คนเรามักจะเห็นความสำคัญของ “สุขภาพ” ก็ต่อเมื่อวันที่ได้ “สูญเสีย” มันไปแล้ว และส่วนใหญ่จะละเลยเพราะคิดว่า “ฉันแข็งแรงดีไม่มีทางป่วยเป็นโรคอะไรง่าย ๆ หรอก” อีกอย่างการดูแลสุขภาพนั้นเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจในรายละเอียด มันเลยอาจจะดูยุ่งยากเพราะต้องจัดการและมีข้อจำกัดเยอะแยะไปหมด ทั้งเรื่องอาหารการกินที่มีคุณภาพ การออกกำลังกายที่เหมาะสม การพักผ่อนที่เพียงพอ แล้วไหนจะต้องรักษาความสมดุลทางอารมณ์ไม่ให้เครียดอีกด้วย ซึ่งภายใต้สภาพสังคม ผู้คน ปัญหารอบด้าน และเศรษฐกิจแบบนี้ ล้วนเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะเครียดอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกินนั้น คนเรามักจะนึกถึงความสุขเฉพาะหน้ามากกว่าจะนึกถึงผลเสียที่ตามมาของสิ่งที่นำเข้าสู่ร่างกาย
ซึ่งแน่นอนว่า หากเราละเลยไม่ดูแลพื้นฐานสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอนั้น มันก็จะส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ ระบบภูมิคุ้มกันต่าง ๆ บกพร่อง ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอยู่ในภาวะอ่อนแอ มันก็จะสะท้อนออกมาเป็นโรคต่าง ๆ นั่นเอง เช่น ‘โรคไทรอยด์’ ที่หนึ่งในสาเหตุหลักมาจาก “ภูมิคุ้มกันในร่างกายผิดปกติ” คนไทยเราเป็นโรคนี้กันจำนวนมาก แต่เป็นโรคที่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจเพราะมองว่า “ไกลตัว” และที่น่ากังวลมากไปกว่านั้นก็คือ หลายคนไม่รู้ตัวด้วยซ้ำว่ากำลังป่วยเป็นโรคนี้อยู่ มารู้ตัวอีกทีก็สายเสียแล้ว ‘โรคไทรอยด์’ จึงเป็นอีกหนึ่งโรคที่ใกล้ตัวและเป็นอันตรายต่อสุขภาพชนิดที่ไม่ควรมองข้าม วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคไทรอยด์กันให้มากขึ้น รวมถึงแนวทางการป้องกันการเกิดโรค การดูแลสุขภาพที่ถูกต้อง และอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์
โรคไทรอยด์ เป็นแบบไหน? สาเหตุเกิดจากอะไร?
ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายเรา มีน้ำหนักประมาณ 20 กรัม มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อจะอยู่บริเวณส่วนหน้าของลำคอ ทำหน้าที่ผลิตและหลั่งไทรอยด์ฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดจากนั้นจะส่งไปยังอวัยวะต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ ‘ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland)’ และ ‘ต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus)’ จึงนับว่าเป็นต่อมที่มีความสำคัญต่อร่างกายมาก เพราะทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของร่างกาย กระตุ้นให้อวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกายทำงาน โดยเฉพาะหัวใจและสมอง ควบคุมระบบการเผาผลาญของเซลล์ต่าง ๆ ทั้งระดับไขมันในเลือด ระบบย่อยอาหาร การควบคุมอุณหภูมิร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อ หรือแม้แต่ความแข็งแรงของผม ผิวหนัง และเล็บ โดยปกติแล้วร่างกายเราจะมีระบบการควบคุมการทำงานของต่อมไทรอยด์เพื่อรักษาระดับไทรอยด์ฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา เพราะฉะนั้น ถ้าไทรอยด์มีความผิดปกติ ก็จะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายให้ผิดปกติตามไปด้วยเช่นกัน โดยโรคของต่อมไทรอยด์ แบ่งออกเป็น
1. กลุ่มโรคต่อมไทรอยด์โตแบบเป็นพิษ หรือทำงานมากเกินไป (Hyperthyroidism) กลุ่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน คือ ชนิดโตทั่วไป (Graves’disease), ไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนตะปุ่มตะป่ำ (Toxic multinodular) และไทรอยด์เป็นพิษชนิดก้อนเดี่ยว (Toxic nodule) ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย ทำให้มีการสร้างสารแอนติบอดี้ต่อตัวเอง สารนี้จะไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งผลที่ตามมาก็คือ กระตุ้นให้เซลล์ในร่างกายทำงานมากขึ้นและเร็วขึ้น กระบวนการเมตาบอลิซึมสูงขึ้น อาการที่เห็นได้ชัดก็คือ เหนื่อย ใจสั่น ขี้ร้อน เหงื่อออกเยอะ น้ำหนักลด ประจำเดือนน้อยลง ผิวหนังเป็นปื้น ผิวหน้าขรุขระ บางรายมีอาการตาโปน และแขนขาอ่อนแรง
2. โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (Hypothyroidism) คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างไทรอยด์ฮอร์โมนน้อยกว่าปกติ ทำให้ระดับฮอร์โมนในเลือดมีค่าต่ำกว่าปกติ สาเหตุหลักมักจะเกิดหลังการรักษาด้วยการกลืนแร่ไอโอดีนหรือการผ่าตัดที่ต่อมไทรอยด์มาก่อน (Primary hypothyroidism) ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ก็คือเกิดจากความผิดปกติของต่อมใต้สมอง (Secondary hypothyroidism) อาการที่จะเกิดก็คือ คิดช้า เฉื่อยชา ง่วงนอน ขี้หนาว น้ำหนักขึ้น ผมร่วง ผิวแห้งหยาบ ตัวบวม หน้าบวม เป็นตะคริวบ่อย ท้องผูก ซึ่งอาการมักจะเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ได้เกิดขึ้นทันทีทันใดจึงทำให้ผู้ป่วยคิดว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะส่งผลเสียต่อระบบหัวใจและระบบไขมันในเลือดได้ และส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะต้องรักษาโดยการรับประทานยาที่เป็นไทรอยด์ฮอร์โมนตลอดชีวิต
3. โรคต่อมไทรอยด์อักเสบ (Thyroiditis) ที่พบบ่อยจะมีอยู่ 2 ชนิดคือ ชนิดอักเสบกึ่งเฉียบพลัน และ ชนิดอักเสบเรื้อรัง ต่อมไทรอยด์อักเสบกึ่งเฉียบพลัน (Subacute thyroiditis) เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น หวัด ผู้ป่วยจะมีอาการไข้ ต่อมไทรอยด์โต เวลาคลำจะรู้สึกเจ็บ สามารถรักษาด้วยการรับประทานยาสเตียรอยด์ โดยต่อมไทรอยด์จะยุบลงภายในเวลา 1-2 สัปดาห์ และสามารถหายขาดได้ภายใน 3-6 เดือน ต่อมไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Hashimoto thyroiditis) เกิดจากความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย มีอาการคอโตแต่กดไม่เจ็บ หรืออาจจะมีประวัติคอโตแล้วยุบลงเองโดยไม่เคยรักษามาก่อน การวินิจฉัยทำโดยการตรวจแอนติบอดีในเลือด รักษาด้วยการรับประทานไทรอยด์ฮอร์โมนและติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
4. โรคต่อมไทรอยด์โตแบบไม่เป็นพิษ (Thyroid nodule) คือต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้น แต่ยังสร้างฮอร์โมนได้ปกติ ซึ่งมีทั้งชนิด ต่อมไทรอยด์โตก้อนเดียว (Single thyroid nodule) และ ต่อมไทรอยด์โตหลายก้อน (Multinodular goiter) โดยทั้งสองชนิดมีโอกาสนำไปสู่การเป็นมะเร็งได้ จึงต้องได้รับการตรวจด้วยวิธีดูดเซลล์จากก้อนเนื้อไปตรวจหาเซลล์มะเร็ง หลังจากนั้นแพทย์จะทำการพิจารณาวิธีรักษาที่เหมาะสมต่อไป
5. โรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ (thyroid cancer) มีทั้งชนิดที่รุนแรงน้อยรักษาให้หายขาดได้ และ ชนิดรุนแรงมากจนที่ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้ภายในเวลาไม่นาน นอกจากนี้ ยังมีชนิดที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ด้วย ซึ่งมักจะมีเกิดในคนที่อายุยังน้อยกว่า 20 ปี หรืออายุมากกว่า 60 ปี และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นมาก่อน ถ้าคลำที่คอแล้วพบก้อนแข็งและโตเร็วให้รีบเข้าพบแพทย์เพราะอาจจะเป็นมะเร็งต่อมไทรอยด์โตเร็ว และจะมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตร่วมด้วย ผู้ป่วยจะกลืนอาหาร-น้ำลำบาก หายใจลำบาก มีเสียงแหบ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยการรักษาตามชนิดของมะเร็ง
6. โรคของต่อมไทรอยด์ไม่ปรากฏอาการ โรคนี้จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ ชนิดที่ทำงานน้อยเกินไป (Subclinical hypothyroidism) และ ชนิดที่ทำงานมากเกินไป (Subclinical hyperthyroidism) ซึ่งน่ากลัวตรงที่ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ เลย จะเหมือนกับคนสุขภาพแข็งแรงทั่วไป จะพบได้จากการตรวจเลือดเท่านั้น
9 อาการเสี่ยงไทรอยด์เป็นพิษ เช็คด่วน!
ตามสถิติทางสาธารณสุข มากกว่าครึ่งของผู้ป่วย ‘โรคไทรอยด์’ เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือ เม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรือ อิมมูนซิสเต็ม (Immune system) เกิดความผิดปกติ ซึ่งผู้ป่วยจะมีความเจ็บป่วยรุนแรงและมักจะรักษาไม่ทัน ส่วนใหญ่ทำได้แค่ควบคุมให้ภาวะของโรคเบาลง ให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ปกติมากที่สุด โดยผู้ป่วย ‘โรคไทรอยด์’ จะมีรูปแบบอาการไม่เหมือนกัน โดยจะขึ้นอยู่กับชนิดความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เรามาเช็คกันหน่อยดีกว่าว่าอาการแบบไหนที่มีความเสี่ยงในการเป็นโรคไทรอยด์
1. อ้วนขึ้นหรือผอมลงแบบผิดปกติ (ส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญของร่างกาย) เวลาต่อมไทรอยด์ผิดปกติในลักษณะที่หลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป จะไปกระตุ้นระบบเมตาบอลิซึมให้ทำงานมากเกินไป ถ้าภาวะไทรอยด์เป็นพิษจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว แม้จะรับประทานอาหารในปริมาณมากขึ้นหรือปกติก็ตาม และขี้ร้อน เหงื่อนออกมากกว่าปกติ ตัวจะอุ่นขึ้น ส่วนภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นง่ายมาก ระบบเผาผลาญทำงานได้ช้าลง จะรู้สึกหนาวตลอดเวลา
2. หิวบ่อย น้ำหนักลดแม้จะรับประทานอาหารมากหรือในปริมาณปกติ (ส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินอาหาร) เวลาต่อมไทรอยด์ทำงานมากขึ้น จะทำให้รู้สึกหิวบ่อยขึ้น รับประทานได้มากขึ้น แต่น้ำหนักตัวกลับลดลงอย่างน่าแปลกใจ ตรงกันข้าม ถ้าไทรอยด์ทำงานน้อยลง ก็จะทำให้กินอะไรไม่ค่อยได้ แต่ตัวกลับบวม อ้วนฉุง่าย และอาจจะถ่ายอุจจาระบ่อย และมีลักษณะเหลว รวมถึงมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย
3. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เหงื่อออกง่าย และใจสั่น (ส่งผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด) ผู้ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษนั้น จะส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของหัวใจ จึงทำให้เหนื่อยง่าย ใจสั่น อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และอาจถึงขั้นหัวใจล้มเหลวได้
4. นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ขาดสมาธิ และเครียด (ต่อส่งกระทบต่อระบบประสาท) จากเดิมที่เคยนอนหลับง่าย หลับลึก หลับสนิทแบบสบาย ๆ แต่ต่อมากลับกลายเป็นคนนอนไม่หลับ นั่นเพราะไทรอยด์เกิดการผิดปกติ เช่น อาจจะหลั่งฮอร์โมนออกมามากเกินไป และไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางส่งผลต่อการนอนหลับ ในขณะเดียวกัน ถ้าไทรอยด์ทำงานต่ำเกินไป ก็จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลีย และไม่สดชื่น
5. ตาโปน ตาโตขึ้น เปลือกตาเปิดกว้างขึ้น (ส่งผลกระทบต่อระบบดวงตา) จะรู้สึกถึงความผิดปกติของดวงตาจากคนทั่วไปอย่างเห็นได้ชัด
6. ประจำเดือนมาไม่ปกติ (ส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์) ซึ่งอาการประจำเดือนมาไม่ปกตินี้ก็เช่น มาในปริมาณที่น้อยเกินไป, มาแบบกะปริบกะปรอย ไปจนถึงประจำเดือนขาด ทำให้ผู้หญิงที่มีภาวะไทรอยด์ตั้งครรภ์ได้ยาก
7. กล้ามเนื้ออ่อนแรง มือสั่น (ส่งผลกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อ) รู้สึกกล้ามเนื้อไม่มีแรง มือสั่นโดยไม่มีสาเหตุ
8. ถ่ายอุจจาระบ่อยขึ้นวันละ 2-3 ครั้ง (ส่งผลกระทบต่อระบบขับถ่าย) ผู้ป่วยภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ลำไส้จะทำงานมากขึ้น ทำให้ถ่ายอุจจาระบ่อยกว่าปกติ แต่ถ้ามีภาวะไทรอยด์ต่ำ ก็มักจะท้องผูก ในแต่ละวันจะเข้าห้องน้ำน้อยกว่าปกติ แม้จะพยายามรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์ พืช ผัก ผลไม้ แต่ก็ยังมีอาการท้องผูกอยู่เหมือนเดิม
9. ผมร่วง ผิวแห้ง (ส่งผลกระทบต่อระบบเผาผลาญ) ผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำ เส้นผมมักจะร่วงผิดปกติ ผิวเริ่มแห้งและหยาบ นั่นเพราะระบบเผาผลาญของร่างกายทำงานได้ช้าลง บางรายถึงขั้นผิวหนังบริเวณหน้าแข้งหนาขึ้น นิ้วเป็นปุ้มหรือนิ้วตะบอง เล็บกร่อน คอโต ที่บริเวณคอมีก้อนแข็งขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
4 วิธีเช็คตัวเองเบื้องต้นแบบง่าย ๆ “ใช่เรามั้ยที่เป็นไทรอยด์”
1. ส่องกระจก ลองยืดลำคอขึ้น หันไปทางซ้ายและขวาอย่างช้า ๆ เพื่อหาความผิดปกติบริเวณลำคอ
2. ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางของมือทั้งสองข้างคลำไปที่ลำคอพร้อม ๆ กัน เริ่มจากด้านหน้า, ด้านหลัง, ด้านข้าง และค่อย ๆ คลำ
จากลำคอด้านบนลงล่าง เพื่อคลำหาก้อนหรือสิ่งผิดปกติที่แปลกปลอมบริเวณลำคอ
3. ถ้าระหว่างคลำลำคอแล้วมือไปสัมผัสจุดที่ติดขัด หรือเหมือนมีก้อนอะไรสักอย่างให้ลองคลึงๆ ที่ก้อนนั้นดูว่าก้อนมีลักษณะ
แข็ง อ่อน และมีอาการเจ็บปวดร่วมด้วยหรือไม่อย่างไร เพื่อแจ้งอาการต่อแพทย์ได้ชัดเจน
4. ถ้าพบก้อนผิดปกติบริเวณลำคอ ให้รีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจวินิจฉัยโรคและทำการรักษาต่อไป
ดูแลตัวอย่างไรเมื่ออยู่ในภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
ผู้ป่วย ‘ไทรอยด์’ ควรไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามอาการอย่างใกล้ชิดและต้องรับประทานยาสม่ำเสมอตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเอง รวมถึง งดสูบบุหรี่ งดการนอนดึก รับประทานอาหารที่มีไอโอดีนสูงอย่างพอเหมาะ และก่อนการวางแผนตั้งครรภ์ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพราะหากตั้งครรภ์ระหว่างที่คุณแม่ป่วยเป็นไทรอยด์ นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพคุณแม่แล้ว ยังเกิดอันตรายต่อลูกน้อยอีกด้วย นอกจากนั้น การเลือกรับประทานอาหารที่เสริมให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันโรค ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันที่ดีให้กับร่างกาย ก็จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรงและต้านโรคไทรอยด์ได้เช่นกัน รวมถึงโรคอื่น ๆ ด้วย เรามาดูกันว่าจะมีอาหารประเภทไหนบ้าง
5 อาหารธาตุดีสำหรับผู้ป่วยโรคไทรอยด์
การใส่ใจกับอาหารนั้นจำเป็นและสำคัญมาก เพราะอาหารที่ดีและเหมาะสมจะทำให้ผู้ป่วยไทรอยด์มีอาการดีขึ้นได้ และโดยปกติแล้วผู้ป่วยไทรอยด์มักจะกังวลเรื่องอาหารมากเป็นพิเศษเพราะกลัวว่ากินแล้วจะไปกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ให้ผิดปกติยิ่งกว่าเดิม วันนี้เราเลยนำอาหารธาตุดีมาแนะนำสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์โดยเฉพาะ
1. วิตามินบี วิตามินบีเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกายคนเรามาก และมีหน้าที่สำคัญในการช่วยให้ร่างกายเราผลิต “ฮอร์โมน T4” ซึ่งเป็นฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดหนึ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวิตามินบี2, บี3, บี6 ยังเกี่ยวข้องกับระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์โดยตรง
อาหารที่มีวิตามินบีสูง : เช่น ปลา นม ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ตับ เห็ด ถั่ว อัลมอนด์ และธัญพืชชนิดต่าง ๆ
2. สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินA, วิตามินE และวิตามินC เป็นกลุ่มสารอาหารที่จะช่วยให้ต่อมไทรอยด์มีพลังต่อต้านการถูกทำลายจากสารอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยป้องกันการเสื่อมสภาพของต่อมไทรอยด์ได้ด้วย
อาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง : เช่น ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ องุ่น ชาเขียว ผักกาดหอม หน่อไม้ฝรั่ง ถั่วเปลือกแข็ง และธัญพืชชนิดต่าง ๆ
3. สังกะสี เป็นธาตุอาหารที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาระดับฮอร์โมนไทรอยด์ให้อยู่ในภาวะปกติ ทั้งชนิด‘ไฮโปไทรอยด์’ หรือ ‘ไฮเปอร์ไทรอยด์’ ซึ่งทั้งสองชนิดมีสาเหตุมาจากการที่ร่างกายขาดแร่ธาตุสังกะสีนั่นเอง ผู้ป่วยโรคไทรอยด์จึงควรรับประทานอาหารที่มีสังกะสีให้มากขึ้น
อาหารที่มีแร่ธาตุสังกะสีสูง : เช่น อาหารจำพวกเนื้อวัว เนื้อแกะ หอยนางรม เมล็ดทานตะวัน ถั่ววอลนัท ถั่วเหลือง และธัญพืชชนิดต่าง ๆ
4. ไอโอดีน สารอาหารที่มีควมสำคัญต่อระบบการทำงานของต่อมไทรอยด์เลยก็ว่าได้ ช่วยให้ต่อมไทรอยด์สามารถผลิตฮอร์โมนต่าง ๆ ได้เป็นปกติ
อาหารที่มีแร่ธาตุไอโอดีนสูง : เช่น ปลา หอยนางรม หอยกาบ ไข่ กุ้ง เห็ด กระเทียม และเมล็ดงา
5. ธาตุเหล็ก เป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อร่างกายไม่น้อยไปกว่าแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ เพราะถ้าร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะทำให้ความสามารถในการทำงานของต่อมไทรอยด์ลดลง และส่งผลให้ไทรอยด์ทำงานผิดปกติได้นั่นเอง
อาหารที่มีธาตุเหล็กสูง : เช่น เครื่องในสัตว์ ตับ เลือด ฟักทองและเมล็ดฟักทอง ผักโขม แครอท ถั่วเหลือง ถั่วขาว เป็นต้น
นอกจากนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ส่งผลกระทบต่อการนอนหลับ เพราะผู้ป่วยไทรอยด์มักจะนอนไม่ค่อยหลับ เพราะฉะนั้น ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนทั้งหลาย เช่น ชา กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง น้ำอัดลม เป็นต้น และควรหันไปดื่มน้ำเปล่าให้มากอย่างน้อย 2 ลิตรต่อวัน หรือถ้าอยากดื่มน้ำหวานก็เน้นเป็นพวกน้ำสมุนไพร เช่น กระเจี๊ยบ ใบเตย มะตูม เก๊กฮวย ดอกคำฝอย เป็นต้น รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่หรือสูดควันบุหรี่ เพราะจะเกิดความเสี่ยงของการเกิดไทรอยด์เป็นพิษได้
‘สาหร่ายเกลียวทอง’ ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายให้แข็งแรงต้านโรค
อาจจะยังมีหลายคนเข้าใจผิดอยู่ว่า ‘สาหร่ายเกลียวทองเป็นยาช่วยรักษาโรค’ ซึ่งความจริงนั้น “สาหร่ายเกลียวทองเป็นอาหารคุณภาพสูงมีสารอาหารที่ดีมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างครบถ้วน” ดังนั้น ‘สาหร่ายเกลียวทอง’ จึงไม่ใช่ยาที่ใช้รักษาโรคไทรอยด์หรือโรคต่าง ๆ โดยตรง แต่เป็นอาหารคุณภาพสูงที่มีทั้งโปรตีนเข้มข้นมากถึง 70 เปอร์เซนต์ มีวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ดีต่อสุขภาพ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ตามหลักโภชนาการ และมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายมากกว่า 18 ชนิด เช่น ไอโซลิวซีน (Isoleucine), ลิวซีน (Leucine), ไลซีน (Lysine), เมทไทโอนีน (Methionine) เฟนิลอะลานีน (Phenylalanine), เทรีโอนีน (Threonoine), ทริปโตเฟน (Tryptophan) และวาลีน (Valine) และยังมี สารไฟโคไซยานิน (Phycocyanin) และ โพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่เป็นตัวช่วยในการกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอีกด้วย จึงมีส่วนช่วยป้องกันการเกิด ‘โรคไทรอยด์’ ได้ เพราะโรคไทรอยด์เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด หรืออิมมูนซิสเต็ม (Immune system) เกิดความผิดปกติ นอกจากนั้น การรับประทานสาหร่ายเกลียวทองเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้กับร่างกายได้ดี ช่วยให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เป็นระบบมากขึ้น ช่วยซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และเพิ่มความแข็งแรงให้กับร่างกาย
สิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ นอกจากจะต้องมีวินัยในการดูแลสุขภาพอย่างเคร่งครัดในทุก ๆ ด้านแล้ว การรับประทานยาตามแพทย์สั่ง และไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อรักษาอย่างต่อเนื่องนั้น ก็จะช่วยให้สุขภาพเราแข็งแรงและหายจากโรคนี้ได้ … “บุญสมฟาร์ม สาหร่ายเกลียวทอง” อยากให้เห็นทุกคนมีสุขภาพดี มีความสุข