ โลหิตจาง (Anemia) หรือบางคนเรียกว่า ภาวะซีด เป็นภาวะที่ปริมาณเม็ดเลือดแดงในเลือดมีน้อยกว่าปกติ ทำให้ความสามารถในการผลิตออกซิเจนน้อยกว่าปกติ ทำให้การนำออกเซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อในอวัยวะต่างๆ ลดน้อยลงไปด้วย ทำให้ร่างกายมีอาการผิดปกติหลายอย่าง เช่น ผิวซีดหรือผิวเหลือง อ่อนเพลียง่าย เหนื่อยล้าง่าย หน้ามืด ใจสั่น ซึ่งแต่ละคนก็จะแสดงอาการมากน้อยแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับเม็ดเลือดแดงในร่างกายและความสามารถในการปรับตัวต่อภาวะเลือดจางของแต่ละคน ถามว่าภาวะเลือดจางนี้เป็นอันตรายหรือไม่อย่างไร? ก็ต้องขอตอบว่า ถ้าไม่ได้รับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการดูแลตัวเองอย่างเคร่งครัดก็อาจจะทำเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น มีอาการเหนื่อยง่ายมาก ทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้น้อยลง, ออกกำลังกายได้น้อยลง นั่นเพราะการทำงานของสมองและหัวใจมีปัญหา หัวใจต้องออกแรงสูบฉีดมากเป็นพิเศษ เพื่อให้ร่างกายได้รับออกเซิเจนในเลือดมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ และในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อาจจะมีภาวะแทรกซ้อนได้ ทำให้มีต้องคลอดก่อนกำหนดหรือบุตรเป็นโรคเลือดจางมีน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ เป็นต้น

เปิด 3 ต้นเหตุโรค ภาวะเลือดจาง

            ต้นเหตุของการเกิดโรค ภาวะเลือดจาง นั้นมาจากสาเหตุใหญ่ๆ 3 ข้อด้วยกัน ทั้งจากการที่ร่างกายสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง, จากการที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายง่ายกว่าปกติ และจากการสูญเสียเลือดฉับพลัน ทีนี้เรามาดูกันว่าในแต่ละข้อนั้นจะมีรายละเอียดที่สำคัญน่ารู้อย่างไรบ้าง           

1เกิดจากการสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง
สาเหตุเกิดจากการที่ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลง เนื่องจากร่างกายขาด ธาตุเหล็ก กรดโฟลิค และวิตามินบี 12 โดยปกติแล้วไขกระดูกของคนเราต้องใช้ธาตุเหล็กในการสร้างเม็ดเลือดแดง เพราะฉะนั้น ถ้าร่างกายขาดธาตุเหล็กไปก็จะทำให้ปริมาณของเม็ดเลือดแดงที่สร้างได้น้อยลงไปด้วย ซึ่งจะทำให้ประจำเดือนออกจากร่างกายมากกว่าปกติ, ผู้ที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้จะถ่ายอุจจาระปนเลือดออกมาด้วย นอกจากนี้ ยังเกิดจากโรคเรื้อรังบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างเม็ดเลือดแดงได้ เช่น โรคในไขกระดูกต่างๆ เช่น ภาวะไขกระดูกฝ่อ, มะเร็งในไขกระดูก หรือมะเร็งลิวคีเมีย, การรับประทานยาบางชนิดที่ไปกดการทำงานของไขกระดูก, โรคข้ออักเสบ, รูมาตอยด์, โรคไตวายเรื้อรัง, โรค HIV และโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น และภาวะเลือดจางนี้ยังเกิดได้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงอายุครรภ์ 6 เดือนแรกเนื่องจากร่างกายขาดสารอาหารประเภทธาตุเหล็กและกรดโฟลิค และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในเลือดของคุณแม่นั่นเอง

Anemia-Sign

2 เกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายง่ายกว่าปกติ สาเหตุต่อมาเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงในร่างกายถูกทำลายง่ายกว่าปกติ ซึ่งที่พบบ่อยๆ ในประเทศไทยคือ โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemias) ซึ่งเป็นโรคที่ถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรม ผู้ป่วยจะมีเม็ดเลือดแดงที่เปราะบางและแตกง่ายกว่าปกติ ตัวซีดลง เหลืองขึ้น ตาเหลือง หรือมีอาการดีซ่านร่วมด้วย มีอาการเหนื่อยง่าย อาจจะมีตับหรือม้ามโตร่วมด้วย ซึ่งถ้าผู้ป่วยที่เป็นแค่พาหะของธาลัสซีเมียที่มีความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดงน้อยลง และขนาดของเม็ดเลือดแดงเล็กลง ก็อาจจะไม่ได้อาการแสดงเหล่านี้ออกมา นอกจากนั้นก็จะเกิดจาก รูปร่างเม็ดเลือดแดงผิดปกติ (Sickle Cell Anemia) การติดเชื้อบางชนิด เช่น มาลาเรีย, คลอสติเดียม, มัยโค และพลาสมา เป็นต้น และในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ก็จะส่งผลกระทบต่อลูกในท้องได้ เป็นผลมาจากการติดเชื้อ หรือโรคในกลุ่มที่เป็นสาเหตุให้เม็ดเลือดแดงแตกง่ายกว่าปกติ ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง หรืออาการดีซ่าน ร่วมด้วย เช่น

3 เกิดจากการสูญเสียเลือดฉับพลัน  การสูญเสียเลือดฉับพลันก็มาจากสาเหตุต่างๆ เช่น การตกเลือด, เกิดอุบัติเหตุ, ผ่าตัด, การคลอดบุตร หรือค่อยๆ เสียเลือดเรื้อรัง เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยที่เสียเลือดเรื้อรัง เช่น ผู้หญิงที่เสียเลือดจากประจำเดือน, โรคริดสีดวงทวาร, มีเลือดออกจากทางเดินอาหารครั้งละน้อยๆ เป็นเวลานานไม่ว่าจะเป็นจากโรคมเร็งลำไส้ใหญ่ หรือแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น การเสียเลือดในทางเดินอาหารของผู้ชายและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาการเหล่านี้จะทำให้ร่างกายขาดธาตุเหล็กตามไปด้วยนั่นเอง

ข้อมูลน่ารู้ ภาวะเลือดจางเพราะขาด 3 สารอาหารสำคัญนี้

        สารอาหาร 3 ชนิดที่มีผลทำให้ร่างกายเกิด ภาวะเลือดจาง ก็คือ ธาตุเหล็ก, กรดโฟลิค และวิตามินบี 12 เรามาดูข้อมูลดีๆ กันว่าทำไมการขาด 3 สารอาหารนี้ถึงสำคัญต่อการเกิดภาวะเลือดจาง

            1. เลือดจางจากการขาดธาตุเหล็ก  อาหารที่อุดมไปด้วยธาตุเหล็กมีทั้งในเนื้อสัตว์และผัก โดยร่างกายคนเรานั้นสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจากเนื้อสัตว์, สัตว์ปีก และอาหารทะเลได้ดีกว่าจากพืช, ผัก, ไข่, นม และถั่ว ซึ่งธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ถ้าร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้การผลิตฮีโมโกลบินได้น้อยลง ส่งผลต่อการลำเลียงออกซิเจนจากปอดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายนั่นเอง

      2. เลือดจางจากการขาดกรดโฟลิค  อาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิคนั้นมีหลายชนิด เช่น ตับ, ข้าวกล้อง, ผักโขม, หน่อไม้ฝรั่ง, คะน้า, บร็อคโครี่, ผักกาดหอม, กะหล่ำปลี, กะหล่ำดอก, กระเจี๊ยบเขียว, ถั่วเขียว และถั่วลันเตา เป็นต้น และยังพบได้ในผลไม้สด รวมถึงเนื้อวัว, ปลาแซลมอน, ไข่, นม, โยเกิร์ต, ชีส, มันฝรั่ง, ขนมปัง และข้าวโอ๊ต เป็นต้น และการปรุงอาหารที่มีกรดโฟลิคนั้นไม่ควรทำให้สุกมากจนเกินไป เพราะความร้อนจะทำให้เสียคุณค่าทางโภชนาการ และถ้าใครขาดวิตามินบี 12 อยู่แล้ว ก็จะยิ่งทำให้ร่างกายดูดซึมกรดโฟลิคไปใช้ได้ไม่เต็มที่ โดยกรดโฟลิคนั้นเป็นสารอาหารจำเป็นต่อการสร้างเซลล์ต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดแดง แต่ในขณะเดียวกันร่างกายคนเราไม่สามารถกักเก็บกรดโฟลิคไว้ได้มาก จึงจำเป็นต้องได้รับอาหารที่มีกรดโฟลิคอย่างเพียงพอนั่นเอง

        3. เลือดจางจากการขาดวิตามินบี12  อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี12 ก็เช่น เนื้อสัตว์, ปลา, ไข่, ตับ และนม เป็นต้น โดยวิตามินบี12 นั้นเป็นสารอาหารอีกหนึ่งชนิดที่จำเป็นต่อการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงของร่างกาย และนอกจากการขาดวิตามินบี12 จะทำให้เป็นโรคเลือดจางแล้ว ยังเสี่ยงต่อการเป็นโรค โลหิตจางชนิดร้ายแรง (Pernicious Anemia) หรือเกิดความเสียหายต่อเส้นประสาท และยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจอีกด้วย เพราะฉะนั้น เราจึงจำเป็นต้องรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 12 เป็นประจำ

        อย่างไรก็ตาม การบริโภคอาหารต่าง ๆ นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับอายุ, เพศ, กิจกรรมที่ทำในชีวิตประจำวัน และปัญหาด้านสุขภาพของแต่ละคนด้วย ซึ่งการบริโภคอาหารเพียงอย่างเดียวอาจจะไม่ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดจางได้ เพราะฉะนั้น ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอ และมีวินัยในการดูแลตัวเอง จะทำให้ห่างไกลจากโรคเลือดจางและสุขภาพด้านอื่น ๆ ก็จะดีขึ้นตามไปด้วย

9

อาการเสี่ยงเป็นโรคเลือดจาง เช็คด่วน!!

1. เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่ายกว่าปกติ
2. ผิวซีด ผิวเหลือง ตาเหลือง เยื่อบุตาเหลือง ริมฝีปากซีดอย่างเห็นได้ชัด
3. เบื่ออาหาร
4. มีอาการเวียนศรีษะ มึนงง
5. อารมณ์แปรปรวนง่าย หงุดหงิดง่าย
6. หายใจลำบากขณะกำลังออกแรง
7. มีอาการเจ็บหน้าอก รู้สึกใจสั่น
8. เป็นลม หมดสติ
9. ถ้ามีอาการรุนแรงอาจทำให้หัวใจล้มเหลว และถ้ามีอาการเรื้อรังตรงมุมปากจะเปื่อย,
     เล็บอ่อนแอและแบน หรือเล็บเงยขึ้นและมีแอ่งตรงกลางคล้ายช้อน

4 กลุ่มเสี่ยงโรค ภาวะเลือดจาง

กลุ่ม 1 ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เพราะเป็นกลุ่มที่มีการสูญเสียประจำเดือนเป็นประจำทุกเดือน ซึ่งเสี่ยงต่อการที่ร่างกายจะขาดธาตุเหล็กได้นั่นเอง

กลุ่ม 2 หญิงตั้งครรภ์  ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์จะมีปริมาตรน้ำเหลืองต่อเม็ดเลือดแดงที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดเลือดจางได้

กลุ่ม 3 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง และผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง โดยการเกิด 2 โรคนี้จะส่งผลต่อการทำงานของไขกระดูก ทำให้ไขกระดูกสร้างเม็ดเลือดแดงได้น้อยลงนั่นเอง

กลุ่ม 4 ผู้ป่วยสูงอายุ  นั่นเพราะผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้น จะมีภาวะไขกระดูกฝ่อ และไขกระดูกทำงานได้น้อยลง

บำรุงร่างกายจาก ภาวะเลือดจาง ด้วยสารอาหาร ธาตุเหล็ก

Iron

   ‘ธาตุเหล็ก นั้นสำคัญต่อการสร้างเม็ดเลือดแดง และช่วยบำรุงเลือดในร่างกาย ซึ่งก็มีอยู่ในอาหารที่เราบริโภคในชีวิตประจำวัน แต่จะมีในอาหารชนิดไหนบ้าง เราไปดูกันอีกที

1. เนื้อสัตว์  เช่น เนื้อวัว, เนื้อหมู, เนื้อไก่ รวมถึงเนื้อสัตว์ปีกทุกชนิด ซึ่งอาหารเหล่านี้ล้วนอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อแดงจะมีธาตุเหล็กสูงและนักโภชนาการแนะนำว่าถ้าบริโภคเนื้อสัตว์ร่วมกับผักใบเขียวจะทำให้ร่างกายดูดซึมธาตุเหล็กได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

2. ไข่  ในไข่นั้นนอกจากจะมีสารอาหารหลักอย่างโปรตีนแล้ว ยังมีธาตุเหล็กที่ช่วยในการบำรุงเลือดอีกด้วย โดยเฉพาะในไข่แดงจะมีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่ขาว นอกจากนั้นก็ยังมีสารอาหารที่ดีอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายอีกด้วย

3. ตับ  นอกจากจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็กแล้ว ในตับยังมีกรดโฟลิคอีกด้วย ซึ่งนอกจากตับแล้ว อวัยวะส่วนอื่น ๆ ของสัตว์เช่น เครื่องใน, หัวใจ, ตับ, ไต และลิ้นวัวก็มีธาตุเหล็กสูงด้วยเช่นกัน ข้อควรระวังสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ การบริโภคตับเพื่อเสริมธาตุเหล็กอาจจะส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนดีที่สุด

4. อาหารทะเล อาหารทะเลหลายชนิดล้วนอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก โดยเฉพาะกุ้ง, หอยนางรม, หอยแครง, หอยเชลล์, หอยตลับ, ปลาหมึก, ปู และหอยลาย นอกจากนั้นก็มีปลาตาเดียว, ปลาแซลมอน, ปลาทูน่า และปลาซาดีน แต่อาหารทะเลนั้นเต็มไปด้วยแคลอรี่สูงและมีคอเลสเตอรอลในปริมาณมาก เพราะฉะนั้น ควรบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะ

5. ผักใบเขียว ผักใบเขียวนั้นอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ยิ่งผักที่มีสีเขียวเข้มยิ่งมีธาตุเหล็กสูง เช่น คะน้า, ผักโขม, บร็อคโคลี่, ผักบุ้ง, หน่อไม้ฝรั่ง, ผักกูด, ผักแว่น, พริกหวาน, ใบกะเพรา, ใบแมงลัก, เห็ดฟาง, ถั่วฟักยาว และผักปวยเล้ง เป็นต้น และถ้าบริโภคร่วมกับผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เช่น มะนาว, ส้ม, สตรอว์เบอร์รี่, องุ่น, มะละกอ, ฝรั่ง และพริกหยวก เป็นต้น ก็จะทำให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้ดียิ่งขึ้น

6. พริก กระเทียม และขมิ้น หลายคนอาจจะไม่รู้ว่า พริก, กระเทียม และขมิ้นนั้นมีสารอาหารที่ชื่อธาตุเหล็กอยู่ด้วย และมีส่วนช่วยทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติอีกด้วย

7. ธัญพืชต่างๆ  ธัญพืชนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน, ไฟเบอร์, วิตามินบี, สารต้านอนุมูลอิสระ, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, ทองแดง และแมกนีเซียม ซึ่งธัญพืชนั้นก็เช่น ถั่วแดง, ถั่วเหลือง, ถั่วดำ, ถั่วลิงสง, ถั่วลันเตา, อัลมอนด์, ถั่วพิสตาชิโอ, ถั่วชิกพีหรือถั่วลูกไก่, เฮเซลนัต, แมคคาเดเมีย, เมล็ดทานตะวัน, เมล็ดฟักทอง, เม็ดมะม่วงหิมพานต์, ลูกเดือย และงา เป็นต้น รวมไปถึงข้าวโอ๊ต และจมูกข้าวสาลี ก็อุดมไปด้วยโปรตีนและธาตุเหล็ก

8. ข้าวเสริมธาตุเหล็ก ข้าวบางสายพันธุ์ เช่น ข้าวหอมนิล และข้าวขาวสายพันธุ์ 313 นอกจากจะมีคาร์โบไฮเดรตสูงแล้ว ยังมีธาตุเหล็ก, กรดโฟลิค และคลอโรฟิลล์อีกด้วย ซึ่งเป็นสารที่มีโมเลกุลคล้ายกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเสริมธาตุเหล็กให้กับร่างกาย

9. อาหารอื่นๆ ในอาหารชนิดอื่นๆ ก็มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบด้วยเช่นกัน เช่น ผลไม้อบแห้งอย่างลูกเกดและลูกพรุน, ซีเรียล, ขนมปังโฮลเกรน, โกโก้, ดาร์กช็อกโกแลต, เชอร์รี่ในน้ำเชื่อม และผงกะหรี่ เป็นต้น

ข้อควรระวัง  ผู้ป่วยโรคเลือดจางที่ไม่มีโรคเรื้อรังอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง และโรคไต ควรรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น เนื้อสัตว์, ตับวัว, ตับหมู, เลือดหมู, ไตหมู, ไข่, นม, ตำลึง, กะหล่ำปลี, ผักโขม, มะเขือเทศ, กวางตุ้ง และใบชะพลู และควรบริโภคร่วมกับผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง เพราะจะช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กได้มากขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นโรคเลือดจางจากโรคธาลัสซีเมีย ควรเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพราะจะทำให้ร่างกายดูดซึมและสะสมธาตุเหล็กมากเกินความจำเป็น ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ ควรควรเลือกบริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูงแทนจะดีที่สุด

สาหร่ายเกลียวทอง มีสารอาหารบำรุงเลือดคุณภาพสูง

       ใน สาหร่ายเกลียวทอง นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารมากมายหลายชนิด และแต่ละชนิดก็ล้วนมีคุณภาพสูง เหมาะกับทุกเพศ ทุกวัย จึงถูกยกให้เป็น อาหารที่ดีที่สุดแห่งโลกอนาคต ซึ่งผู้ที่ดูแลสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศต่างไว้วางใจให้ สาหร่ายเกลียวทอง หรือ สไปรูลิน่า นั้น เป็นหนึ่งในตัวช่วยของการดูแลสุขภาพ และสารอาหารที่ดีต่าง ๆ ที่มีในสาหร่ายเกลียวทองนั้น ยังดีต่อผู้ที่มีภาวะเลือดจาง หรือโลหิตจางอีกด้วย นั่นเพราอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก, โฟลิค และวิตามินบี 12 และยังมีวิตามินซีสูง ที่ช่วยให้การดูดซึมธาตุเหล็กในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย และยังมีเบต้าแคโรทีนและสารต้านอนุมูลอิสระ มีวิตามินบี เช่น B1, B2, B3, B12 และวิตามินอื่นๆ เช่น วิตามิน E, วิตามิน H ที่มีคุณสมบัติ antioxidant จึงช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด กระตุ้นการสร้างเซลล์ไฟโบรบลาสต์ (Fibroblast) และกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ นอกจากนั้นยังมีคลอโรฟิลล์สูง ที่สา มารถดูดซึมในกระแสเลือดได้ดี จึงช่วยให้ร่างกายดูดซับน้ำ

Spirulina

จากส่วนต่างๆได้มากขึ้นในการสร้างสมดุลในกระแสเลือด และมีเอนไซม์กว่า 2,000 ชนิด ที่ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น แข็งแรงขึ้น และต้านทานโรคได้ดีขึ้น และยังช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเอนไซม์บางชนิดยังทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำ ลายได้อีกด้วย
            นอกจากนั้น สารอาหารใน สาหร่ายเกลียวทอง ยังมีคุณสมบัติในการ ดูแลเม็ดเลือดแดงและช่วยให้การทำงานของเม็ดเลือดแดงเป็นปกติ เพราะมีโปรตีนเข้มข้นคุณภาพสูงถึง 70% และเป็นโปรตีนที่ปราศจากคอเลสเตอรอล เป็นหนึ่งในอาหารจากพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มี โปรตีนสมบูรณ์แบบ ซึ่งหมายความว่า มีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิดที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้แต่ไม่สามารถผลิตเองได้ และอุดมไปด้วย กรดอะมิโน ที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายอย่างครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นไอโซลิวซีน (Isoleucine), ลิวซีน (Leucine), ไลซีน (Lysine), เมทไทโอนีน (Methionine) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine), เทรีโอนีน (Threonoine), ทริปโตเฟน (Tryptophan), วาลีน (Valine) สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) และ โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่มีส่วนช่วยในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกาย จึงทำให้ร่างกายแข็งแรง ในคุณสมบัติของการบำรุงเลือดยังมีอีกมากมาย เช่น         

1. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดในร่างกาย โดยเฉพาะการสร้างเม็ดเลือดแดง จึงช่วยกระตุ้นอวัยวะที่ช่วยสร้างเลือดคล้ายกับธาตุเหล็ก

2. ช่วยบำรุงเลือด และมีส่วนช่วยการสร้างเม็ดเลือดใหม่ให้กับร่างกาย และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย

3. ช่วยควบคุมปริมาณและความหนาแน่นของเม็ดเลือดแดง จึงช่วยลดอาการของโรคเลือดจางได้

4. คลอโรฟิลล์ที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากที่อยู่ในสาหร่ายเกลียวทอง จะช่วยให้การทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น เพราะมีระยะคลายตัวได้นานขึ้น

5. ช่วยคลายความเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย และเร่งประสิทธิภาพการทำงานของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย

6. ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เป็นปกติขึ้น เพราะมีสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นการบีบรูดของลำไส้ 

7. ช่วยให้การบีบรัดของกล้ามเนื้อมดลูกแรงขึ้น ซึ่งเป็นผลดีต่อคุณแม่ในการคลอดบุตร

8. ช่วยส่งเสริมการงอกใหม่ของเซลล์ต่าง ๆ ของร่างกาย

9. ช่วยดูดความชื้น ทำให้แผลแห้งเร็ว และช่วยให้แผลเปื่อยในกระเพาะอาหารและการอักเสบของทางเดินอาหารดีขึ้น

Did you know?

อาหารกลุ่มไหนที่รบกวนการดูดซึมธาตุเหล็ก

          กลุ่มอาหารที่ไปรบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อร่างกาย ที่ควรระมัดระวังในการบริโภค หรือถ้าไม่แน่ใจก็ควรตรวจร่างกายและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะปลอดภัยที่สุด ซึ่งอาหารกลุ่มดังกล่าวก็มี อาหารที่มี ‘กรดออกซาลิก’ (Oxalic Acid) เช่น ช็อกโกแลต, ถั่วลิสง, ผักชีฝรั่ง/ อาหารที่มี ‘แทนนิน’ (Tannins) เช่น องุ่น, ข้าวโพด, ข้าวฟ่าง, ขี้เหล็ก, กระถิน, ถั่วเหลือง, ข้าวที่ไม่ขัดสี เป็นต้น/ อาหารที่มี ‘ไฟเตต’ (Phytates) หรือ ‘กรดไฟติก’ (Phytic Acid) เช่น ข้าวกล้อง และผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลี/ อาหารที่มี ‘โพลีฟีนอล’ พบในผักใบเขียวเข้ม, ขมิ้นชัน และสมุนไพรอีกหลายชนิด/ อาหารกลุ่ม ชา, กาแฟ, นม, ชีส และผลิตภัณฑ์จากนมบางชนิด และไม่ควรดื่มชาหรือกาแฟพร้อมมื้ออาหารหรือหลังมื้ออาหารทันที

You may also like to read

Best-food-for-kids

สารอาหารจำเป็นสำหรับลูกน้อยวัย 1-3 ปี

         ทำไมเด็กในช่วงวัย 1-3 ปี จึงเป็นช่วงวัยสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่จะต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ นั่นเพราะวัย 1-3 ปี เป็นช่วงเวลาที่สมองกำลังเจริญเติบโตและพัฒนาอย่างรวดเร็ว เป็นช่วงวัยของการเคลื่อนไหว

Read More »
Improve your sleep

ปรับสมดุลแห่งการนอนด้วย ‘นาฬิกาชีวภาพ’ และ ‘เมลาโทนิน’ สำหรับวัยทำงาน

        ‘วัยทำงาน’ เป็นช่วงวัยที่มีพลังเยอะ ทั้งยังสนุกกับการทำงาน สนุกกับการสร้างสรรค์ไอเดียใหม่ๆ และมุ่งมั่นที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน วัยทำงานจึงทุ่มเทพลังกายใจให้กับการทำงานอย่างเต็มที่แม้จะอยู่นอกเวลางานแล้วก็ตาม

Read More »
Sleep-late-Wakeup-Early

‘นอนดึก-ตื่นเช้า’ แต่ยังสดชื่นอยู่เสมอ

        หลายคนต้องนอนดึกเพราะความจำเป็นจากหน้าที่การงาน หลายคนนอนดึกเพราะเกิดจากโรคนอนไม่หลับและโรคประจำตัวอื่นๆ ซึ่งอาจทำให้หลับๆ ตื่นๆ และอีกหลายคนต้องนอนดึกเพราะเกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่รอบ ๆ

Read More »
Spirulina-Help-Hangover

ตัวช่วยฟื้นฟูตับและลดอาการแฮงค์ ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

     คงไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จะบอกให้นักดื่มหรือคนที่ชื่นชอบเครื่องดื่มแอลกฮอล์ทั้งหลายให้ “เลิกดื่มเพื่อสุขภาพที่ดีกันเถอะ” เพราะความจริงทุกคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า ถ้าลด ละ เลิกได้ก็ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างแน่นอน แต่บรรยากาศของการดื่มสังสรรค์กับเพื่อน

Read More »
Take-care-of-your-eyes

บำรุงสายตาด้วยสารอาหารที่ดีที่สุดใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’

       ถ้าจะบอกว่า ‘ดวงตา’ เป็นกระจกสะท้อนสุขภาพกายและใจของคนเราก็คงไม่เกินไปนัก เพราะไม่ว่าเรา จะมี ‘ความสุข’ หรือ

Read More »

Leave a Reply