“โรคภัยไข้เจ็บ” เป็นสิ่งที่ไม่มีใครต้องการ ทุกคนล้วนอยากเป็นเจ้าของ “สุขภาพที่แข็งแรง” ด้วยกันทั้งนั้น เพราะการเป็นเจ้าของสุขภาพที่แข็งแรง หมายถึงการที่เราจะใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขด้วย ชีวิตคนเรานั้นแสนสั้น การมีชีวิตที่มีความสุข ได้ทำในสิ่งที่อยากทำบนพื้นฐาน “สุขภาพที่ดี” นั้น อาจมีค่ายิ่งกว่าการมีเงินทองมากมายเสียอีก เพราะบางครั้งเงินก็ไม่สามารถยื้อสุขภาพและชีวิตไว้ได้ เพราะฉะนั้น การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งที่เราทุกคนควรใส่ใจ ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน อาหารการกิน ที่ส่งผลต่อสุขภาพเราโดยตรง ยิ่งในแต่ละวันเราต้องเผชิญกับหลายเชื้อโรค ทั้งที่มาจากอากาศ น้ำ และอาหาร ส่วนมือเราเองก็ต้องสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ รอบตัว ไหนจะต้องหยิบจับอาหารเข้าปากอีก ความสกปรกและเชื้อโรคอาจจะทำให้เกิดพิษร้ายต่าง ๆ ต่อร่างกายได้ เช่น “โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน” หนึ่งในโรคที่มาพร้อมกับอาหาร และเป็นโรคที่ทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้เลย
“โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน” คือโรคที่มีสาเหตุหลักมาจาก “น้ำ” หรือ “อาหาร” ที่เรารับประทานเข้าไปนั้นมีเชื้อโรคหรือสารพิษปนเปื้อนอยู่ ปกติแพทย์จะสันนิษฐานจากอาหารมื้อสุดท้ายก่อนที่ร่างกายจะแสดงอาการออกมา ตอนนี้เรามาดูกันดีกว่าว่าอาการของโรคนี้เป็นอย่างไร มีสัญญาณเตือนแบบไหน วิธีดูแลและป้องกันตัวเองต้องทำอย่างไร และ “อาหารที่ดีที่สุดทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างสาหร่ายเกลียวทอง” จะเป็นตัวช่วยให้ระบบย่อยอาหารและการทำงานของลำไส้ดีขึ้นได้อย่างไร?
‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ มีกี่ชนิด
‘โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ มี 2 ชนิดคือ แบบ ‘ติดเชื้อ’ และ ‘ไม่ติดเชื้อ’ เรามาดูชนิดที่ 1 ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อ’ กันก่อน ซึ่งจะมีทั้งเกิดจากพิษของ ‘เชื้อแบคทีเรีย’ ที่ไปรุกรานลำลายผิวของลำไส้ (Invasive) จนทำให้เกิดอาการปวดท้อง ท้องร่วง ปวดเกร็ง มีไข้สูง โดยผู้ติดเชื้อจะถ่ายอุจจาระมากกว่า 10 ลิตรต่อวัน และอุจจาระมีมูกเลือดและมีกลิ่นเหม็น ร่างกายจะเกิดภาวะสูญเสียน้ำเป็นจำนวนมากภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ทำให้เกิดภาวะช็อกได้ และอีกแบบคือเกิดจากการ ‘ติดเชื้อไวรัส’ (Viral gastroenteritis) ได้แก่ Rota visus, Adenovirus หรือ Norovirus ทำให้มีอาการท้องร่วง ปวดท้อง คลื่นไส้ มีไข้ ปวดตามเนื้อตัว เป็นต้น ซึ่งการติดเชื้อไวรัสนี้ส่วนใหญ่จะเป็นสาเหตุหลักของอาการท้องเสียที่พบในเด็กเล็ก แต่ในปัจจุบัน โรคนี้ก็มีผู้ใหญ่เป็นกันมากขึ้น ส่วนชนิดที่ 2 ก็คือ ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่ไม่ใช่การติดเชื้อ’ เกิดจากการกินสารมีพิษหรือกินอาหารที่ย่อยยากจำนวนมากเข้าไป เช่น เห็ดพิษบางชนิด สารพิษจากปลาทะเล สารโลหะหนัก หรือกินยาผิด เป็นต้น ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ซึ่งมักจะเกิดอาการภายใน 2-4 ชั่วโมงหลังร่างกายได้รับพิษเข้าไป ซึ่งผลจากการติดเชื้อต่าง ๆ นี้ค่อนข้างอันตราย และอาจจะมีความรุนแรงทำให้ติดเชื้อลุกลามไปส่วนอื่น ๆ ได้ และคนไข้อาจถึงขั้นเสียชีวิต
สาเหตุของโรค ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิด ‘โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ ชนิดต่าง ๆ นั้น ก็มาการจากที่ “ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ” นั่นเอง คือโดยปกติแล้วระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเราจะทำหน้าที่ป้องกันและคอยกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เช่น เชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่น ๆ แต่พอระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติ ตัวดักจับเชื้อโรคเหล่านี้ก็จะขาดประสิทธิภาพในการทำงาน เลยทำให้เชื้อโรคต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อและการอักเสบที่ลำไส้ ซึ่งถ้าผู้ป่วยที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดปกติเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจจะทำให้เกิดอาการ “ลำไส้อักเสบเรื้อรัง” ได้ด้วย
5 อาการที่บอกว่าเรากำลังเป็น ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’
นี่คือ 5 สัญญาณที่บ่งบอกว่าเรากำลังเป็น ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ รู้ตัวก่อน รีบไปพบแพทย์ รักษาได้ทัน!!
1. ปวดท้องในลักษณะปวดท้องบิดเป็นพัก ๆ มีอาการท้องเสียตามมา และเริ่มปวดท้องตลอดเวลาโดยไม่มีช่วงหยุดพัก
2. คลื่นไส้ อาเจียน พะอืดพะอม กินอาหารและน้ำไม่ได้ เกิดภาวะร่างกายขาดน้ำ อาจทำให้เกิดภาวะช็อกได้
3. ท้องเสีย อ่อนเพลีย หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม ปากแห้ง แต่มือและเท้ากลับเย็น ร่างกายเริ่มเกิดภาวะสูญเสียน้ำจากการ
ท้องร่วง และอาจจะถึงขั้นหมดสติได้
4. ท้องร่วง ถ่ายมีมูกเลือด มีอาการปวดหน่วงที่ทวารหนัก
5. มีไข้สูง เกิดอาการหนาวสั่นทั้งที่อากาศปกติ ถ้ามีอาการในระดับนี้แสดงว่าสำไล้ติดเชื้อรุนแรงแล้ว
6 วิธีป้องกัน ‘โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’
การใส่ใจดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงนั้น นับเป็นการสร้างเกราะป้องกันที่ดีที่สุดให้แก่ร่างกายของเรา ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ป้องกันไม่ได้ทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์ แต่การใส่ใจความสะอาดและการใช้ชีวิตในประจำวันก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคนี้ได้ ซึ่ง 6 วิธีป้องกันการเกิด ‘โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ เบื้องต้น ก็มีดังต่อไปนี้
1. รับประทานอาหารที่สะอาด และเน้นอาหารที่ปรุงสุกใหม่อยู่เสมอ และต้องสุกทั่วถึงไม่ใช่สุก ๆ ดิบ ๆ
2. รักษาความสะอาดของห้องครัวและบริเวณโดยรอบ รวมถึงอุปกรณ์เครื่องใช้ในการประกอบอาหารต่าง ๆ
3. เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ส่วนใครที่ติดดื่มน้ำกับน้ำแข็ง แนะนำให้ทำน้ำแข็งไว้กินเองจะปลอดภัยกว่า
4. ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งทั้งก่อนรับประทานอาหาร หลังรับประทานอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำ
5. ถ้ามีความจำเป็นต้องเดินทางไปต่างประเทศ หรือไปทำงานต่างถิ่น ควรเช็คข้อมูลด้านอาหารการกินและสุขอนามัยของประเทศนั้น ๆ หรือท้องถิ่นที่จะไปก่อนทุกครั้ง
6. ควรขับถ่ายในส้วมอย่างสุขอนามัยทุกครั้ง เพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคระบาดที่อาจจะติดต่อได้ทางอุจจาระ
11 กลุ่มอาหารที่ควร “เลือก”
ผู้ป่วยโรค ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ ส่วนใหญ่มักจะมีภาวะขาดน้ำ สารอาหาร และระดับเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล จึงต้องระมัดระวังการรับประทานอาหารและต้องใส่ใจเลือกอาหารให้มากเป็นพิเศษ ซึ่งกลุ่มอาหารที่เหมาะต่อสุขภาพผู้ป่วยโรค ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ ก็มีดังนี้
กลุ่มอาหารโปรตีนสูง เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไม่ว่าจะเป็นเนื้อวัว เนื้อหมู เนื้อสัตว์ปีก และไข่ ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันร่างกายจะสูญเสียโปรตีนอย่างหนัก การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงจะช่วยคืนโปรตีนให้แก่ร่างกายได้ดี
กลุ่มอาหารโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า ปลาแมกเคอเรล ปลาซาดีน ปลาสำลี ปลาช่อน ปลาจาระเม็ดขาว ปลากระพง ถั่ววอลนัท และเมล็ดแฟลกซ์ เป็นอาหารที่จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบของลำไส้ในช่วงโรคกำเริบได้
กลุ่มอาหารไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ ไข่ขาว ถั่วลันเตา ผักและผลไม้ ซึ่งอาหารที่มีไขมันต่ำจะลดการกระตุ้นการกำเริบของโรคได้ ซึ่งตรงข้ามกับอาหารที่มีไขมันสูง ที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการของโรคกำเริบ
กลุ่มอาหารไฟเบอร์ต่ำ เช่น ข้าวขัดขาว ขนมปังขาว แตงโม มะละกอ เป็นกลุ่มอาหารที่ย่อยง่ายและลำไส้ไม่ต้องทำงานหนัก และช่วยยับยั้งการปวดท้องและท้องร่วงได้อีกด้วย
กลุ่มอาหารโซเดียมต่ำ เช่น ผักและผลไม้สด เนื้อสัตว์ต่าง ๆ อาหารที่ไม่มีส่วนผสมของเกลือ เป็นต้น
กลุ่มอาหารแคลอรี่สูง เช่น นมข้นจืด เนยถั่ว มันฝรั่ง ดาร์กช็อกโกแลต คุกกี้ ไอศกรีม พุดดิ้ง คัสตาร์ด ซึ่งผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันมักจะรับประทานอาหารและน้ำดื่มไม่ค่อยได้ หรือได้น้อยมาก จึงมีภาวะขาดสารอาหารตามมา แถมน้ำหนักตัวก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด การรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง จึงส่งผลดีต่อร่างกาย
กลุ่มอาหารที่ปราศจากแล็กโทส (Lactose) เช่น เต้าหู้ นมถั่วเหลือง น้ำนมข้าว เพราะผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลันบางคน ร่างกายไม่สามารถย่อยน้ำตาลแล็กโทสได้ การรับประทานอาหารที่ปราศจากแล็กโทสจึงช่วยได้
กลุ่มอาหารที่ปราศจากกลูเตน เช่น ผักและผลไม้สด เนื้อปลา เนื้อสัตว์ปี และไข่ เพราะผู้ป่วยลำไส้อักเสบเฉียบพลันบางรายอาจจะมีอาการแพ้กลูเตน เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงอาหารที่มีกลูเตนไว้จะดีที่สุด
กลุ่มอาหารประเภทโพรไบโอติกส์ (Probiotics) เช่น โยเกิร์ตชนิดที่ไม่มีน้ำตาลหรือน้ำตาลน้อย หรือชนิดไขมันต่ำ เพราะเป็นกลุ่มอาหารที่มีแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ต่อการย่อยอาหาร ซึ่งน้ำตาลอาจจะทำให้อาการของโรคกำเริบได้
กลุ่มผักและผลไม้บางชนิด เช่น ผลไม้ที่เป็นแหล่งโปรตีนและไขมันที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย มีแคลอรี่สูง แต่ไขมันต่ำ และประกอบด้วยน้ำถึง 70 เปอร์เซ็นต์ เช่น อะโวคาโด กล้วย ที่ย่อยง่ายและเป็นตัวช่วยในการย่อยอาหาร
น้ำเปล่าสะอาด ผู้ป่วยโรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน ลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมของเหลวได้ตามปกติ ผู้ป่วยจึงต้องดื่มน้ำเปล่าที่สะอาดเรื่อย ๆ และในปริมาณที่เพียงพอ เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำนั่นเอง
เยียวยาลำไส้ด้วย 6 วิธีรับประทานอาหาร
วิธีรับประทานอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสมจะช่วยดูแลลำไส้ในช่วงที่ป่วยเป็น ‘ลำไส้อักเสบ’ และ ‘ลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ ได้ มาดูกันสิว่าวิธีรับประทานอาหารที่จะช่วยบำบัดเยียวยาลำไส้ให้แข็งแรงขึ้นได้นั้น จะมีอะไรบ้าง
1. อาหารที่ย่อยง่ายมีรสอ่อน เช่น อาหารเนื้อสมผัสอ่อน ๆ หั่นชิ้นเล็กพอดีคำหรือสับหยาบ ผักนิ่ม ๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กวางตุ้ง ฟักทองนึ่ง เป็นต้น และอาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ รสไม่จัด เพื่อช่วยให้ย่อยง่ายร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ดีขึ้น
2. เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ เพราะในเนื้อหาจะมีไขมันดีอย่างโอเมก้า 3 ที่ช่วยลดการอักเสบในลำไส้ได้ดี ซึ่งจะมีในอาหารประเภท ปลา ไข่ ไก่ หมูม่ติดมัน กุ้ง หอย ปลาทะเลหรือปลาที่ชั้นผิวหนังหนา เช่น ปลาดุก ปลาสวาย เป็นต้น
3. ข้าวและแป้งที่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือจะกินพวกแครอทต้ม มันต้ม เผือกต้ม ฟักทองต้ม ก็ทดแทนอาหารประเภทข้าวและแป้งได้เช่นกัน
4. แบ่งอาหารมื้อย่อย ผู้ป่วยที่มีปัญหากับระบบลำไส้และระบบย่อยอาหาร แนะนำให้แบ่งอาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ รับประทานครั้งละน้อย แต่เพิ่มจำนวนครั้งให้บ่อยขึ้น นอกจากจะทำให้ลำไส้และระบบย่อยอาหารทำงานไม่หนักแล้ว ยังช่วยให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
5. เน้นดื่มน้ำเปล่า การดืื่มน้ำเปล่าสะอาดนั้นดีต่อสุขภาพ และควรดื่มให้ได้อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว โดยเฉพาะในผู้ป่วยลำไส้อักเสบเฉียบพลันที่ร่างกายมีภาวะสูญเสียน้ำ หรือจะดื่มเกลือแร่ น้ำผลไม้ร่วมด้วยก็ได้ แต่ให้เลือกชนิดหวานน้อย และให้ดื่มแบบค่อย ๆ จิบไปเรื่อย ๆ ไม่ดื่มทีเดียวหมดแก้ว เพราะจะทำให้ระบบย่อยอาหารทำงานหนักเกินไป
6. จดบันทึก อาหารแต่ละประเภทอาจจะส่งผลต่อร่างกายแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการจดบันทึกทุกครั้งทั้งก่อนและหลังการรับประทานอาหารนั้น ๆ จะช่วยให้รู้ว่า อาหารชนิดไหนที่ทำให้ร่างกายดีขึ้น แย่ลง หรืออาการกำเริบได้ และที่สำคัญ ข้อมูลที่เราจดบันทึกไว้นี้ อาจจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้แพทย์เห็นพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเราได้ด้วย
สาหร่ายเกลียวทอง กับคุณสมบัติ
ดูแลลำไส้
อย่างที่รู้กันดีว่า คุณสมบัติที่ยอดเยี่ยมของสารอาหารใน ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ หรือ ‘สาหร่ายสไปรูลิน่า’ นั้น ครบถ้วนตามหลักโภชนาการอาหาร 5 หมู่ และมีคุณภาพสูง เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายปกป้องเชื้อโรคได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่เมื่อเรากำลังพูดถึง ‘โรคลำไส้อักเสบเฉียบพลัน’ เลยอยากยกให้เห็นตัว อย่างคุณสมบัติที่แสนวิเศษของสาหร่ายเกลียวทองกับการดูแลลำไส้โดยตรง จะดีต่อลำไส้แบบไหน อย่างไร มาดูกัน
1. มีโพรไบโอติกส์ (Probiotics) ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีประโยชน์ต่อระบบย่อยอาหาร ทำให้การย่อยอาหารทำงานได้ดี
2. มีคลอโรฟิลล์สูง (Chlorophyll) ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้ลำไส้บีบรัดตัวได้ดีขึ้น ช่วยให้ร่างกายขับของเสียที่ติดค้างอยู่ในลำไส้ได้ดีขึ้น จึงช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้ดีขึ้น ช่วยกระตุ้นการบีบรูดของลำไส้ส่วนปลายให้ทำงานได้ดี และคลอโคฟิลล์ยังช่วยทำความสะอาดลำไส้ ขจัดกลิ่นจากลำไส้ และลดการอักเสบได้ดี
3. มีส่วนช่วยเสริมสร้างแลคโตบาซิลลัส (Lactobacillus) ซึ่งประโยชน์ของการมีแลคโตบาซิลลัสในลำไส้ก็คือ จะช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดีขึ้น ช่วยให้การย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ป้องกันการติดเชื้อ และช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราที่เป็นอันตรายต่อร่างกายได้อีกด้วย ซึ่งการรับประทานสาหร่ายเกลียวทองเป็นประจำนั้น ยังช่วยให้ลำไส้ดูดซึมวิตามินบี1 และวิตามินอื่น ๆ จากอาหารได้ดีขึ้น และเพิ่มแลคโตบาซิลลัสให้กับลำไส้ได้มากขึ้นอีกด้วย
4. มีโปรตีนสูง และไม่มีคอเรสเตอรอล แถมยังย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากแหล่งอื่น ๆ โดยมีอัตราการย่อยถึง 95% ซึ่งมีมากกว่าโปรตีนจากเนื้อสัตว์ถึง 2 เท่า จึงช่วยให้ลำไส้ไม่ทำงานหนักมากเกินไป
5. มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายในแบบพอดีและดีพอ จึงทำให้ร่างกายไม่ผลิตน้ำย่อยออกมามากเกินไป และลำไส้ก็ยังได้รับสารอาหารซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่ดีอีกด้วย ทำให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารและดูดซึมอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
6. มีวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกายจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี1, บี2, บี3, บี5, บี6, บี12 และมีโครเมียมตัวสร้างวิตามินบี12, วิตามินC, วิตามินH, วิตามินดี, เบต้าแคโรทีน, ธาตุเหล็ก, สังกะสี, แคลเซียม, แมกนีเซียม, โฟเลต และแคโรทีนอยด์ ที่ย่อยง่ายและดูดซึมง่ายมาก และยังมีข้อดีอื่น ๆ อีกมากมาย ฯลฯ
การทดลองในประเทศญี่ปุ่นระบุว่า หนูที่ได้รับอาหารผสมสาหร่ายเกลียวทองในปริมาณ 5% เป็นเวลา 100 วันนั้นจะมีปริมาณแลคโตบาซิลลัสมากกว่าหนูที่ไม่ได้กินถึง 3 เท่า และมีแลคโตบาซิลลัสเพิ่มขึ้น 327% มีวิตามิน B1 และ ‘ซีกัม’ (Caeaum) หรือ ‘กระเปาะลำไส้ใหญ่’ ซึ่งเป็นลำไส้ใหญ่ส่วนแรกต่อจากลำไส้เล็กส่วนไอเลียม มีทำหน้าที่รับกากอาหารจากลำไส้เล็กนั้น มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 13% และวิตามินบี1 ในซีกัมเพิ่มขึ้นอีก 43% นี่คือสรรพคุณที่ดีเยี่ยมต่อการทำงานของลำไส้ของการรับประทานสาหร่ายเกลียวทองเป็นประจำและสม่ำเสมอ
เห็นมั้ยว่า เวลาที่ร่างกายเจ็บป่วยนั้น มันไม่ได้ส่งผลกระทบแค่อวัยวะที่มีปัญหาเท่านั้น แต่ยังส่งผลเสียไปถึงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายอีกด้วย รวมถึง “สภาวะจิตใจที่ย่ำแย่ลง” และ “อาหาร” ก็มีผลต่อสุขภาพของคนเราเป็นอย่างมาก ทั้งในยามปกติและยามป่วยไข้ เพราะฉะนั้น การใส่ใจเลือกอาหารที่ดี มีคุณภาพ มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายครบถ้วนจึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับทุกคน