ถ้าจะบอกว่า ‘ดวงตา’ เป็นกระจกสะท้อนสุขภาพกายและใจของคนเราก็คงไม่เกินไปนัก เพราะไม่ว่าเรา จะมี ‘ความสุข’ หรือ ‘ความทุกข์’ มี ‘สุขภาพดี’ หรือ ‘สุขภาพที่ย่ำแย่’ ก็มักจะสะท้อนออกมาทางดวงตาได้ เสมอ ผู้ที่มีความสุข มีสุขภาพกายและใจดี ดวงตาก็จะสดใส สดชื่น เปล่งประกายแวววาว ตรงกันข้าม ถ้าใครกำลังมีปัญหาสุขภาพกายใจ ดวงตาก็จะแสดงออกถึงความเหนื่อยล้า แห้งผาก หม่นหมองไปด้วย และ ‘ดวงตา’ ก็เป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญมาก เพราะช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวในชีวิตประจำวัน สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างสะดวก แต่ถ้าเราปล่อยปละละเลยไม่ดูแลไม่ถนอมดวงตาแล้วละก็ จะส่งผลต่อการมองเห็นได้โดยเฉพาะในสังคมก้มหน้ายุคดิจิทัลนี้ ที่คนส่วนใหญ่มักจะอยู่กับหน้าจอแทบตลอดเวลาและเป็นเวลานาน ๆ ทั้งจอคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต สมาร์ทโฟน เรามาดูกันดีกว่าว่า ปัญหาโรคเกี่ยวกับดวงตาจะมีอะไรบ้าง แล้วเราจะมีวิธีปกป้องดูแลและถนอมดวงตาของเราให้มีสุขภาพแข็งแรง เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนไปนาน ๆ ได้อย่างไร?
ระวัง! 8 โรคร้ายทำลายดวงตา
วิถีชีวิตยุคใหม่ที่คนส่วนใหญ่มักจะใช้เวลาอยู่กับหน้าจอวันละหลาย ๆ ชั่วโมงและติดต่อกันเป็นเวลานานแบบนี้ แน่นอนว่าจะต้องใช้สายตาหนักขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ บางคนใช้เวลากับหน้าจอมากกว่า 8 – 10 ชั่วโมงต่อวันเลยทีเดียว ทั้งจากการทำงาน เล่นเกม ช้อปปิ้งออนไลน์ หรือสไลด์ดูชีวิตชาวบ้านเพลิน ๆ ไปเรื่อย ๆ และเชื่อว่าหลายคนยังสไลด์หน้าจอกันบนที่นอนจนกระทั่งหลับไปเลยทีเดียว ซึ่งกิจวัตรเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ดวงตาเกิดความผิดปกติได้ในระยะยาว และอาจจะส่งผลให้เกิดโรคร้ายเกี่ยวกับดวงตาได้ด้วย ส่วนจะมีโรคอะไรบ้างมาเช็คกัน
1 โรคตาแห้ง (Dry Eyes)
กลุ่มที่พบมากที่สุด จะพบบ่อยในกลุ่มคนวัยทำงานและในกลุ่มผู้สูงอายุ
อาการ รู้สึกระคายเคืองตา เหมือนมีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในตา รู้สึกไม่สบายตา แสบตาหรือน้ำตาไหลออกมามาก ถ้าปล่อยเอาไว้โดยไม่ได้รักษากับจักษุแพทย์ อาจจะทำให้การมองเห็นมัวลง เกิดการอักเสบของเยื่อบุตาหรือกระจกตาได้
สาเหตุ เกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น การทำงานผิดปกติของต่อมไขมันที่เปลือกตา (Meibomian Gland Dysfunction), การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน, มีโรคประจำตัวบางอย่างและรับประทานยาบางชนิด, จ้องหน้า จอคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์เป็นเวลานาน ๆ และใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น
2 โรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย (Age – Related Macular Degeneration: AMD)
กลุ่มที่พบมากที่สุด จะพบมากในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
อาการ ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ค่อยชัด เห็นสีที่ผิดเพี้ยน เห็นภาพบิดเบี้ยว มีจุดดำหรือเงาตรงกลางภาพ แพ้แสง มองในที่สว่างไม่ค่อยชัด และมีความรุนแรงถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งถ้าใครเป็นโรคนี้ต้องรีบเข้ารักษากับจักษุแพทย์โดยด่วน และในปัจจุบันนี้ ยังไม่มีวิธีรักษาจอประสาทตาเสื่อมให้หายขาดได้ มีแค่วิธีป้องกันและดูแลดวงตาให้ดีที่สุดเท่านั้น เช่น รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและอาหารที่ช่วยบำรุงดวงตา, หลีกเลี่ยงแสวแดดจ้า, ออกกำลังกายเป็นประจำ, ควบคุมน้ำหนัก และงดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
สาเหตุ เกิดจากจุดรับภาพบริเวณกลางจอประสาทตาเสื่อม ซึ่งมักจะเป็นไปตามวัยที่มากขึ้น
3 โรคต้อหิน (Glaucoma)
กลุ่มที่พบมากที่สุด โรคต้อหินเฉียบพลันพบบ่อยในคนเอเชีย ซึ่งในปัจจุบันจะพบในกลุ่มคนอายุน้อยลงมากขึ้น เช่นตั้งแต่อายุ 30 ปี เป็นต้น
อาการ โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตา ตามัวลง มักจะเห็นแสงรุ้งรอบดวงไฟ และอาจจะมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย เนื่องจากความดันตาสูงมาก ซึ่งโรคต้อหินนี้เป็นเหมือนภัยเงียบที่ค่อย ๆ ทำลายเส้นประสาท ผู้เป็นโรคนี้จึงมักไม่มีสัญญาณใดเตือนล่วงหน้าเลย
สาเหตุ เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ความดันลูกตาสูงขึ้น และอาจสูญเสียการมองเห็นได้
4 โรคต้อกระจก (Cataracts)
กลุ่มที่พบมากที่สุด นกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
อาการ เลนส์ตาจะมีความขุ่นมัวลงจากปกติเลนส์ตาจะใส จึงทำให้แสงผ่านดวงตาได้ลดลง จอประสาทตาจึงไม่สามารถรับภาพได้ชัดเจนเหมือนเดิม ส่งผลให้การมองเห็นลดลงเรื่อย ๆ ตาจะค่อย ๆ พร่ามัวลงคล้ายกับมีหมอกหรือฝ้ามาบดบัง หรือเห็นภาพซ้อน เห็นแสงไฟกระจาย มองภาพเป็นสีเหลืองหรือสีผิดเพี้ยน และค่าสายตาอาจจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เช่น สายตาสั้นมากกว่าเดิม ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยกว่าปกติ เป็นต้น
สาเหตุ เกิดจากอุบัติเหตุทางดวงตา หรือโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบในตา และสามารถเป็นได้กับทุกวัยตั้งแต่กำเนิด,วัยเด็ก และผู้ที่อายุยังน้อย โดยเฉพาะถ้ามีการใช้สารสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
5 โรคต้อเนื้อ (Pterygium) ต้อลม (Pinguecula)
กลุ่มที่พบมากที่สุด พบมากในกลุ่มคนอายุตั้งแต่ 30-35 ปี ขึ้นไป และผู้ที่ทำงานกลางแจ้งที่ต้องเจอกับแดด,
ลม,ฝุ่น, ควัน และทราย
อาการ เกิดจากเยื่อบุตาเสื่อมสภาพ ทำให้เกิดเนื้อเยื่อผิดปกติสีแดงยื่นเข้าไปในตาดำเป็นรูปสามเหลี่ยม และจะค่อยๆ ลุกลาม ซึ่งถ้าเป็นมากขึ้นหรือยื่นเข้าใกล้หรือไปบังปิดรูม่านตา จะทำให้การมองเห็นผิดปกติ มองเห็นไม่ชัด และทำให้สายตาเอียงหรือพร่าตามัวมากขึ้น ซึ่งโรคต้อเนื้อจะพบบริเวณหัวตามากกว่าหางตา อาการที่เห็นได้ชัดก็คือระคายเคืองตา, รู้สึกไม่สบายตา และตาแดง ส่วนต้อลมก็จะเกิดจากการเสื่อมสภาพของเยื่อบุตาเหมือนกับต้อเนื้อ แต่จะเป็นในบริเวณเยื่อบุตาเท่านั้นยังไม่ลุกลามเข้าไปในตาดำ จึงมีอาการแค่ระคายเคืองดวงตา แต่ยังมองเห็นภาพชัดอยู่
สาเหตุ เกิดจากแสงแดด, แสงอัลตราไวโอเลต ที่ส่งผลให้เยื่อบุตาเสื่อมสภาพลง
6 วุ้นตาเสื่อม (Vitreous Degeneration)
กลุ่มที่พบมากที่สุด ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป และกลุ่มสายตาสั้น ซึ่งปัจจุบันมีผู้ที่อายุน้อยเป็นโรคนี้กันมากขึ้น
อาการ วุ้นตาจะมีลักษณะเป็นเจลหนืดใสเหมือนวุ้นอยู่ภายในส่วนหลังของลูกตา โดยอยู่ติดกับจอประสาทตาที่ล้อมรอบอยู่ ซึ่งเมื่อวุ้นตาเสื่อมน้ำวุ้นในตาจะเปลี่ยนสภาพ บางส่วนจะกลายเป็นของเหลว บางส่วนจะจับตัวเป็นก้อนหรือเป็นเส้นเหมือนหยากไย่แมงมุม และวุ้นตาอาจจะหดตัวลอกออกจากผิวจอประสาทตา ส่งผลให้มองเห็นเป็นเงาดำ จุดเล็ก ๆ เป็นเส้น ๆ หรือวง ๆ หรือเห็นเป็นเส้นหยากไย่ลอยไปลอยมา และจะขยับไปมาได้ตามการกลอกตาของเราหรือเห็นแสงคล้ายฟ้าแลบหรือแสงแฟลชจากกล้องถ่ายรูป ซึ่งถ้าปล่อยเอาไว้ไม่รีบรักษาจะรุนแรงถึงขั้นจอประสาทตาหลุดลอก ฉีกขาด และสูญเสียการมองเห็นถาวรได้
สาเหตุ มักจะเกิดจากความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น
7 เบาหวานขึ้นตา (Diabetic Retinopathy)
กลุ่มที่พบมากที่สุด พบในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องตรวจอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หรือถ้าเริ่มมีอาการเบาหวานขึ้นตา
อาการ ผู้ป่วยเบาหวานหลายคนละเลยไม่เคยตรวจดวงตา จึงไม่รู้ว่าการมองเห็นของดวงตาแต่ละข้างเป็นอย่างไรเพราะโดยรวมตาทั้งสองข้างยังมองยังเห็นปกติอยู่ ทั้งที่ความจริงแล้วอาจจะมีดวงตาด้านหนึ่งที่มองเห็นไม่ค่อยชัดแล้วจึงยังไม่ได้เข้าพบจักษุแพทย์ ทำให้กว่าจะรักษาก็อาจจะช้าเกินไป ทำให้ตามัวและถึงขั้นตาบอดได้ในที่สุด
สาเหตุ เกิดจากความผิดปกติจากการเป็นโรคเบาหวาน โดยมีสาเหตุจากน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้หลอดเลือดและระบบประสาทเสื่อมลง ส่งผลให้ชั้นจอประสาทในลูกตาเกิดความเสื่อมตามไปด้วย
8 ตาบอดสี (Color Blindness)
กลุ่มที่พบมากที่สุด พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และส่วนใหญ่จะรู้ว่าตาบอดสีก็เมื่อได้รับการตรวจกับจักษุแพทย์แล้ว
อาการ การแยกแยะความแตกต่างของสีเกิดการบกพร่อง เช่น ถ้าตาบอดสีแดงกับเขียว จะมองเห็นเป็นสีเทา และไม่สามารถบอกสีที่ถูกต้องได้ หรือตาบอดสีแบบไม่เห็นสี แต่จะเห็นทุกสีเป็นสีขาวกับดำ เป็นต้น
สาเหตุ ตาบอดสีเกิดจากสาเหตุใดผู้เชี่ยวชาญก็ยังไม่ระบุแน่ชัด แต่อาจจะเกิดจากกรรมพันธุ์ได้
10 วิธีปกป้องและถนอมดวงตา
1. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสารอาหารครบ 5 หมู่ ในสัดส่วนที่พอเหมาะและพอเพียงต่อความต้องการ ของร่างกาย โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3, ลูทีน, ซิงค์, วิตามินซี, วิตามินอี เพราะจะช่วยชะลอ หรือลดการเกิดโรคทางสายตาได้นั่นเอง
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ/พักผ่อนให้เพียงพอควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกสัปดาห์ ทั้งเพื่อช่วยควบ คุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและห่างไกลจากต่าง ๆ เช่น โรคอ้วน, โรคไขมันสูง, โรคเบาหวาน และโรค อื่น ๆ เพราะหลาย ๆ โรคนั้นส่งผลกระทบให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อดวงตาได้ รวมถึงควรนอนหลับให้เพียงพอด้วย
3. สวมแว่นกันแดดทุกครั้งเมื่ออยู่กลางแดดจ้า แสงแดดแรง ๆ ไม่ได้ทำร้ายแค่ผิวหน้าผิวกายเท่านั้น แต่ยังทำร้าย ดวงตาเราอีกด้วย เพราะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อมได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้น เมื่อ ต้องเผชิญกับแสงแดดหรืออยู่กลางแจ้ง รวมถึงที่ ๆ มีลมพัดแรงและมีฝุ่นละออง จึงควรสวมแว่นตากันแดดชนิดที่มี เลนส์กรองแสงยูวีเอ (UV-A) และยูวีบี (UV-B) และที่มีประสิทธิภาพการกรองได้ถึง 99-100 เปอร์เซ็นต์อยู่เสมอ
4. สวมแว่นตาหรือเครื่องมือป้องกันดวงตาทุกครั้งเมื่อทำกิจกรรมที่เสี่ยงอันตรายต่อดวงตา เช่น การขับขี่รถ จักรยานยนต์, ตอกตะปู, ใช้เครื่องตัดหญ้า, เจียรเหล็ก, ใช้เครื่องเชื่อมเหล็ก, ใช้น้ำยาสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น หรือสวม อุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเมื่อเล่นกีฬาที่มีความเสี่ยง เช่น ต่อยมวย, ฟันดาบ, เบสบอล และตีกอล์ฟ เป็นต้น ป้องกัน
5. ดูโทรทัศน์ให้ถูกต้องและใช้หน้าจอให้เป็น การดูโทรทัศน์นั้นต้องอยู่ในที่ ๆ มีแสงสว่างอย่างน้อย 20 แรงเทียน และต้องอยู่ห่างจากหน้าจอประมาณ 5 เท่าของขนาดความกว้างของจอ ภาพ และการใช้จอคอมพิวเตอร์หรือจอสมาร์ทโฟนนั้นไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ตาล้า ตาแห้ง ปวดศรีษะ และจะมีปัญหาในการปรับโฟกัสการมองเห็น รวมถึงรู้สึกปวดบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลังได้ เพราะฉะนั้น ควรพักสายตาจากหน้าจอทุกๆ 1 ชั่วโมง และมองออกไปข้างนอกไกลๆ ประมาณ 20 ฟุตทุก 20 นาทีเป็นเวลาประมาณ 20 วินาที และควรขยับร่างกายอย่างน้อยทุกๆ 2 ชั่วโมง เช่น ลุกออกไปเดินสูดอากาศ นอกจากนั้นก็ควรปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือ สมาร์ทโฟนให้อยู่ในระดับสายตา และให้ห่างจากสายตาประ มาณ 25 นิ้ว ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะปล่อยแสงสีฟ้าออกมา ซึ่งแสงสีฟ้านี้ สามารถทะลุไปถึงจอประสาทตาได้ ส่งผลให้เซลล์ถูกทำลาย และในระยะยาวอาจจะทำให้สูญเสียการมองเห็น
6. งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นส่งผลต่อสุขภาพดวงตา เพราะฉะนั้น ถ้ายังเลิกดื่มไม่ได้ก็ควร ควบคุมปริมาณให้พอดีต่อวันเพราะจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคทางสายตา เช่นโรคจอประสาทตาเสื่อมจากอายุ (Age-Related Macular Degeneration: AMD) รวมถึงโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่น ๆ ได้ด้วย
7. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่และควันบุหรี่ไม่ได้ส่งผลกระทบแค่กับหัวใจ, ปอด และสุขภาพโดยรวมเท่านั้น แต่อาจจะนำไปสู่การสูญเสียการมองเห็นได้ นั่นเพราะไปช่วยเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก, ต้อหิน, โรคจอ ประสาทตาเสื่อม และโรคเกี่ยวกับตาอื่น ๆ ได้ และอาจจะไปทำลายเส้นประสาทตาจนทำให้ตาบอดได้ในอนาคต
8. ใช้คอนแทคเลนส์ต้องระวังเรื่องความสะอาด ถ้าไม่ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างถูกต้องและให้สะอาดพอ จะทำให้เกิดการติดเชื้อที่ดวงตาได้ง่าย เพราะฉะนั้น ก่อนการใส่หรือถอดเลนส์จึงควรล้างมือให้สะอาด, ปฏิบัติตามคำ แนะนำของแพทย์อย่างถูกวิธี, ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์เกินระยะเวลาที่กำหนด หรือใส่ข้ามวันโดยไม่ถอดออก เป็นต้น รวมถึงไม่ควรขยี้ตาเด็ดขาด เพราะจะทำให้กระจกตาเป็นแผล หรือตาติดเชื้อจากมือที่สกปรกได้ง่าย
9. เครื่องสำอางเก่าทิ้งไปอย่าใช้เลย อย่าเก็บเครื่องสำอางเก่าไว้เพราะคำว่าเสียดายไม่ยอมทิ้ง เพราะมันอาจจะทำให้ เราสูญเสียดวงตาได้ นั่นเพราะเครื่องสำอางประเภทครีมหรือของเหลวที่เก็บไว้นานจนเกินเวลาที่แจ้งไว้บนผลิตภัณฑ์ มักจะเกิดแบคทีเรียได้ง่าย การนำเครื่องสำอางที่หมดอายุหรือเก็บไว้นานเกินไปมาใช้บนผิวหน้าอาจจะเสี่ยงต่อการติด เชื้อที่ดวงตาได้ง่าย รวมถึงไม่ควรใช้เครื่องสำอางร่วมกับกับคนอื่น และต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่จะจับใบหน้าและ ดวงตา และทำความสะอาดผิวหน้าทั้งก่อนและหลังการใช้เครื่องสำอางให้สะอาดที่สุดด้วย
10. รู้ปัจจัยเสี่ยงและควรตรวจสุขภาพดวงตาประจำทุกปี อายุที่มากขึ้นทำให้ดวงตาเสื่อมสภาพลง แต่โรคทางดวงตา บางโรคนั้นถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ถ้าเรารู้ประวัติเกี่ยวกับโรคดวงตาหรือปัญหาสุขภาพของคนในครอบครัวเป็น เรื่องที่ดีที่จะทำให้เราเข้าใจปัจจัยเสี่ยงของตัวเอง จะได้ระมัดระวังพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่จะไม่ไปกระตุ้นให้เกิดปัญหา เกี่ยวกับสายตาได้ รวมถึงการตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำทุกปีกับจักษุแพทย์โดยตรง และพบจักษุแพทย์ทันทีทุก ครั้งที่รู้สึกมีอาการผิดปกติทางดวงตา ก็จะช่วยลดความเสี่ยงปัญหาร้ายแรงที่จะเกิดขึ้นกับดวงตาที่รักของเราได้
‘ดวงตา’ ก็ต้องการสารอาหารเพื่อการบำรุงและปกป้อง
กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายนั้น นอกจากจะช่วยดูแลสุขภาพให้แข็งแรงแล้วยังช่วยปกป้องดวงตาให้แข็งแรงจากภายในอีกด้วย ซึ่งเมื่อดวงตาแข็งแรง ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ที่จะเกิดกับดวงตาได้นั่นเอง เรามาดูกันว่าอาหารที่จะช่วยดูแลดวงตาของเรานั้นจะมีอะไรบ้าง
1. โปรตีน (Protein) ดวงตาก็เหมือนกับอวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายเรา เนื้อเยื่อส่วนใหญ่ถูกสร้างจากโปรตีน ดังนั้นเมื่อร่างกายขาดโปรตีนไป เนื้อเยื่อก็จะไม่เจริญเติบโตและแข็งแรง ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของสายตาลดลงตามไปด้วย และโปรตีนยังเป็นตัวช่วยในการพาสารอาหารอื่น ๆ ไปช่วยดูแลดวงตาอีกด้วย เช่น วิตามินเอ เป็นต้น เพราะอย่างนี้ถ้าร่างกายขาดโปรตีนไปก็จะทำให้ขาดสารอาหารอื่น ๆ ไปด้วย อาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนสูงก็เช่น เนื้อสัตว์,ไข่, นม, ถั่ว, ธัญพืช และสาหร่ายเกลียวทอง เป็นต้น
2. ผักใบเขียวเข้ม ผักที่มีใบสีเขียวเข้มหรือสีเขียวจัด ๆ นั้นจะมีสารอาหารที่ดีต่อดวงตาสูง เช่น ‘ลูทีน’ (lutein) และ‘ซีแซนทิน’ (zeaxantin) ที่พบในบริเวณเนื้อเยื่อตา และพบมากที่สุดบริเวณจุดศูนย์กลางของจอประสาทตา ซึ่งเป็นสาร Antioxidant ที่ช่วยบำรุงสายตา และช่วยปกป้องเซลล์ของจอประสาทตาไม่ให้ถูกทำลาย ซึ่งสารอาหารทั้ง 2ชนิดนี้สามารถดูดซึมได้ดีในไขมัน เพราะฉะนั้นถ้าอาหารที่กินร่วมด้วยมีไขมันเล็กน้อยก็จะช่วยดูดซึมสารเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนั้น ในผักใบเขียวเข้มยังมีวิตามินเอ, วิตามินซี และเบต้าแคโรทีนที่ช่วยป้องกันเนื้อเยื่อตาจากอันตรายของแสงแดด และยังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดต้อกระจกและจอประสาทตาเสื่อม ช่วยบำรุงจอตาหรือจอประสาทตาให้ทำงานเป็นปกติ มีสุขภาพดี สามารถผลิตน้ำตาที่ใช้หล่อลื่นภายในดวงตาให้ชุ่มชื้น และช่วยยับยั้งโรคทางสายตาอื่น ๆ ได้อีกด้วย ซึ่งผักใบสีเขียวเข้มก็เช่น ผักคะน้า, คะน้าฝรั่ง, บร็อคเคอรี่, ผักโขม, กีวี, ถั่วลันเตา, ฟักทอง, ข้าวโพด, มะม่วงสุก, ส้ม และฮันนี่ดิวเมลอน
3. ผักผลไม้สีส้มหรือสีเหลือง เพราะมีสารเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จะช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อมได้ดีนั่นเอง และร่างกายคนเราสามารถเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอได้ จึงช่วยป้องกันโรคตาแห้งและโรคตา บอดกลางคืนได้ นอกจากนั้น เบต้าแคโรทีนและวิตามินเอยังช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้อีกด้วย และวิตามินเอยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นในที่มืดอีกด้วย และช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่าง ๆ ภายในลูกตาเรา ถ้าร่างกายขาดวิตามินเอไปอาจจะเกิดอาการในขั้นแรกที่เรียกว่า ‘ตาบอดกลางคืน’ (Night blindness) คือการมองไม่เห็นในเวลากลางคืนหรือในที่มืด หรือกว่าจะมองเห็นก็ใช้เวลานาน ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยเบต้าแคโรทีนสูงก็เช่น แครอท, ผักโขม, ฟักทอง, คะน้า,
ข้าวโพด, มันเทศเหลือง, มะละกอสุก, มะปราง, โกจิเบอร์รี่, ถั่วลันเตา, บร็อคโคลี เป็นต้น รวมถึงเนื้อสัตว์ เช่น เครื่องในสัตว์, ไข่แดง, น้ำมันตับปลา และนม เป็นต้น แต่ข้อควรระวังก็คือ การได้รับวิตามินเอในปริมาณที่มากเกินไปอาจเป็นโทษต่อร่างกายได้ โดยปริมาณที่แนะนำต่อวันสำหรับผู้ใหญ่ผู้ชายคือ 700 ไมโครกรัมและผู้ใหญ่ผู้หญิงคือ 600 ไมโครกรัม ซึ่งควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
4. อาหารที่มีวิตามินบี (Vitamin B) ทั้งวิตามินบี1, วิตามินบี2 หรือไรโบฟลาวิน (Riboflavin), ไนอาซิน ที่ช่วยให้ ดวงตาแข็งแรงขึ้น และมองเห็นได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งถ้าขาดวิตามินบี2 ไป จะรู้สึกปวดประสาทตา ภาพพร่า ระคายเคืองตา น้ำตาไหล แพ้แสง และอาจเป็นโรคต้อกระจกและผิวหนังเปลี่ยนแปลงได้ อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี ก็เช่น เนื้อ สัตว์, ปลาแซลมอน, ไข่, ตับ, นม, ข้าวซ้อมมือ, ผักใบเขียว, เมล็ดทานตะวัน, เมล็ดงา, กล้วย, ผักบุ้ง, ผักคะน้า และถั่ว ชนิดต่าง ๆ ส่วนสาร ‘ไนอาซีน’ ซึ่งถ้าร่างกายขาดไปก็จะทำให้เกิดการอักเสบที่หนังตา ตามัว และขนตาร่วงได้
5. ผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง (Vitamin C) วิตามินซีนั้นจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยง ของการเกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ ที่ทำให้เกิดโรคต้อกระจก อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีสูงนั้นก็เช่น ส้ม, มะนาว, สตรอเบอรี่, แคนตาลูป, พริกหวาน, บร็อคเคอรี่ และผลไม้รสเปรี้ยว เป็นต้น
6. วิตามินดี (Vitamin D) ส่วนใหญ่ร่างกายจะได้มาจากการเปลี่ยนสารคอเลสเตอรอลใต้ผิวหนังที่ชื่อ ‘7- dehydrocholesterol’ ให้กลายเป็นวิตามินดีเมื่อผิวหนังเราโดนแสงแดด ซึ่งวิตามินดีนั้นมีส่วนสำคัญในการช่วย กระบวนการหลายอย่างของร่างกาย เช่น เสริมความแข็งแรงของกระดูก, ควบคุมระดับแคลเซียม เป็นต้น และถ้าเกี่ยว กับดวงตา การขาดวิตามินดีจะทำให้เกิดโรคต้อกระจก, อาการตาแดง, โรคกระจกตาย้วย หรือโป่งพอง (Keratoconus) นอกจากนั้นวิตามินดียังช่วยป้องกันจอประสาทตาเสื่อมได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดีก็ เช่น แซลมอน, ปลาซาดีน, ปลาแมคเคอเรล, เห็ดหอม และเห็ดกระดุม เป็นต้น
7. วิตามินอี (Vitamin E) พบในบริเวณกระจกตาและเลนส์แก้วตาเช่นเดียวกับวิตามินซี โดยวิตามินอีนั้นช่วยต่อต้าน สารอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนป้องกันโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อม ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอีก็เช่น ผักใบเขียว, ถั่วชนิดต่าง ๆ, ธัญพืช, บร็อคโคลี, ผักขม น้ำมันพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำมันข้าว, น้ำมันดอกคำฝอย, น้ำมันดอก ทานตะวัน, ถั่วเหลือง หรือไขมันสัตว์ เป็นต้น
8. กรดโอเมก้า 3 (Omega 3) อาหารที่มีโอเมก้า 3 นั้นจะช่วยป้องกันการเกิดตาแห้ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้บริโภค เป็นประจำสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง โดยอาหารที่อุดมไปด้วยโอเมก้า 3 นั้นก็เช่น ปลาแซลมอน, ทูน่า, ปลาทู และปลา อินทรีย์ ส่วนในแหล่งอาหารอื่น ๆ ก็เช่น วอลนัท, เมล็ดแฟลกซ์และเจีย เป็นต้น
9. เกลือแร่และแร่ธาตุ เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคที่เกี่ยวกับดวงตา โดยแร่ธาตุต่าง ๆ เหล่านี้ก็เช่น สังกะสี ที่พบมากในพวกโยเกิร์ต, ชีส และเนื้อสัตว์สีแดง และแร่ธาตุ ‘ซีลีเนียม’ (Selenium) ที่พบมากในข้าวและ ขนมปังบางชนิด, ปลาทูน่า, ไข่ไก่ และชีส เป็นต้น
10. ฟลูออรีน (Fluorine) เป็นสารตัวเดียวกับฟลูออไรด์ที่ช่วยป้องกันฟันผุ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยให้ดวงตามีประกาย แจ่มใส สดใส ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยฟลูออรีนก็เช่น ในอาหารทะเล, น้ำมันตับปลา, ไข่แดง และกระเทียม เป็นต้น
11. ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ ช่วยป้องกันเยื่อบุตาอักเสบ, โรคต้อกระจก, ช่วยลดความ เสื่อมของเซลล์ลูกตา และช่วยบำรุงสายตา ทำให้สามารถมองเห็นในที่มืดได้ดี ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารไลโคปีนก็ เช่น ผักผลไม้สีแดงทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศ, แตงโม, ทับทิม, ส้มเนื้อแดง และมะละกอ เป็นต้น
12. แอนโธไซยาโนไซด์ (Anthocyanosides) เป็นสารที่ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก, จอประสาทตาเสื่อม และโรค ทางตาอื่น ๆ ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารชนิดนี้ก็เช่น พืชที่มีสีแดง, ม่วง และสีน้ำเงิน เช่น บิลเบอร์รี่, แบล็คเคอร์แรนท์ เป็นต้น
13. ฟลาโวนอยด์ (Flavonoids) เป็นสารที่มีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสายตา ช่วยขจัดสารพิษตกค้างบริเวณหลอดเลือดและระบบเลือด และช่วยเสริมสร้างและฟื้นฟูคอลลาเจน ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารชนิดนี้ก็คือ ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นราสเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, บิลเบอร์รี่ และแครนเบอร์รี่ เป็นต้น
14. ชาเขียว (Green tea) เป็นแหล่งที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ชื่อ ‘คาเทชิน’ (Catechin) ซึ่งเป็นสารแอนติออกซิแดนท์ที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม อีกทั้งยังช่วยต้านการอักเสบได้อีกด้วย ซึ่งอาหารที่อุดมไปด้วยสารทาเคชินก็เช่น ชาเขียว, แอปเปิ้ล, เบอร์รี่, ช็อคโกแลต และไวน์แดง เป็นต้น ส่วนชาชนิดอื่น ๆก็มีสารทาเคชินอยู่ด้วยแต่น้อยกว่าที่มีในชาเชียว
8 วิธีปกป้องดวงตาจากแสงร้ายในหน้าจอ
อย่างที่บอกว่ายุคนี้เป็นยุคสังคมก้มหน้าใครๆ ก็ใช้เวลาไปกับ “หน้าจอ” ตั้งแต่ลืมตาตื่นไปจนถึงเวลาเข้านอนด้วยกันทั้งนั้น ทั้งจอคอมพิวเตอร์, แทปเล็ต และสมาร์ทโฟน บางคนใช้หลายชั่วโมงติดต่อกันจนแทบลืมเวลาลุกไปทำกิจกรรมอื่นกันเลยทีเดียว ซึ่งการใช้หน้าจอมากขนาดนี้ย่อมส่งผลร้ายต่อดวงตาของเราอย่างแน่นอน แต่จะให้เลิกใช้ก็คงไม่ได้อีกเช่นกัน เพราะหน้าที่การงานของหลายคนนั้นก็อยู่ในหน้าจอนี่แหละ ถ้าเลี่ยงได้ยากอย่างนี้เราก็ต้องหาวิธีปกป้องดวงตากันแล้วล่ะ วันนี้เรามี 8 วิธีง่ายๆ ขอแค่ใส่ใจและมีวินัยเท่านั้นพอ แค่นี้เราก็จะมีดวงตาที่แข็งแรงมองเห็นได้อย่างชัดเจน และห่างไกลโรคร้ายเกี่ยวกับตาแล้วล่ะ
1. ปรับแสงหน้าจอให้พอดี แสงหน้าจอที่สว่างจ้ามากเกินไปหรือมืดมากเกินไป จะทำให้ตาต้องเพ่งมากกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อตาต้องทำงานหนักขึ้น เกิดอาการเกร็งที่ดวงตาและปวดบริเวณกระบอกตาได้ เพราะฉะนั้นควรปรับแสงให้กำลังดี ดูแล้วรู้สึกสบายตา ซึ่งสมาร์ทโฟนมีโหมดถนอมสายตาอยู่ด้วย เลือกใช้ให้ชินก็จะรู้สึกสบายตามากยิ่งขึ้น
2. กระพริบตาบ่อยขึ้น รู้ตัวหรือไม่? ว่าการจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ นั้นทำให้ความถี่ในการกระพริบตาลดลงโดยที่ไม่รู้ตัว ซึ่งถ้าเรากระพริบตาน้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือ 18 ครั้งต่อ 1 นาทีแล้วละก็ จะทำให้ให้ความชื้นในดววงตาลดลงส่งผลให้เกิดภาวะตาแห้ง, แสบตา และน้ำตาไหลบ่อย ๆ
3. ความสว่างของบริเวณโดยรอบต้องเพียงพอ ไม่ว่าเราจะนั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ หรือทำงานผ่านแทปเล็ตและสมาร์ทโฟนก็ตาม นอกจากจะต้องใส่ใจแสงสว่างจากหน้าจอที่ต้องพอดีแล้ว สภาพแวด ล้อมที่เรากำลังนั่งอยู่นั้นต้องมีแสงสว่างที่เพียงพอด้วย เพราะไม่อย่างนั้นดวงตาจะทำงานหนัก จะเพ่งมากกว่าปก ติแสงสว่างบริเวณโดยรอบที่เพียงพอจะช่วยให้รู้สึกสบายตาขึ้น และลดความเสี่ยงของการเกิดตาล้าได้
4. ปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่อ่านได้ชัดเจน ขนาดตัวอักษรที่เราใช้ไม่ว่าจะจากการทำงานหน้าจอคอม พิวเตอร์แทปเล็ตหรือสมาร์ทโฟนนั้นก็สำคัญต่อดวงตามากเพราะขนาดตัวอักษรที่เล็กเกินไปจะทำให้เราต้องใช้สายตาอย่างหนักในการจ้องอาจทำให้ปวดตาได้ เพราะฉะ นั้นอย่าลืมปรับขนาดตัวอักษรให้ใหญ่พอ อ่านได้ชัดเจนจะรู้สึกสบายตามากขึ้นในระหว่างการใช้งาน
5. สวมแว่นกรองแสง อย่างที่รู้กันดีกว่า บรรดาหน้าจอที่เรากำลังติดกันงอมแงมอยู่นี้มีแสงสีฟ้า (Blue light) ที่สามารถทะลุเข้าไปทำลายเซลล์จอประสาทตา และส่งผลกระทบต่อดวงตาได้ ซึ่งแสงสีฟ้านี้เป็นหนึ่งในสามของแสงสีขาวจากแสง UV ที่มองเห็นได้และมีพลังงานสูง เป็นช่วงแสงที่มีความสว่างมากที่สุด และจะอยู่ในแสงที่มาจากพวกหน้าจอคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต และสมาร์ทโฟน เพราะฉะนั้น ควรสวมใส่แว่นกรองแสงสีฟ้าเพื่อช่วยปกป้องดวงตาไม่ให้ถูกทำร้ายได้ โดยเฉพาะใครที่ชอบปิดไฟใช้งานสมาร์ทโฟนในตอนกลางคืน เพราะแสงสีฟ้าจะยิ่งทำร้ายดวงตาได้มากขึ้น ทำให้เกิดภาวะตาล้า (Digital Eye Strain) และนำไปสู่ ‘โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม’ ได้อีกด้วย และถ้าปล่อยเอาไว้เป็นเวลานาน ๆ ไม่ไปรักษากับจักษุแพทย์ คลื่นแสงสีฟ้านี้ก็จะก่อให้เกิดการสร้างอนุมูลอิสระเข้าไปทำลายเซลล์ในดวงตาจนเสียหาย และเซลล์ก็จะค่อย ๆ เสื่อมสภาพลง จนกระทั่งไม่สามารถมองเห็นได้อย่างปกติอีกเลย
6. เช็คระยะห่างจากหน้าจออยู่เสมอ ระยะห่างระหว่างสายตาและหน้าจอที่พอดีประมาณ 20-24 นิ้ว จะทำให้ดวงตาของเราไม่เมื่อยล้าและทำงานหนักเกินไประหว่างใช้งานหน้าจอ ซึ่งถ้าเราอยู่ใกล้หน้าจอมากเกินไปเป็นระยะเวลานนาน ๆ จะทำให้ดวงตาอ่อนล้า, พร่ามัว, ตาแห้ง และลามไปถึงปวดศีรษะได้ด้วย
7. 20-20-20 หลายคนอาจจะงงว่า 20-20-20 คืออะไร มันคือการพักสายตาทุก ๆ 20 นาที และมองออกไปไกล ๆ ให้ได้มากกว่า 20 ฟุต และไม่กลับมามองจอเลยประมาณ 20 วินาที ยังไงล่ะ คือเราไม่ควรจะนั่งอยู่กับหน้าจอเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ ทั้งนี้ก็เพื่อปกป้องดวงตาไม่ให้อ่อนล้าหรือเกิดภาวะตาแห้งนั่นเอง
8. รักษาความสะอาดของหน้าจอ ถ้าเราปล่อยให้ฝุ่นเกาะหรือมีสิ่งสกปรกทั้งจากรอยนิ้วมือและคราบต่าง ๆ ที่หน้าจอละก็ แน่นอนว่าจะทำให้หน้าจอมองเห็นได้ไม่ชัดเจน พอไม่ชัดเจนก็ต้องใช้สายตาเพ่งหนักขึ้นนั่นเอง เพราะฉะนั้นหมั่นทำความสะอาดหน้าจอทั้งหลายที่ใช้งานให้สะอาดอยู่เสมอ จะช่วยปกป้องไม่ให้ดวงตาทำงานหนักเกินไปนั่นเอง
‘สาหร่ายเกลียวทอง’ มีสารอาหารบำรุงสายตา
‘สาหร่ายเกลียวทอง’ หรือ ‘สาหร่ายสไปรูลิน่า’ นั้น เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าครบถ้วนด้วยสารอาหารที่ดี มีประโยชน์ และมีคุณภาพสูงต่อร่างกายมากมายหลายชนิด เรียกว่าช่วยดูแลและปกป้องอวัยวะต่างๆ ให้แข็งแรงและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างรอบด้านเลยล่ะ เป็นอาหารที่ดีที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคตสำหรับทุกคน ทุกเพศทุกวัย และแน่นอนว่า “มีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพดวงตาอย่างครบถ้วนด้วยเช่นกัน” จะมีอะไรบ้าง เราไปดูกัน
1. โปรตีนสูง (Protein) โปรตีนในสาหร่ายเกลียวทองเป็นโปรตีนคุณภาพสูงและมีมากกว่าโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ ถึง70% เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย ดูดซึมได้ง่าย และเป็นหนึ่งในอาหารจากพืชเพียงไม่กี่ชนิดที่มี “โปรตีนสมบูรณ์แบบ” และ“มีกรดอะมิโนที่จำเป็นทั้งหมด 9 ชนิดที่ร่างกายจำเป็นต้องใช้แต่ไม่สามารถผลิตเองได้” อีกด้วย
2. วิตามินเอสูง (Vitamin A) วิตามินเอเป็นตัวช่วยในการป้องกันโรคตาแห้งและโรคตาบอดกลางคืน ช่วยให้การมองเห็นในที่มืดหรือตอนกลางคืนมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยเสริมสร้างเยื่อบุต่าง ๆ ภายในลูกตา และช่วยลดความเสี่ยงของการติดเชื้อได้ด้วย
3. วิตามินอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น B1, B2, B3, B12, วิตามินE, วิตามินH, วิตามินD ที่ช่วยปกป้องและดูแลให้ดวงตามีสุขภาพแข็งแรงขึ้น มองเห็นได้ชัดเจนขึ้น และในวิตามินอียังมีสารช่วยต่อต้านสารอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคต้อกระจก และโรคจอตาเสื่อมได้
4. วิตามินซีเข้มข้น (Vitamin C) จึงช่วยทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยปกป้องและถนอมดวงตา และช่วยลดความเสี่ยงการเกิดความเสื่อมของเซลล์ ที่ส่งผลให้เกิดโรคต้อกระจกได้
5. เบต้าแคโรทีนและสารต้านอนุมูลอิสระ (Beta Carotene) เบต้าแคโรทีนที่มีในสาหร่ายเกลียวทองมีสูงกว่าที่มีในแครอทถึง 10 เท่า จึงทำให้ร่างกายได้รับสารต่อต้านอนุมูลอิสระเข้มข้นคุณภาพดี จะช่วยป้องกันเนื้อเยื่อตาจากอันตรายของแสงแดด ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคต้อกระจกและโรคจอประสาทตาเสื่อม อีกทั้งยังช่วยบำรุงจอตาหรือจอประสาทตาให้ทำงานเป็นปกติ มีสุขภาพดี และสามารถผลิตน้ำตาที่ใช้หล่อลื่นภายในดวงตาให้ชุ่มชื้น รวมถึงช่วยป้องกันการเกิดโรคทางสายตาอื่น ๆ อีกด้วย
6. ไฟโคซายานิน’ (Phycocyanin) โปรตีนสีน้ำเงินชนิดละลายน้ำได้ หรือเป็น ‘สารต้านอนุมูลอิสะคุณภาพสูง’ จึงช่วยลดความเสื่อมต่าง ๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดี ช่วยให้เซลล์ดวงตามีสุขภาพแข็งแรง
7. เอนไซม์กว่า 2,000 ชนิด เอนไซม์ที่ดีในสาหร่ายเกลียวทอง จะช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงขึ้นและต้านทานโรคได้ดีขึ้น และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเอนไซม์บางชนิดยังทำหน้าที่ช่วยซ่อมแซมเซลล์ที่ถูกทำลายได้อีกด้วย ซึ่งเมื่อร่างกายแข็งแรงขึ้น สุขภาพดวงตาก็จะแข็งแรงตามไปด้วยนั่นเอง
8. แร่ธาตุที่ดีหลายชนิดและจำนวนมาก ในสาหร่ายเกลียวทองมีแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ดีต่อสุขภาพดวงตาหลายชนิดและจำนวนมาก เช่น สังกะสี, ทองแดง, เหล็ก, แมกนีเซียม, ซีลีเนียม และสารต่อต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นกับดวงตานอกจากทั้ง 8 ข้อข้างต้นนี้แล้ว ใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ ยังมีสารอาหารที่ดีต่อสุขภาพดวงตาและดีต่อสุขภาพร่างกายอีกมากมายหลายชนิดและเป็นจำนวนมาก ซึ่งนอกจากจะช่วยปกป้อง ดูแล และถนอมดวงตาให้มองเห็นได้ชัดเจนไปนาน ๆ แล้ว ถ้าสุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรงปราศจากโรค ก็จะส่งผลให้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายแข็งแรงตามไปด้วยนั่นเอง
“ดวงตาเรามีอยู่คู่เดียว เพราะฉะนั้น มาดูแลดวงตาคู่นี้ให้ดีที่สุดกันเถอะ”
ตัวเลขน่ารู้เกี่ยวกับ ‘ดวงตา’
จากกระทรวงสาธารณสุข
• ปัจจุบันคนไทยใช้คอมพิวเตอร์ แทปเล็ต และสมาร์ทโฟน เฉลี่ย 7.2 ชั่วโมง/วัน นับเป็นระดับที่อันตรายต่อสายตา
• กลุ่มคนที่ต้องทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ จะมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตามากถึงร้อยละ 70 เลยทีเดียว
• การอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนของเด็กและเยาวชนไทยเป็นเวลานาน จะทำให้สายตาสั้นมากขึ้นถึงร้อยละ 30 ซึ่งเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากเดิมถึง 3 เท่า
• เปิด 3 สาเหตุโรคเกี่ยวกับตาที่ทำให้ตาบอดคือ ร้อยละ 51 มาจากโรคต้อกระจก, ร้อยละ 8 มาจากโรคต้อหิน, ร้อยละ 5 มาจากจุดรับภาพตาเสื่อม